"แสงเรืองเรืองที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย" ... เพลงที่ซึ้งใจคนเป็นครูยากเกินบรรยาย


ทุก ๆ ครั้งที่มีเพลงหนึ่งดังขึ้นมาว่า "แสงเรืองเรืองที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย" เราก็มักจะจำท่อนแรกของเพลงนี้ได้มากกว่าชื่อเพลงเสียอีก ซึ่งเพลงนี้ก็คือ เพลง "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่ขับร้องโดย "วงจันทร์ ไพโรจน์" เป็นท่านแรก หลังจากนั้นก็มีนักร้องสายเพลงลูกทุ่งนำมาร้องใหม่อีกไม่รู้กี่ครั้ง มันเป็นเพลงประจำตัวของคนที่เป็นครูทั้งประเทศนี้ และก็ยังคงเป็นอยู่จนถึงปัจจุบัน

ผมไม่เคยคิดจะเป็นครู ถึงแม้จะเรียนวิชาชีพครูมาก็ตาม ความหวังไม่เคยคิดจะอยู่โรงเรียนเหมือนเพื่อนคนอื่นที่เขาคาดหมายกัน แต่อนาคตบอกไม่ได้ ในที่สุดก็กลายเป็นครูเข้าให้จริง ๆ เพียงแต่อยู่ในสถาบันที่กว้างขวางกว่าเท่านั้น


เคยฟังเพลงนี้มานานแสนนาน ก็รู้ซึ้งถึงความเสียสละของคนเป็นครูอย่างยิ่ง โดยเฉพาะครูที่เดินเท้าขึ้นไปสอนบนดอย แต่ตอนนี้ยิ่งรู้ซึ้งกว่า เพราะเป็นครูของครู ครูผู้ซึ่งต้องสอนว่าที่คุณครูดอยตัวจริง แถมพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย คือ เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน ไม่ต้องบอกก็ทราบว่า มีภูดอยอยู่กี่ลูก มีความลำบากแค่ไหน

วันนี้ได้มีโอกาสฟังเพลงนี้จาก Youtube ซึ่งบันทึกจากรายการ"ชิงช้าสวรรค์"ช่วง "เสียงดีมีค่าเทอม" โดยผู้ขับร้องเป็นเด็กนักเรียนอายุเพียง ๑๓ ปีเท่านั้น ได้แก่ น้องหยก ด.ญ.อารยา กระต่ายป้อง โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพฯ  ยิ่งฟังก็ยิ่งคล้ายต้นฉบับอย่าง "วงจันทร์ ไพโรจน์" อย่างมาก พาซึ้งใจฟังไม่รู้กี่รอบแล้วครับตอนนี้



เพลง "แม่พิมพ์ของชาติ" โดย น้องหยก

 

http://www.youtube.com/watch?v=9P8tpah67hY


...............................................................................................................................................................


เนื้อเพลง


เพลง : แม่พิมพ์ของชาติ

ศิลปิน : วงจันทร์ ไพโรจน์


แสงเรือง ๆ ที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย
คือแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่ โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง
เหนื่อยยากอย่างไร ไม่เคยบ่นไปให้ใครเขามอง
ครูนั้นยังลำพอง ในเกียรติของตนเสมอมา

ที่ทำงานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร
ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้ เร่งรุดไปให้ทันเวลา
กลับบ้านไม่ทันบางวันต้องไปอาศัยหลวงตา
ครอบครัวคอยท่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน

ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา
เห็นศิษย์รออยู่พร้อมหน้า ต้องรีบมาทำการสอน
ไม่มีเวลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน
โรงเรียนในดงป่าดอน ให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา

ชื่อของครูฟังดูก็รู้ชวนชื่นใจ งานที่ทำก็ยิ่งใหญ่
สร้างชาติไทยให้วัฒนา
ฐานะของครูใคร ๆ ก็รู้ว่าด้อยหนักหนา
ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี

นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยู่รอบเมืองไทย
หวังสิ่งเดียวคือขอให้เด็กของไทยในผืนธานี
ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี
ครูก็ภูมิใจที่สมความเหนื่อยยากตรากตรำมา...


http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/01/16/entry-1


...............................................................................................................................................................


ความคิดเห็นส่วนตัว ...


ผมเคยตั้งคำถามนะว่า ครูที่เสียสละแบบนี้ยังมีอยู่จริง ๆ หรือไม่ เมื่อสภาพสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป อาชีพครูเคยเป็นอาชีพที่เสื่อมความนิยม เรียกว่า เรียนอะไรไม่ได้ก็ให้มาเรียนครู มีสาเหตุหนึ่ง คือ การผลิตครูโดยไม่ได้ดูตาม้าตาเรือของคนกุมนโยบายชาติ ผลิตจนล้น ล้นจนไร้คุณค่า เมื่อมาระยะหลัง การศึกษาชาติต่ำลง ประเทศขาดแคลนครูเก่งอย่างหนัก เราก็ไปเร่งผลิตครูเก่งอีก แต่ลืมไปว่า คนที่จะมาสอนลูกหลานของเรา เก่งอย่างเดียวไม่พอ มันต้องดีด้วยต่างหาก เก่งก็แข่งกัน ไม่รู้จักว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนชั่วอีก

แต่เมื่อได้สอนนักศึกษาครู และเมื่อลูกศิษย์เหล่านั้นได้ไปสอบบรรจุเป็นครูบนดอยสูงแล้วนั้น ใจที่เคยตั้งคำถามดังกล่าว จึงหมดข้อกังขา มีครูที่เสียสละเช่นนั้น ๆ จริง ๆ อย่างน้อยก็ลูกศิษย์ที่ผมสอนจบออกไปนั่นแหละเป็นตัวอย่าง แถมสอบถามจากเครื่องมือหลายชนิดก็ผมอีกว่า เด็กที่มีรากเหง้ามาจากที่ใด ย่อมอยากกลับไปพัฒนาบ้านของตัวเองเช่นนั้น

ดังนั้น คนเป็นครูที่ดี ย่อมต้องขึ้นอยู่กับ "หัวใจแห่งความเป็นครู" ว่า จะใหญ่แค่ไหน


ขอให้กำลังใจคุณครูผู้เสียสละทุกท่านครับ

บุญรักษา ทุกท่าน


...............................................................................................................................................................


แอบแถมเพลง "แม่พิมพ์ของชาิติ" ต้นฉบับ


http://www.youtube.com/watch?v=r_12-tp4XXY



หมายเลขบันทึก: 507549เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2012 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชลัญเป็นคนหนึ่งที่ทึ่งอาชีพของครู คนที่เป็นครูได้นี่ต้องอาศัยทักษะมาก ต้องมีความรู้รอบตัวพอ ความรู้ทางวิชาการก็ต้องมากและต้องตลอดเวลา เรียกว่าไม่ห่างหนังสือ แถมต้องมีศิลปะในการสอนให้คนเข้าใจ และอีกมากมาย ฯลฯ

ชลัญเคยไปนั่งเล่นกับเพื่อนครูอนุบาล  ชลัล่ะกราบมันเลย เพราะหากเป็นชลัญ กินหัวเด็กตายวันละคนแน่ อิอิ   นับถือๆ 

แต่อย่างว่าครูมีหลายประเภท  อาจเป็นครูแต่หัวใจ ขายประกัน  หรือครู ที่มีหัวใจความเป็นครู ชลัญก็ยังนับถือคนเป็นครู เพราะหน้าที่ที่ท่านทำนั้นมันยิ่งใหญ่จริง

และก็ดิใจที่ได้รู็ว่ามีครูที่มีหัวใจความเป็นครูแบบ 24 ชม. 365 วัน  ทุกๆปี  อย่างครู was

นับถือ ๆชื่นชมค่ะ

" กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใดการศึกษาเป็นไป เช่นนั้นแต่ออกดอกคราวใด งานเด่น งานสั่งสอนปลูกปั่น เสร็จแล้วแสนงาม "

ชอบมากค่ะเพลงนี้  ฟังทีไรก็ซาบซึ้งใจกับคุณครู

สมัยเด็ก ๆ  ทำให้อยากเป็นครูค่ะ

อีกเพลงนึงสำหรับคุณครู...ที่ชอบมาก ๆ เช่นกัน

ฝากให้คุณครูวสวัตค่ะ..ฟัง ที่นี่ จ้า..^_^

 

 

 

 

เพลง "ครูบนดอย" ก็เป็นอีกเพลงหนึ่งที่ชอบมากครับ พี่ Ico48 สีตะวัน ;)...

ขอบคุณมากครับ ;)...

  • เพราะเพลงนี้แหละจ้ะ
  • คุณมะเดื่อจึงเป็นเรือจ้างมาจนทุกวันนี้็

คล้าย ๆ เป็นครูทุกลมหายใจใช่ไหมครับ คุณ Ico48 ชลัญธร ;)...

ขอบคุณมากครับ ;)...

ขอบคุณ คุณเรือจ้างกิตติมศักดิ์ Ico48 คุณมะเดื่อ นะครับ ;)...

ช่วยกันคนละืมือละไม้นะครับ ;)...

นึกถึงเพลงที่เกี่ยวกับครู จะกินใจกับเพลงนี้อันดับแรก

อันดับสอง คือ เพลงพระคุณที่สาม

จาก....ลูกสาวครูประชาบาล

ถึง....กัลยาณมิตรครูของครูบนดอยที่ชอบกินอุดมการณ์แทนบะหมี่ซอง

อุดมการณ์นั้นแสนอร่อย ... ใช้ชีวิตให้มีคุณค่ามากที่สุดเมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง

ขอบคุณครับ คุณหมอธิ Ico48 ทพญ.ธิรัมภา ;)...

ฟังมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วค่ะ เสียงอมตะมาก ความหมายกินใจนิรันดร์กาล ครู คำนี้... ความหมายลึกซึ่งค่ะ

เพลงอมตะประจำอาชีพครูของประเทศเราเลยครับพี่ Ico48 Bright Lily ;)...

ขอบคุณมากครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท