ความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคม


Engagement เป็นเรื่องใหญ่ของมหาวิทยาลัย

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช เป็นบทความที่มีคุณค่ากับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ท่านได้ค้นคว้าและนำมาเสนอแนะในแนวความคิดของท่าน  ผมเห็นว่าแนวคิดของท่าน ดีและสามารถนำไปปฎิบัติได้ ผมเชื่อว่ามีหน่วยงานหลายแห่งได้มีแนวความคิดคล้ายๆกับของอาจารย์วิจารณ์และมีการดำเนินการไปบ้างแล้ว ทั้งที่เห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว และที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ 

ผมมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาและมีโอกาสเข้าร่วมประชุมบ่อยๆ จึงทำให้ทราบว่าประเทศไทยเรามีคนเก่งๆ มีความสามารถและได้ทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานของท่านเหล่านี้ไม่ค่อยปรากฎเป็นสื่อ

เมื่อ 2 วันก่อนผมได้เข้าร่วมงานเสวนานวัตกรรม "Globalizing Thailand through Innovation" จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นกิจกรรมที่ดีมากครับ ทำให้ผมมีความหวังกับภาคสถาบันการศึกษา และเห็นว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งในมหาวิทยาลัยในด้าน Industry Engagement

ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์วิจารณ์ พานิช (บทความด้านล่าง) โดยเฉพาะความเห็นย่อหน้าสุดท้ายของบทความ หวังว่าความคิดดีๆของอาจารย์จะได้รับการนำไปคิดและหาทางปฎิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรือจากหน่วยงานที่ดูแลมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย

 

บทความอาจารย์ วิจารณ์ พานิช

มหาวิทยาลัยไม่ว่าในประเทศใด มีจุดแข็งและจุดอ่อนอยู่ที่วิชาการ    เรามุ่งสร้างสรรค์วิชาการ  ต้องการสมาธิแน่วแน่อยู่กับการสร้างสรรค์และถ่ายทอดความรู้    ความรู้จริงรู้ลึกรู้เชื่อมโยงคือจุดแข็งของเรา    แต่ความเข้มแข็งทางวิชาการนั้นเองกลายเป็นจุดอ่อน   เพราะเรามุ่งอยู่เฉพาะที่วิชาความรู้ ไม่เชื่อมโยงกับสังคม    มหาวิทยาลัยทั่วโลกจึงมีความเสี่ยงที่ความห่างเหินกับสังคม หรือชีวิตจริงของผู้คน

          ผมเดาว่า นี่คือที่มาของการก่อตั้ง Engagement Australiaซึ่งตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน (community engagement)    เป็นองค์กรที่สมาชิกจ่ายค่าสมาชิกรายปี   มีมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย ๒๕ แห่งเป็นสมาชิก   จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ ๓๙ แห่ง    

          ลองอ่าน Charter ของ Engagement Australia ที่นี่   จะเห็นว่าเขามีวัตถุประสงค์กว้างขวาง    โดยเฉพาะหลักการของ engagement 9 ข้อที่ระบุไว้    มหาวิทยาลัยไทยน่าจะได้ทำความเข้าใจ และปรับใช้กับสถานการณ์ไทย

          ผมได้บันทึกการค้น อินเทอร์เน็ต ทำความเข้าใจเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมไว้ในบันทึกชุดเรียนรู้อุดมศึกษาออสเตรเลียตอนที่ ๑ ที่นี่   และเมื่อได้คุยกับ Dr. Diana Whittonแห่ง University of Western Sydneyซึ่งเป็น Chair of the Scholarship Committeeก็รู้สึกว่า Engagement Australia ไม่แข็งแรงนัก   และทำงานเน้น community engagement เป็นหลัก    ผมได้ถามว่า เขา engage กับ industry ได้แค่ไหน   เขาบอกว่า ทางภาคอุตสาหกรรมไม่สนใจ

          ที่มหาวิทยาลัย โวลล็องก็อง เขาพูดเรื่อง community engagement ว่า เขาตีความคำว่า community กว้าง    หมายถึงทั้ง local community, national community, ไปจนถึง global community   เขาจึงมีวิทยาเขตที่นครดูไบ

          อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า เรื่อง engagement เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับมหาวิทยาลัย    ที่จะต้องเอาใจใส่สร้างพลัง engagement ในหลายมิติ   ทั้ง student engagement, staff engagement, community engagement, และ industry engagement    แต่ละมหาวิทยาลัยต้องศึกษาตีความคำว่า engagement เอาเอง   เพื่อหาทางใช้พลังของมัน เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าของมหาวิทยาลัย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.ย. ๕๕  ปรับปรุง ๒๖ ก.ย. ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 506167เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบบันทึกนี้มากครับ

ขอบพระคุณอาจารย์จำลอง สุวรรณเรือง ที่เข้ามาให้กำลังใจและแสดงความคิด ผมได้ถือโอกาสเข้าไปเยี่ยมอาจารย์ในบันทึกของอาจารย์และได้นำผลงานของอาจารย์ "ห้องเรียนในฝัน"มาเผยแพร่เพื่อเป็นการต่อยอดสิ่งที่ผมคาดหวังจากบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

"ห้องเรียนในฝัน" บทความของ อาจารย์จำลอง สุวรรณเรือง "เด็กชายกล้า" หัวหน้าห้อง ป.5/2 โรงเรียนนาทองวิทยา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 87 กิโลเมตร ตื่นแต่เช้าเป็นพิเศษ เพราะวันนี้เป็นวัน เปิดเรียนวันแรกของภาคเรียนที่ 2 เขารีบเช็ค Email Address ว่าคุณครูมัลลิการ์ ซึ่งเป็นครูประจำชั้นมอบหมายงานอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า

ปกติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนๆกับคุณครูห้อง ป.5/2 ใช้กระบวนการ หลายอย่าง ซึ่งส่วนมากคุณครูจะเน้นให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน ฝึกฝนให้รู้ใช้เทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีอิสระและความรับผิดชอบ โดยคุณครูเป็นเพียงผู้กระตุ้น ยั่วเย้า ส่งเสริมการเรียน ให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น Tablet ของทุกคนมีขนาดใหญ่ขึ้น คือ หน้าจอขนาด 10 นิ้ว และที่สำคัญ บรรจุเนื้อหาสาระในหลักสูตรอย่างครบถ้วน สามารถค้นคว้าความรู้ใน website ได้อย่างรวดเร็ว

การติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกจากนักเรียนทุกคน รวมทั้ง คุณครูด้วย จะมี Email Address เป็นของตนเองแล้ว ทุกคนยังมี Weblog โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Weblog ของ gotoknow.org และ facebook อีกด้วย ห้อง ป.5/2 จัดที่นั่งเป็นรูปวงรี คุณครูมัลลิการ์ นั่งอยู่ที่นั่งเสมือนเป็นหนึ่ง ในสมาชิกคนหนึ่งเท่านั้น โดยไม่แยกไปนั่งต่างหากแต่อย่างใด ด้านซ้ายของห้องเป็นห้องครัวติดกับห้องน้ำแยกชายและหญิง ด้านขวาเป็นห้องรับแขกติดกับห้องพยาบาล สมาชิก ป.5/2 ทั้งหมด 45 คน ในจำนวนนี้ มีชาวต่างชาติประเทศใน กลุ่มอาเซี่ยน 12 คน ต่างยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายกันตามประสาคน ที่ไม่ได้พบหน้ากันหลายวัน ก่อนที่คุณครูมัลลิการ์ จะแนะนำสมาชิกใหม่ 4 คนให้ทุกคนได้รู้จัก คือ " Sampaguita Jasmine จากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์" "Vanda Miss Joaquim สาธารณรัฐสิงคโปร์" " Moon Orchid จากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย" และ "Hibiscus จากประเทศมาเลเซีย"

นอกจากคุณครูมัลลิการ์แล้วยังมีคุณครูที่มาจาก ประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซี่ยนอีก 10 คน สลับสับเปลี่ยน กันมาสอนนักเรียนห้อง ป.5/2 เป็นรายวิชา ซึ่งส่วนมาก คุณครูจะพานักเรียนออกห้องไปสอนตามสถานที่ต่างๆ อย่างเหมาะสมกับรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ นักเรียน ป.5/2 ทุกคนเรียนอย่างมีความสุข ทุกคนมีความเชื่อว่าอนาคต "เขาและเธอ จะต้องเป็นสมาชิกที่ดีของประเทศ และ ของอาเซี่ยนอย่างแน่นอน" ท่านผู้อ่านล่ะครับพร้อมหรือยังที่จะสนับสนุน ให้ห้องเรียนห้อง ป.5/2 โรงเรียนนาทองวิทยา เกิดขึ้นจริงไม่ใช่เพียง "ห้องเรียนในฝัน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท