ธุรกิจที่น่าสนใจ


การกำหนดเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงชีวิต ของบุคคล การจัดหาเงินและวางแผนใช้เงินในด้านต่าง ๆ อย่างมีระบบด้วยการจัดทำงบการเงินอย่าง ถูกต้อง ส่งเสริมให้มีการออมและนำเงินออมไปลงทุนหาผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การรู้จักใช้เครดิตอย่างเหมาะสม การเสียภาษีและวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การพัฒนา คุณภาพชีวิตของบุคคลให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจด้วยการรู้จักใช้เงินเพื่อสุขภาพ การพักผ่อนบันเทิง การใช้เวลาว่างให้เกิดผล ตลอดจนถึงการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตในยามปลดเกษียณ

ธุรกิจที่สนใจคือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริหารการเงิน   ต้องการเชี่ยวชาญทางการเงิน เพราะ เป็นเครื่องมือ ที่จะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ เกิดการสร้างงาน ( อาชีพ ต่าง ๆ )  สร้างคน ( สถานศึกษา ) เกิดโครงสร้างทางเศรษฐกิจ   และอื่น ๆ อีกมากมาย   ซึ่งหากเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ มาก ๆ  จะทำให้เราไม่ถูกต่างชาติ  มาครอบงำทางเศรษฐกิจได้  

หลักการบริหารการเงินที่ต้องรับผิดชอบ   เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย การสร้างมูลค่าเพิ่มของกิจการ ภายใต้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของทางการเงินเครื่องมือต่าง ๆ  ในการบริหารการเงิน  ได้แก่ การวิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์กระแสเงินสด การวางแผนและควบคุมทางการเงิน การวิเคราะห์เบื้องต้นของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน        การวิเคราะห์ค่าของเงินตามเวลา เป็นต้น ตลอดจนการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร      (งบจ่ายลงทุน) การจัดส่วนผสมทางการเงิน การจัดหาเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงค่าของทุนของเงินทุนที่จัดหามาเพื่อลงทุนในกิจการ

  

ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับ

 

1.  การเงิน การธนาคาร และตลาดการเงิน  ถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อตลาดการเงิน เช่น นโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย  การกำกับและควบคุมสถาบันการเงิน การทำงานของตลาดเงิน ตลาดทุน และ ตลาดการเงินระหว่างประเทศ    ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเงินต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในประเทศไทย

       2. การกำหนดเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงชีวิต    ของบุคคล การจัดหาเงินและวางแผนใช้เงินในด้านต่าง ๆ   อย่างมีระบบด้วยการจัดทำงบการเงินอย่าง     ถูกต้อง  ส่งเสริมให้มีการออมและนำเงินออมไปลงทุนหาผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ   อย่างมีประสิทธิภาพ  การรู้จักใช้เครดิตอย่างเหมาะสม การเสียภาษีและวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การพัฒนา  คุณภาพชีวิตของบุคคลให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจด้วยการรู้จักใช้เงินเพื่อสุขภาพ การพักผ่อนบันเทิง การใช้เวลาว่างให้เกิดผล ตลอดจนถึงการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตในยามปลดเกษียณ 

       3. ความเสี่ยงภัยและความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดแก่บุคคลทั่วไป ธุรกิจและองค์การต่าง ๆ  ประเภทของความเสียหายที่เกิดขึ้น วิธีบริหารความเสี่ยงภัย ปัจจัยต่าง ๆ   ที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงภัย หลักการประกันภัย การบริหารองค์การประกันภัย การพิจารณาเลือก    ผู้รับประกัน การประกันต่อ การควบคุมธุรกิจประกันภัย ความรู้เบื้องต้นของการประกันภัยแขนงต่าง ๆ 

       4.. การบริหารการเงินในเชิงลึกของกิจการ   เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินที่ต้องเผชิญ ในโลกธุรกิจ และบริหารการเงินทั้งด้าน สินทรัพย์     หนี้สิน และส่วนของเจ้าของให้บรรลุเป้าหมายของกิจการ   การนำเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ  จะต้องมีความรู้ในเชิงลึก      ของการนำโมเดลต่าง ๆ  ทางการเงินมาใช้ในการกำหนดระดับและการตัดสินใจในการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน งบจ่ายลงทุน (สินทรัพย์ถาวร) ภายใต้ภาวะความแน่นอน และและความไม่แน่นอน (ความเสี่ยง) การกำหนดโครงสร้างทุนและส่วนผสมทางการเงินที่เหมาะสม การประเมินมูลค่าและต้นทุนของเงินทุนจากหนี้ และส่วนของเจ้าของ และตราสารการเงินใหม่ ๆ  เพื่อตัดสินใจในการจัดหาเงินทุน  

               5. การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของตราสารหนี้ ตราสารทุน ออปชั่น และ  ตราสารซื้อขายล่วงหน้า วิธีการวัดอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์เดี่ยวและกลุ่มหลักทรัพย์ รวมทั้งศึกษาปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนใน   หลักทรัพย์            

         6  การบริหารการเงินเพื่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ     รวมถึงสภาพแวดล้อมทาง เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ได้แก่ ระบบการเงินระหว่างประเทศ   ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ     ตลอดจนกลไกของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ และวิธีการบริหารความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม  

        7.การบริหารเกี่ยวกับ สินเชื่อ การกำหนดหลักเกณฑ์และนโยบาย        ในการให้สินเชื่อของธุรกิจการค้า สถาบันการเงิน เทคนิคในการวิเคราะห์และพิจารณาสินเชื่อ            เพื่อกำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น   การพิจารณาโครงการเงินกู้ การควบคุมและการติดตามหนี้ การจัดเก็บหนี้และการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา ตลอดจนการใช้ระบบประมวลข้อมูล               

                   8. การบริหารตราสารหนี้และกลไกการทำงานของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยและ     ที่เป็นสากล โครงสร้างของตราสารหนี้ การกำหนดราคา พฤติกรรมความเสี่ยง การออกแบบตราสารหนี้ การวิเคราะห์ตราสารหนี้ที่มีลักษณะซับซ้อน กลยุทธการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้  

                 9.ประกันภัย   ลักษณะความเสี่ยงภัย และประเภทของความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ ธุรกิจการประกันภัยต่อ การบริหารองค์กร และบทบาท    ของภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจประกันวินาศภัย การบริหารการประกันต่อการบริหารการเงิน  

              10. การประกันชีวิตและสุขภาพ ในรูปแบบต่างๆ เงื่อนไขของกรมธรรม์ ปัจจัยในการคิดอัตราค่าเบี้ยประกัน การพิจารณารับประกันและการจ่ายสินไหมทดแทน การนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นกับบุคคลและธุรกิจ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล การบริหารการลงทุนและความเสี่ยงในการลงทุน      

             11. ตลาดการเงินระหว่างประเทศและนวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน รวมทั้งแหล่งเงินทุนที่ธุรกิจสามารถระดมเงินได้ ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์และตลาดหนี้สินระหว่างประเทศ ตลอดจนศึกษาถึงการบริหารการเงินของกิจการข้ามชาติ อันได้แก่ การวิเคราะห์การลงทุน      โดยตรง การลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ระหว่างระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเมือง การจัด        ทำงบจ่ายลงทุนระหว่างประเทศ การควบและรวมกิจการของกิจการข้ามชาติ รวมถึงการบริหารเงินทุนหมุนเวียน 

 

หมายเลขบันทึก: 50638เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูล เพราะทำให้ดิฉันทำงานได้เยอะขึ้นมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท