เต๋าแห่งการบริหารจัดการ : แก่นแท้ และเปลือกนอก


เต๋าแห่งการบริหารจัดการ : แก่นแท้ และ เปลือกนอก

เต๋า เต็ก เก็ง บทที่หนึ่งได้กล่าวถึง แก่นแท้ และเปลือกนอก ไว้ว่า

“ สิ่งที่ไร้ชื่อถึงจะเป็นต้นกำเนิดแห่งฟ้าดิน ชื่อจึงดุจดั่งมารดาแห่งสรรพสิ่ง
ยามใดจิตผ่องใสไร้กิเลส ถึงจะสามารถเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง
ยามใดจิตเต็มไปด้วยกิเลส ก็จะเห็นเพียงเปลือกนอกของสรรพสิ่ง
ภาวะจิตสองแบบนี้ต่างกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็นจึงย่อมต่างกันอย่างน่าอัศจรรย์”

ดังนั้นจากตำราเต๋า ให้ความแตกต่างระหว่างแก่นแท้และเปลือกนอก
ไว้ที่กิเลส ตัณหา  ถ้ามีกิเลส ตัณหา  ก็ยังแสดงถึงเปลือกนอก หากไร้
ซึ่งกิเลสตัณหาเสียแล้วก็จะมองเห็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ซึ่งไม่อาจใช้ภาษาเรียกชื่อได้

ในโลกแห่งการบริหารจัดการ  ถ้ามองความจริงของสิ่งเหล่านี้ไม่ออกว่าอะไรคือ
แก่นแท้ หรือสาระ อะไร คือเปลือกนอก หรือรูปแบบ ความหมายของกิเลสตัณหา
ในความหมายสั้น ๆ  ก็คือความเห็นแก่ตัว ความโลภ ความอยาก  การบริหารจัดการ
แบบเห็นแก่ตัว นำความโลภ ความอยาก เป็นอย่างไร
?  ก็คือเป้าหมายของการบริหารจัดการ
ที่มีความโลภโดยไม่มีที่สิ้นสุด  มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  สิ่งต่าง ๆ ก็จะลงไปที่
ความเศร้าหมองแห่งจิต  โดยผู้บริหารจัดการต้องการอะไรเพียงเพื่อตน เพื่อยศ เพื่อตำแหน่ง
เพื่อเป้าหมายแห่งการครอบครองทรัพยากรต่าง ๆ และควบคุมสรรพสิ่งไว้กับตนเอง
การบริหารจัดการแบบนี้เรียกว่า  เปลือกนอก

ตรงกันข้ามกับการไม่มุ่งเป้าหมายไปหมายเพื่อตนเอง  และทำทุกสิ่งตามเหตุปัจจัย
เข้าใจว่าทุกสรรพสิ่งไม่ได้เป็นไปตามใจเรา ล้วนแต่เป็นไปตามเงื่อนไขและปัจจัย
ทำหน้าที่เพิ่อหน้าที่  การบริหารจัดการแบบนี้ถือได้ว่าเป็นแก่นแท้ของการบริหาร
ผู้นำนั้นจะต้องกำหนดทิศทางไปที่มวลชน มุ่งรับใช้มวลชน  ซึ่งเป็นการกระทำ
ตรงกันข้ามกับความเห็นแก่ตัว คือเห็นแก่ผู้อื่น  เมื่อเหตุปัจจัยเงื่อนไขครบก็จะสำเร็จ
แต่ถ้าเงื่อนไขไม่ครบไม่เป็นใจมีโอกาสที่ไม่สำเร็จเมื่อพยายามถึงที่สุดแล้วก็ต้อง
ปล่อยวาง 

ของปลอมย่อมอวดรูปลักษณ์ภายนอกที่ฉาบทา  ของจริงย่อมหาแก่นแท้ของสิ่งนั้น
ขงจื้อ ต่างจาก เล่าจื้อ  ขงจื้อแสวงหาโลกธรรมและรูปแบบนิยม  ส่วนเล่าจื้อแสวงหา
โลกกุตระธรรม อันเป็นสัจธรรม  ดังนั้นเป้าหมายจึงแตกต่างกัน ขงจื้อไปบูรณะตำแหน่ง
มุ่งไปรับใช้ระบบงาน แต่เล่าจื้อออกจากตำแหน่งและระบบงาน มองเห็นสัจธรรม
อย่างลึกซึ้ง  และให้คำแนะนำอย่างลึกซิ้งว่าผู้บริหาร ควรทำอย่างไร  จึงจะตรงกับ
สัจธรรม 

สรุปแล้ว เป้าหมายของเต๋า คือละความเห็นแก่ตัว ทำงานมีเป้าหมายเพื่อรับใช้มวลชน
ซึ่งการบริหารจัดการที่มีเป้าหมาย จะต้องไม่มีตัณหา ความทะยานอยากนำหน้า  จะต้อง
เก็บตัวกรู ของกรูไว้  การละลายความสำคัญของตนเองลง แล้วหันมาให้ความสำคัญกับ
มวลชน ประชาชน เป็นเป้าหมายแทน ตำแหน่งแห่งที่  ภูมิปัญญาตะวันออก นั้นแตกต่าง
จากตะวันตก  ตะวันออกมุ่งเน้นการไม่ให้ความสำคัญของตนเอง  อ่อนน้อม ถ่อมตน
ส่วนพวกตะวันตกให้ความสำคัญกับตนเอง รูปลักษณ์  อัตลักษณ์  การแต่งกาย สิ่งที่เห็นได้
จากภายนอก  ตะวันตกมุ่งเน้นสิ่งที่ต้องจะได้คือวัตถุประสงค์นำ แล้วก็ดันกันไป
ทำให้เห็นแก่นแท้  และเปลือกนอก ได้ชัดเจนมากขึ้น
 

 

หมายเลขบันทึก: 507433เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท