หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (questions)


The gardens around Khom ruins.

From http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm
คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
we read
 ด้านที่ ๒
...ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม...

 ด้านที่ ๓
... เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้...

Many cultivated plants/trees are listed: หมาก พลู มะพร้าว มะม่วง มะขาม ลาง และ ตาล.

What is a ลาง (tree)? Can anyone show a picture of ลาง?

Another question came up in my mind "what sort of garden did Thais people in olden days build/grow and enjoy?". By chance a ticket to Thailand was offered and I took it. I really wanted to know if Thais had built great structures: pagodas, temples, and stone cities (ปราสาทหิน และนครหิน), would they have included gardens or landscapes around the great structures -- to complement their grand designs? And around the many Brahmanic Hospitals (อโรคะยา), shouldn't they have grown medicinal herbs?

By old Thai tradition of growing mangala plants (ไม้มงคล), growing and gardens are much a part of Thai culture. What do we know of gardens of Ratanakosin? Ayuddhaya? Sukhothai? Khom? I spent time searching the Net and found no mention of ancient Thai gardens (but the King Ramkamhaeng Stones)!

Where should I find ancient Thai gardens? I decided I would look around the Khom stone structures in Thailand. This is how my last journey was planned. This is what this series of blogging is about.

"The gardens around Khom ruins".

คำสำคัญ (Tags): #khom#Thai garden#stone ruins
หมายเลขบันทึก: 504756เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 03:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ

ลาง ได้ยินว่าเรียก หมาก-ลาง ลักษณะเหมือนมะพร้าว ผมมีบทความที่ อ.พิทูร มลิวัลย์ ไปสืบหาหมากลางที่นครพนม แล้วนำมาปลูกที่ ม.ศิลปากร หอสมุดแห่งชาติ และวัดมหาธาตุด้วยครับ มีโอกาสจะนำมาเล่าเพิ่มเติม 

สวนมงคล ผมว่าน่าจะประดิษฐ์ขึ้นในสมัยหลัง แม้จะมีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้บางชนิด แต่ก็ไม่ได้ยินว่าปลูกเป็นสวนไม้มงคล  ไม้ที่เล่าในวรรณคดีก็เ็ป็นพวกไม้ดัด ไม้ผล ไม้ดอก ส่วนพืชสมุนไพรก็คงจะมีโดยทั่วไป

อันที่จริง ศัพท์ำ "อาราม" นั้นก็แปลว่าสวน มิใช่วัด, จึงอาจมีธรรมเนียมการสร้างสวนไว้ในวัดมาช้านานแล้วก็ได้ครับ

ขอบคุณ  ความรู้ใหม่ นะคะ ..... P'PLe ไม่มีความรู้เชิงลึกนี้เลยนะคะ ....ลางๅ???

คนไทยเราไม่ชอบบันทึก แม้จนวันนี้
พงศาวดารก็มีแต่เรื่องสงคราม คงต้องไปหาอ่านเอาในบันทึกของฝรั่ง จีน หรือไม่ก็ไปหาเก็บเอาในวรรณคดี ครับ จารึกขอมกลับบอกค่อนข้างละเอียด ว่าปลูกอะไรกี่ต้น มอบให้ใครดูแล

หมากลาง....ผมเองเคยได้ยินลางๆ ติดอยู่ริมหู วันนี้นึกไม่ออกครับ (ผมชอบเดินตลาดเจออะไรแปลกก็ถามแม่ค้า จำได้ว่ามีคนหนึ่งบอกว่านี่คือหมากลาง น่าจะเป็นอีสานเหนือ หรือไม่ก็เหนือนี่แหละครับ )

Thank you 

Blank

I had asked a few people. One thought of  (ใบ)ลาน. Another refered to ลางสุก (ผลไม้ ปลูกที่ นครศรีธรรมราช/เมืองคอน). No one can recall seeing a ลาง tree or eating a ลาง fruit -- one mentioned in Sukhothai period. No mention of ลาง in Ayuddhaya period.

I went Singburi to see the double standing Buddhas. One built in Sukhothai period had been hidden behind another of roughly the same size but built in Ayuddhaya (so that Sukhothai Buddhism could be replaced by Ayuddhaya Buddhism -- symbolicly). Singburi had gone smoothly through late Sukhothai rule to early Ayuddhaya rule. There is no record of razing destruction in that transition, so one can expect Sukhothai gardens and orchards would remain much the same in Singburi during Ayuddhaya period. When Bang Rachan fell to the Burmese forces [on the 2nd of the Dark Moon of the 8th month -- a Puñña day (วันบุญ) after Vassa day (วันเข้าพรรษา) after uposotha day (วันพระ), in Buddhists tradition it was an arm-free or a weapon-free day, but the Burmese also a Buddhist nation launched the 8th attack and massacred unarmed heroes of Bang Rachan], Bang Rachan was razed, the gardens and orchards should however survived because it would take extremely efforts to destroy trees in the rain seasons.

But no one, I met, knows of ลาง trees. Old orchards are of santol, pomelo, cooconut and toddy palm (ตาล). Old gardens are not known or recorded. Even กรมศิลปากร seems to be more interested in 'rocks' and bricks than living artefacts like 'animals', 'trees' and 'herbs'.

I should have included this.

from http://th.wikipedia.org/wiki/การรบที่บางระจัน

การรบที่บางระจัน เป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจัน ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[ต้องการอ้างอิง] สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"[6] และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี ...

การวิเคราะห์

เรื่องราวของชาวบ้านบางระจัน มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เท่านั้น ไม่ปรากฏในพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับอื่น แม้แต่พงศาวดารร่วมสมัยคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เช่น คำให้การชาวกรุงเก่า หรือแม้แต่ในพงศาวดารของฝ่ายพม่าเองด้วย ดังนั้น ปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จึงมีความเชื่อโน้มเอียงไปในทางที่ว่า วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันไม่มีอยู่จริง หรือมีอยู่จริง ก็ไม่ใช่วีรกรรมเพื่อชาติ แต่เป็นไปในลักษณะเป็นชุมนุมป้องกันตนเองจากผู้รุกราน และก็มีชุมนุมลักษณะนี้มากมาย ไม่เพียงเฉพาะบ้านบางระจัน และการต่อต้านทัพพม่าของชาวบ้านบางระจันก็ไม่น่ายาวนานถึง 5-6 เดือน น่าจะไม่เกิน 3 เดือน วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ระบาดอย่างมากในประเทศไทย เพื่อเป็นการปลุกใจให้รักและหวงแหนในชาติ เช่น มีการบรรจุในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ฯลฯ ความรับรู้ของคนทั่วไปจะรับรู้ผ่านทางแบบเรียน นิยาย ละคร รวมทั้งภาพยนตร์ และเชื่อตามการนำเสนอนั้นว่าวีรกรรมและตัวละครมีตัวตนจริง ...

Of course, history is not what "recorded". History is most of all "our experience" (or perception of it).

And another clip from http://th.wikipedia.org/wiki/พ่อขุนรามคำแหง

...พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย

ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกาจนทำหาย...

It is clear that we have destroyed ต้นตาล at Sukhothai in our resurrection of the old capital (for tourists). Today there are more ต้นตาล and (toddy) palm sugar industry thriving in Songkhla.

As for the oldest ต้นไทร in Thailand, can anyone give me a clue? (A ต้นไทร at some 800 years old would be a magic sight to see. How could we have missed (mistreated) this tree?

A banyan tree (from OKnation.net) -- not more than 120 years olds.

 

A search for impacts of wars to see what happened to trees and gardens we used to have produces this:

http://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรล้านช้าง ... เมื่อกองทัพอาณาจักรสยามตีนครเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ในรัชกาลของเจ้าอนุวงศ์นี้ ฝ่ายสยาม (รัชกาลที่ 3) ได้สั่งให้ "ทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก" ทั้งกำแพงเมืองและวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนต้นไม้และไร่นาก็ถูกเผาจนหมดสิ้น อีกทั้งให้ล้มเลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เสีย มิให้มีเมืองและเจ้าครองนครอีกต่อไป นครเวียงจันทน์ที่เคยรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์มาหลายร้อยปี ก็ถูกทำลายลงจนถึงกาลอวสานกลายเป็นเมืองร้าง ในปี พ.ศ. 2371 ...

http://th.wikipedia.org/wiki/การล้อมอยุธยา (2309–2310) ... บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ปล้นสะดมพระนคร แอนโทนี โกยาตัน ชาวอาร์เมเนียน อดีต Head of the Foreign Europeans ในสยามและ The Arabian Priest Seyed Ali ซึ่งแต่ก่อนได้พำนักอยู่ในกรุงสยามได้เล่าเรื่องราวให้ Shabandar [ชาแบนดาร์] พี แวนเดอร์วูร์ต ฟังดังนี้: "... หลังจากที่คนรับใช้ของบริษัทได้ออกไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2308 ไม่นานนัก พม่าก็เข้าล้อมกรุงสยามในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม พ.ศ. 2309 หลังจากที่ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ได้แล้ว และพม่าได้วางที่ตั้งยิงปืนใหญ่ขนาดเล็กขึ้นโดยรอบกรุงเพื่อมิให้ผู้ใดเข้าหรือออกได้ สภาพเช่นนี้เป็นไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 ในเวลาที่น้ำขึ้นท่วมรอบกรุง พม่าได้เคลื่อนที่เข้าไปใกล้กรุง ในเวลากลางคืนด้วยเรือหลายลำ ใช้บันไดพาดกำแพงหลายแห่ง และโยนหม้อดินที่บรรจุดินปืนเข้าไปภายในกำแพงที่ถูกล้อม ครั้นเมื่อยึดกรุงได้แล้ว พวกพม่าได้ช่วยกันทำลายเมืองลงเป็นเถ้าถ่า หมด การปฏิบัติในครั้งนี้พวกพม่าได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากพวกเพื่อนร่วมชาติของตนที่อยู่ภายในกรุง ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าร้อยคน กับพวกพม่าที่ทำการรุกเข้าไปที่สามารถทำการติดต่อกันได้ เรื่องได้มีต่อไปว่า หลังจากที่ได้สังหารประชาชนส่วนมากผู้ซึ่งหนีความโกลาหลไปแล้ว พวกพม่าก็แบ่งคนออกเป็นพวก ๆ ตามจำนวนของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ออกเป็นหลายพวกแล้วนำพวกเหล่านี้ไป หลังจากที่ได้ทำการวางเพลิง Lodge of the Company ที่ทำการของบริษัทแล้ว ส่วนกษัตริย์หนุ่มด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เช่นเดียวกันกับ Berquelang ก็รวมอยู่ในหมู่ประชาชนที่ถูกนำไปด้วย ในระหว่างทาง กษัตริย์หนุ่มได้ประชวรสวรรคต และ Berquelang ก็ถึงแก่กรรมด้วยการวางยาพิษตนเอง ผู้ให้การได้กล่าวด้วยว่า กษัตริย์องค์ที่สูงด้วยวัยถูกลอบปลงพระชนม์ ในคืนเดียวกันโดยชาวสยามด้วยกัน..."[38] ผู้ที่บันทึกพร้อมกับเพื่อนในคณะ ซึ่งมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคนประกอบด้วยชาวโปรตุเกส อาร์เมเนียน มอญ สยาม และมาเลย์ ทั้งชาย หญิงและเด็ก ได้ถูกนำตัวมุ่งหน้าไปยังพะโคภายใต้การควบคุมของชาวพม่ากลุ่มเล็ก ๆ เพียงสิบห้าคนเท่านั้น ในระหว่างครึ่งทาง พวกเขาประสบโอกาสจับพวกที่ควบคุมไว้ได้ และพากันหลบหนีมา หลังจากที่ได้บุกป่าฝ่าดงมาแล้ว พวกเขาก็กลับมาถึงแม่น้ำสยามอีกครั้งหนึ่ง ในจดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศสของมองเซนเยอร์บรีโกต์ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศความว่า: “… เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ 15 วัน และได้ฆ่าฟันผู้คนไม่เลือกว่าคนมีเงินหรือไม่มีเงินก็ฆ่าเสียสิ้น แต่พวกพม่าพยายามฆ่าพระสงฆ์มากกว่าและได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้าเองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ในตอนเช้าเวลาเดียวกันเท่านั้นกว่า 20 องค์ …”[39] M.Turpin ในประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม กล่าวถึงสภาพภายหลังกรุงแตกและการกระทำอย่างบ้าคลั่งของพม่าไว้ว่า:[40] "… กรุงก็ถูกตีแตก สมบัติพัสดุที่ในพระราชวังและตามวัดวาอารามต่างๆ กลายเป็นสิ่งปรักหักพังและเถ้าถ่านไปสิ้น พวกป่าเถื่อนได้ชัยชนะนี้ยิ่งแสดงความโกรธแค้นหนักขึ้นเพราะไม่ได้ทรัพย์ สมบัติ ดังความโลภเพื่อให้หายแค้น ได้แสดงความทารุณโหดร้ายแก่ชาวเมืองทั้งหลาย ถึงกับจับคนมาลนไฟที่ส้นเท้า... ...เพื่อให้บอกว่าได้ซ่อนทรัพย์สมบัติไว้ที่ไหน ทั้งยังนำลูกสาวมาข่มขืนชำเราให้ร้องลั่นอยู่หน้าบิดาด้วย พวกพระก็ถูกหาว่าซ่อนสมบัติไว้มาก จึงถูกยิงด้วยลูกศรจนปรุและถูกพุ่งด้วยหลาวหรือปลายหอกจนตัวปรุ และหลายต่อหลายรูปก็ถูกตีด้วยท่อนไม้ จนตายคาที่ วัดวาอารามตลอดจนบริเวณที่กว้าง ล้วนเต็มไปด้วยซากศพ แม่น้ำลำคลองก็มีซากศพลอยเต็มไปหมดเช่นเดียวกัน ส่งกลิ่นเหม็นจนหายใจไม่ออก เป็นเหตุให้ฝูงแมลงวันต่างพากันมาตอมอยู่อย่างมากมาย ก่อให้เกิดความรำคาญแก่กองทัพพม่าที่เข้าไปตั้งอยู่เป็นอันมาก...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท