หลักสูตรปลุกจิตวิญาณความเป็นครู......(2)


ผลการจากการประเมินหลังการอบรม การจะต้องรีบพัฒนาครูมีความจำเป็นสูง

          ในการอบรมตามหลักสูตรปลุกจิตวิญาณความเป็นครู ในครั้งนี้ มีครู ร่วมอบรม  46 คน จาก 3 โรงเรียน เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาสามัญและศาสนาทั้งหมด โดยได้แจกเอกสารเป็นรูปเล่ม ทั้งหมด  115 หน้า  ประกอบด้วยสาระที่เกี่ยวกับนิยามความหมาย ความเป็นครูและรายละเอียดอื่น ๆ  ทุกรายการที่เกี่ยวข้อง ในเบื้องต้นได้แจ้งให้ทราบว่าในแต่ละวันจะมีการประเมินผลความรู้ที่ได้รับทุกวันซึ่งไม่มีปรากฏอยู่ในตาราง  โดยจะให้เติมคำในช่องว่างทั้งหมด 10 ข้อ  และทุกข้อจะเป็นความรู้ตามในเอกสารประกอบการอบรม และจะไม่มีคำถามที่นอกเหนือจากเอกสารดังกล่าว

          หลังจากทดสอบความรู้ก็นำไปอ่านเพื่อตรวจและบันทึกคะแนน พบว่าไม่มีผู้เข้ารับการอบรมคนใด้เกินร้อยละ 50 แม้แต่คนเดียว  โดยนัยแสดงให้เห็นว่าวิทยากรบกพร่องหรือความสามารถไม่ถึง  แต่ก่อนเริ่มในวันที่ 2 ก็แจ้งให้ทุกคนทราบ    และได้มีผู้เข้ารับการอบรมได้แสดงความเห็นว่าการอบรมเป็นเรื่องที่เขาไม่ค่อยจะได้รับ ไมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิชาชีพ  ที่สอนอยู่ก็ไม่เห็นใครว่ามีปัญหา  จึงทำให้การมารับความรู้ที่มองไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร จึงทำเกิดไม่มีการบันทึก  ไม่มีการสรุปสาระ  และมองว่าเรื่องสาระที่วิทยากรนำเสนอเป็นเรื่องจำเป็นที่ครูต้องรู้ต้องใช้และต้องมี  แต่ในเรื่องเหล่านี้เขาไม่เคยมีมาก่อนก็จำเป็นอยู่เองที่จะเป็นเช่นนั้น 

          จากประเด็นดังกล่าวจึงแจ้งให้ทุกคนทราบว่าครูต้องสอนตามตัวชี้วัด ครูต้องรู้สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ครูต้องรู้คุณลักษณะอันพึงประสงค์  พร้อมทั้งมีการแสดงผลการประเมินในเรื่องเหล่านี้บันทึกผลในแบบบันทึกผลการเรียนรู้รายบุคลทุกคน เป็นราบภาค  รายปี    หลายคนส่ายหน้า  นักเรียนก็เหมือนครู   นักเรียนไม่มีความรู้มาตามลำดับตั้งแต่ ป.1 ถึงม.6  ถ้าไม่ได้รับความรู้ที่จำเป็นจากครูมาตามลำดับในแต่ละระดับชั้นเพราะครูไม่ชี้แนะ  ไม่แนะนำ หรือสอนไว้นักเรียนก็มีสมองว่างเปล่า  ยกตัวอย่าง สาระภาษาไทย  ใน ป.3  แต่ลองถาม นักเรียนชั้น ม. 6 เรื่องการใช้พจนานุกรม ซึ่งครูจะไม่สอนเป็นส่วนใหญ่ นักเรียนก็จะมองหน้ากันและกัน เพราะคำถามมันง่ายแต่พอจะตอบมันก็ยาก โดยจะถามว่า   การเรียงลำดับในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน ฉบับพุทธศักราช 2542   คำ   ผัวะ กับ  ผัว  คำไหนจะมาก่อน   ผู้เข้าอบรมเป็นครูจบปริญญาตรีก็ไม่กล้าตอบ ซึ่งในพจนานุกกรม  ก็จะพบว่า  คำ  ผัว  อยู่ก่อน  ผัวะ  ซึ่งเป็นไปตามหลักการใช้พจนานุกรมดังกล่าว มองโดยทั่วไปครูทุกคนเริ่มแสดงอาการยอมรับในความบกพร่องของเป็นครูของเขาอย่างเห็นได้ชัดเจน

           สิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ว่าครูเหล่านนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนคือผลการประเมินการรับความรู้สาระในวันที่ 2  ทุกคนทำการตอบแบบสอบถามอย่างยิ้มแย้มผิดกับวันแรกอย่างสิ้นเชิงและทีสำคัญคือ ทุกคนทำผลการประเมินได้ร้อยละ 100  ทั้งหมด

            การสร้างความเข้าใจที่แท้จริงในวิชาชีพครูจึงมีความจำเป็นสูงที่จะต้องทำตามมาตรฐานการพัฒนาครู อย่างน้อยคนละไม่น้อยกว่า 20  ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่สถานศึกษาได้ละเลยในเรื่องการพัฒนาครูมานาน นานจนลืมไปว่าครูทุกคนต้องได้การเพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมอ   ถ้าครูล้าหลัง  ผลผลิตที่เป็นนัเรียนก็ล้าหลังตามไปด้วย      ท่านมีความเห็นเช่นนี้หรือไม่

             เพราะในโลกนี้สรุปได้ว่าไม่มีใครผิดนอกจากความเข้าใจ  การให้ความรู้จะทำให้ความเข้าใจของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและมีความเป็นมาตรฐานการเป็นครูเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

          

หมายเลขบันทึก: 506364เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

หลักสูตรปลุกจิตวิญาณความเป็น...."คน" .... นะคะท่านอจ. ...

 

หมอเปิ้ลเองต้อง ... "ตรวจความเป็น  "คน" -- ต้องตรวจ ... "จิตของตนเอง" นะคะ

สวัสดีครับ

         ด้วยความเคารพครับ  ขอบคุณใความคิดเห็น  และดอกไม้ที่ให้กำลังใจครับ  ขอบคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท