การประชุมเชิงปฏิบัติการ “Working Together towards Patient’ s Safety” ประจำปี 2555


“...ผมว่าคนอื่นน่ะเขามีคุณภาพงานของเขานะ วิสัญญีเขาก็มีมาตรฐานของเขา ที่ผมห่วงก็พวกหมอผ่าตัดน่ะแหละ... การที่มีคนอื่นเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานไปมันดีก็จริง... แต่หมอปฏิเสธความรับผิดชอบคนไข้ของหมอไม่ได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม... ทันทีที่หมอลงมีด ความรับผิดชอบเกิดกับหมอทันที...”

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “Working Together towards Patient’ s Safety” ประจำปี 2555 วันที่ 18-19 ตุลาคม 2555 ณ ห้องมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น

ผู้นำการจัดครั้งนี้คือภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

(ภาพบนจากซ้าย) ศ.นพ.ทองอวบ อุตรวิเชียร, รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และ รศ.นพ.ศิริ เชื้ออินทร์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ (ภาพล่างซ้าย) คุณรัชนีย์ ชนะวงษ์ หัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัด

เป็นการเน้นประเด็นการดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยด้วยการใช้ Patient’ s Safety Checklist

ผู้เขียนเคยพูดเรื่องนี้ไว้ที่นี่ Surgical Safety Checklist : CLT Orthopedics… ผู้นำร่องในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

ดังนั้น Patient’ s Safety Checklist จึงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนคุณภาพ หรือโรงพยาบาลคุณภาพ แต่ละโรงพยาบาลมีแนวคิดคุณภาพ (HA) ได้มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกันอยู่

ครั้งนี้จึงได้ทบทวนวิชาการด้านความเสี่ยงต่างๆและการบริหารความเสี่ยง ได้มาฟังเพื่อนร่วมวิชาชีพด้านสุขภาพ เห็นมุมมองวิธีคิดของบุคลากรหลายฝ่าย ได้แก่ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลห้องผ่าตัด

ในส่วนของวิสัญญี ผู้จัดได้เชิญ ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์วิสัญญีแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาร่วมบรรยายในวันแรก

ส่วนทางด้านคุณภาพโรงพยาบาลมี อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ประธานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) 

 

หลายประเด็นใน Patient’ s Safety Checklist เป็นมาตรฐานวิชาชีพวิสัญญีอยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนนี้จึงเป็นเพียงบางส่วนในเนื้องานจริงของวิสัญญี

 

ศ.นพ. ทองอวบ อุตรวิเชียร อาจารย์ศัลยแพทย์ รุ่นบุกเบิกก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งและดูแลภาควิชาศัลยศาสตร์และภาควิชาวิสัญญีวิทยา อาจารย์เป็นหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “Patient’ s Safety Checklist เป็นเหมือนจุดเริ่มสตาร์ทก่อนออกวิ่งของนักวิ่ง” 

วันที่ 2 มีผู้แทนจากโรงพยาบาล 4 แห่งร่วมเล่าประสบการณ์การใช้ Patient’ s Safety Checklist ประกแบด้วย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และ โรงพยาบาลศิริราช

ที่ดูจะขาดไป คือ น่าจะให้วิสัญญีขึ้นร่วมแชร์บนเวทีด้วยคงจะสมบูรณ์ในเนื้อหาขึ้น  ด้วยความห่วงใย ผู้เขียนจึงอยู่โยง คอยอธิบายลักษณะงานวิสัญญียามถูกพาดพิงเพื่อความชัดเจนของเพื่อนๆ

มีอาจารย์ถามเรื่อง หากเป็นการสั่งการให้ทำโดยผู้นำล่ะ? คำตอบคือ อยากให้ยั่งยืนต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและแสดงศักยภาพของงานของเขา... เมื่อไหร่ที่ใช้ “การสั่งการ” อาจทำให้ทีมไม่มีความสุขและไม่สนุก ซึ่งสวนทางกับ SHA อย่างสิ้นเชิง

...

สำหรับผู้เขียน ที่มีความชัดเจนขึ้นคือ การนำไปใช้ต้องปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยประเภทต่างๆและตามบริบทของแต่ละโรงพยาบาล ไม่เช่นนั้นจะต้องถอยหลังกรูดคล้ายศิริราช ที่อาจารย์นำประสบการณ์มาเล่า

ท่าน อ.ทองอวบกล่าวปิดงานว่า...

“...ผมว่าคนอื่นน่ะเขามีคุณภาพงานของเขานะ วิสัญญีเขาก็มีมาตรฐานของเขา ที่ผมห่วงก็พวกหมอผ่าตัดน่ะแหละ... การที่มีคนอื่นเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานไปมันดีก็จริง... แต่หมอปฏิเสธความรับผิดชอบคนไข้ของหมอไม่ได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม... ทันทีที่หมอลงมีด ความรับผิดชอบเกิดกับหมอทันที...”

ผู้เขียนได้ยินอย่างนี้ แอบคิดในใจไม่ได้ว่า “อาจารย์ขา... งานดมยาเกิดกับคนไข้ก่อนหมอผ่าตัด ความรับผิดชอบของวิสัญญีเกิดก่อนหมอผ่าตัดแน่นอน ใช่มั้ยคะ?...”

มิน่าล่ะ... ผู้ขียนจึงเห็นท่านอาจารย์ทองอวบ ให้เกียรติและให้ความสำคัญกับดมยาเสมอ ตลอดมาเสมอ...

...

เรื่องที่เป็นเรื่องที่น่าจับตามองต่อ สำหรับผู้เขียน ก็คือ WHO 2012 กับ สรพ. ที่ท่าน อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล กล่าวมาหน่อยหนึ่ง ในงานนี้

10 Top Patient Safety Issues in 2012 (Written by Rachel Fields | December 19, 2011) 10 ประเด็นดังกล่าว ๆได้แก่

 

1.    Hand hygiene

2.    Safe surgery checklists.

3.    Patient selection criteria

4.    Surface disinfection.

5.    Wrong-site procedures

6.    Dependence on safety tools.

7.    Burns.

8.    Distractions in the operating room.

9.    Housekeeping 

10.   Properly trained staff

หมายเลขบันทึก: 506314เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ นางฟ้าในชุดสีขาวของดิฉัน

แวะมาส่งกำลังใจและบอกว่าสวยสง่าจังเลยค่ะ Smart Woman ka คือ สวย เก่ง และใจดีค่ะ

คุณ Blank ฺBright Lily

ขอบคุณมากๆค่ะ...

คุณก็เช่นเดียวกันนะคะ... สวยไม่สร่างจริงๆค่ะ

ที่รพ.สูงเนิน เราเริ่มทำ

Surgical Safety Checklist (Sign - Time out - Sign out) แล้วค่ะพี่ติ๋ว

ตั้งแต่ ๒ ปีก่อน ปรับแบบฟอร์ม ๒ ครั้งแล้วค่ะ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติตงาน

คุณน้อง kunrapee

เรื่องนี้ไม่ง่ายในการปฎิบัติค่ะ หากไม่มีเทคนิคในการปรับให้เหมาะกับบริบทของตน... แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยเราดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยเท่านั้นค่ะ... ตัวหลักในการดูแลผุ้ป่วย "คือเราเอง" ค่ะ

แล้วนำเทคนิคดีๆที่ใช้ใน รพ.สูงเนินมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท