แตงเถาแตก


ยิ่งในดินที่มีปริมาณแคลเซียมและซิลิคอน (si)น้อยด้วยแล้ว การแบ่งตัวยืดเซลล์ของเถาจะไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง เมื่อฝนตกหรือมีการรดน้ำปริมาณไนโตรเจนจากน้ำฝนและน้ำที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์วัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกในดินละลายใสส่งไนโตรเจนไปเลี้ยงกิ่งก้านใบอย่างรวดเร็วส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปรกติบิดเบี้ยวแตกงอเพราะแคลเซียมและซิลิคอนไม่สมดุลสัมพันธ์กัน

หลายท่านอาจจะงุนงงสงสัยว่าผมพูดถึงอะไร?....เพราะเคยได้ยินแต่แตงเถาตาย จากบทเพลงที่ขับขานอันโด่งดังของคุณพ่อไวพจน์  เพชรสุพรรณที่มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า “ตั้งแต่รังสิต ไปจนติดบางปะอิน พหลโยธิน มีของกินไม่น้อย แม่ค้าตาหวานนั่งร้านแผงลอย ปากนิดจมูกหน่อยแม่นั่งร้อยพวงมาลัย”  และมีท่อนที่เกี่ยวข้องกับแตงในช่วงท้ายๆ คือ “ชาติเจ้าชู้ประตูดิน ผมไม่ได้ซื้อแตงกิน แต่อยากจะจีบ..เจ้าของ  เลยแกล้งถาม..เนื้อความนัยๆ ว่าแตงน้องสองใบ..น่ะน้องจะขาย..ไหมน้อง เพลินคุย...อยู่กับแม่ค้า นั่นเจ้าของแตงมาตั้งท่าคอยจ้อง  ไม่พูดไม่จาตั้งท่าอมภูมิ ในมือพ่อหนุ่มนั้นกุมไม้พลอง แม่ค้าแถวนี้น่ะคงจะมีเจ้าของ ลาก่อนนะน้อง โอ้แม่แตงเถาตาย”

แตงเถาตายคือแตงที่ผ่านการเก็บเกี่ยวไปเรียบร้อยแล้ว ชาวไร่ชาวนาก็จะปล่อยทิ้งไว้ให้เหี่ยวแห้งตายไปตามฤดูกาลรอฝนฟ้าในหน้าใหม่จึงค่อยตีแปลงไถพรวนลงมือเพาะปลูกพืชชนิดใหม่ในฤดูกาลถัดไป ในช่วงนี้ก็จะมีทั้งนกกาหรือเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายผ่านไปผ่านมาแวะเด็ดลิ้มชิมรสไปตามประสา ผลเล็กบ้างใหญ่บ้างคละเคล้ากันไปตามสไตล์ชีวิตเด็กบ้านนอกคอกนา แต่ผลเล็กแน่นตันนั้นมีรสชาติที่หวานลื่นชื่นคอได้รสชาติอรรถรสไม่เบาทีเดียวเชียวล่ะครับ

หัวข้อบทความเป็นแตงเถาแตก แต่เนื้อเรื่องภายในแหกไปพูดเรื่องแตงเถาตาย ผู้อ่านท่านคงจะคิดงงสงสัยว่าผู้เขียนนี่คงจะเกิดความสับสนกระไรอยู่หรือไม่?...ก็ขอบอกว่าไม่ได้สับสนอะไรหรอกดอกนะครับ...เพียงแต่จะลำนำย้ำให้ทราบเรื่องของแตงนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาเรื่องใบเรื่องเถาที่คอยจะเน่า จะแตกกันอยู่บ่อยๆ เนื่องด้วยอาหารน้อยร่อยหรอไม่เพียงพอที่จะส่งลำเลียงไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์ได้ ยิ่งในดินร่วนปนทรายหรือดินทรายเหล่านี้ไม่ค่อยมีอาหารที่มากเพียงพอ เมื่อปลูกแตงลงไปแล้วขาดการดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาย่างเพียงพอก็จะแสดงผอมแห้ง แดงเหลือง ต้นเตี้ย ใบเล็ก บ่งบอกถึงการขาดความอุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด

ยิ่งในดินที่มีปริมาณแคลเซียมและซิลิคอน (si)น้อยด้วยแล้ว การแบ่งตัวยืดเซลล์ของเถาจะไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง เมื่อฝนตกหรือมีการรดน้ำปริมาณไนโตรเจนจากน้ำฝนและน้ำที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์วัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกในดินละลายใสส่งไนโตรเจนไปเลี้ยงกิ่งก้านใบอย่างรวดเร็วส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปรกติบิดเบี้ยวแตกงอเพราะแคลเซียมและซิลิคอนไม่สมดุลสัมพันธ์กันเพราะการพัฒนาของเถาแตงจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตามปริมาณของไนโตรเจนที่ได้รับ เมื่อดินขาดแคลเซียมและซิลิคอนก็จะทำให้โครงสร้างของเถาแตงไม่แข็งแรงหักแตกได้ง่าย เพราะแคลเซียมในรูปของแคลเซียมเพกเทตในมิดเดิลลาเมลลามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ผนังเซลล์ เนื้อเยื่อ และต้นพืชมีความแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น

เกษตรกรที่มีปัญหาในเรื่องแตงเถาแตก กิ่งหัก ใบห้อย ไม่ต้องคอยอ่อนเพลียละเหี่ยหัวใจนะครับ สามารถป้องกันรักษาได้ด้วยการใช้กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อว่า พูมิชซัลเฟอร์ (Pumice Sulpher) ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมฟอสฟอรัสธาตุรองธาตุเสริมเป็นส่วนประกอบด้วยช่วยให้พืชได้รับทั้งซิลิคอน, แคลเซียมอีกทั้งยังมีจุลธาตุอื่นๆ จากกระบวนการเกิดหินแร่ภูเขาไฟ (คล้ายพื้นที่เพาะปลูกแหล่งเกษตรท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของประเทศญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย (บาหลี)และฟิลิปปินส์) ที่ช่วยเติมเสริมปรับปรุงบำรุงดินทราย ดินร่วนให้มีความพร้อมต่อการปลูก การบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 505381เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แตงเถาตาย เป็น แบบนี้นี่เองนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท