DDP-Thailand : ในเวที สปสช. (3)


หวังว่าระหว่างทางที่ทำงานในโครงการนี้จะเกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ได้คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของไทย รวมทั้งรู้ unit cost ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

Community-Based Diabetes Prevention Program
ดิฉันนำเสนอโครงการโดยแนะนำ “เครือข่าย KM เบาหวาน” ว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2548 โดยการสนับสนุนของ สคส. รพ.เทพธารินทร์ และมูลนิธิเพื่อพัฒนาการบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน เราทำงานอะไร อย่างไร และที่มาที่ไปของโครงการนี้ ทีมผู้ทำงานในโครงการนี้เป็นนักปฏิบัติที่อยากให้คนทำงานในพื้นที่ของตนเก่งขึ้น คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น

 

ระหว่างการนำเสนอโครงการ

ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร นำเสนอต่อถึงหลักการและเหตุผล การออกแบบการศึกษา ที่สำคัญคือการทำอย่างไรที่จะไม่ให้ intervention ติดอยู่กับเจ้าหน้าที่ โจทย์ของเราจะใช้กระบวนการอะไร... เราใช้ Translation research ใช้กลไกของ KM... ใช้ IGT identify กลุ่มเสี่ยง มีการคำนวณ sample size ตามหลักสถิติ ใช้ 32 clusters ให้ยังคงความเป็นวิชาการ เลือก PCU แบบ selective เป็นกลุ่มคนที่อยากทำ (มีความพร้อม) กลุ่มเสี่ยงเลือกผู้มีอายุ 40-60 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง การติดตามในระยะสั้นน่าจะเห็นผลได้ดีกว่า

 

ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร กำลังนำเสนอ

ดิฉันนำเสนอการทำงานตาม SECI model ตั้งแต่การถอดบทเรียนเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จาก Best practices (tacit knowledge) การ combine กับ evidence-based knowledge (explicit knowledge) เพื่อพัฒนาคู่มือ/ Catalog การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราจะมีการจัด Train-the-Trainer Workshop ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2555 หลังจากนั้นจึงจะลงมือปฏิบัติในพื้นที่ จะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยใช้ SECI model เช่นกัน

เราหวังว่าระหว่างทางที่ทำงานในโครงการนี้จะเกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ได้คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของไทย รวมทั้งรู้ unit cost ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วย

ผู้เข้าประชุมจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพถามว่าคู่มือฯ จะเป็นของแต่ละจังหวัดหรือไม่ ดิฉันตอบว่าเป็นของกลาง แต่มีตัวอย่างการปฏิบัติที่หลากหลาย

ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ กล่าวว่าโครงการนี้มี uniqueness... ทั้งหมด stem มาจาก KM… จาก KM ได้เครือข่าย... คนที่ดึงเข้ามาเขาอยากทำ เราเลือก... แต่ละคนที่ทำ ทำโดยไม่คิดอะไรเลย... ทำในบริบทของประเทศเราจะเป็นประโยชน์... คนที่ทำงานเครือข่าย KM เขามีความสุข… หวังว่าคงจะได้รับการสนับสนุนอย่างดีที่สุดจาก สปสช.....
 

รศ.นพ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร กล่าวว่าดีใจที่มีโครงการนี้ และให้ความเห็นว่า OGTT ไวเกิน การทำ OGTT ในชุมชน error เยอะ ถ้าใช้ A1C จะเห็น trend ... DPP ในต่างประเทศที่ได้ผลเพราะเขา strict มาก...อยากให้มี A1C...3 ปีไม่จบ...Legacy effect ดู 3 ปี ไม่เห็น จะเห็นใน 5-10 ปี

นพ.สุรจิต สุนทรธรรม เสนอว่าสิ่งที่ implement ให้ผ่านกองทุนตำบลเลย ให้ adopt ตัวแบบนี้ไปใช้ อย่าหวังพึ่ง รพ.สต. เพราะคนทำงานย้าย แต่ถ้าเป็นกองทุนตำบลเขาจะอยู่แถวนั้น อีกฝ่ายที่ช่วยได้คือพระ ถ้าใส่เข้าไปในหลักสูตรของพระได้จะดี

ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ บอกว่า screen ด้วย risk score แล้วตรวจ postprandial BG หากผิดปกติจึงทำ OGTT จะได้คน 3 กลุ่มคือ IFG, IGT, IFG+IGT ซึ่งมี risk ต่างกัน ประสบการณ์จากการทำโครงการมหานครปลอดเบาหวานที่ทำ behavior modification 3 เดือน พบว่า trend ดีขึ้น และถ้าทำ A1C ด้วยจะเปรียบเทียบกับคนอื่นได้

คุณนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคม อบต. บอกว่าตอนนี้มีกองทุนตำบลเกือบเต็มพื้นที่แล้ว เริ่มทำข้อมูล แต่ดูแลไม่เป็น อยากให้เข้าสู่แผนปฏิบัติการฯ

ผู้เข้าประชุมจากสำนักงานบริหารฯ สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ถามว่าในกลุ่มทดลอง ครอบคลุม 3 อ 2 ส หรือเปล่า อยากให้ครอบคลุมเรื่องลดหวาน มัน เค็ม และอารมณ์อยากให้เชื่อมโยงกับการกิน

ศ.นพ.ปิยะทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์ ห่วงเรื่องการลด incidence ระหว่างการศึกษาอาจมี co-intervention กลุ่มควบคุมอาจได้รับ knowledge ด้วย ระหว่างกลุ่ม PCU เองอาจ share knowledge กัน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะวัดได้จริงหรือเปล่า

ผู้เข้าประชุมจากสำนักตรวจฯ (ถ้าได้ยินไม่ผิด) ค่อนข้างเป็นห่วงทีมคณะในพื้นที่... เป็นส่วนที่เติมของ กสธ. ที่ทำ ในชีวิตจริงมีคนหลายกลุ่ม... อยากทำ ไม่อยากทำ ต่อต้าน... ในแง่ของวิชาการ เวลาจะเดินไปให้ดูความเป็นจริง ช่วย simplify ให้พื้นที่ทำได้

นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธาน กล่าวว่า กสธ. เป็นเรือใหญ่มาก มี resources, organizations…ฝากดูการ management และพื้นที่ (criteria, attitude) พอใส่ model ลงไป มีการบริหารจัดการอย่างไรจึงไปได้

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 506461เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท