โอกาสโค่นล้มอำนาจเก่า: กรณีอาหรับสปริง [EN]


.
สำนักข่าว BusinessInsider ตีพิมพ์เรื่อง 'Endgame: How Iran's hyperinflationary  currency collapse could lead to revolution' = "จบเกมส์(ตอนจบ ตอนสุดท้าย: เงินเฟ้อหนักทำการเมืองป่วน(นำไปสู่การปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการเมือง)ได้อย่างไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
  • [ endgame ] > [ เอ๊น - เก่ม ] > http://www.thefreedictionary.com/endgame > noun = ตอนจบ ตอนสุดท้าย จุดจด เช่น ก้าวสุดท้ายที่ทำให้แพ้-ชนะหมากรุก ฯลฯ

การแซงชั่น (sanctions) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) จำกัดการค้ากับอิหร่านตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ทำให้รายได้จากการขายน้ำมัน-แก๊สของอิหร่านลดลง

ภาวะเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก และการผลิตน้ำมันเพิ่มของซาอุฯ ทำให้น้ำมันราคาตก ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันตกลงไปอีก

ตอนนี้ค่าเงินอิหร่าน (rial) ตกลงไปเรื่อยๆ

  • [ rial ] > [ รี - อ้าว ] แบบอเมริกัน หรือ [ เหรี่ยว ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/rial > noun = เงินเรียล; คำนี้มาจากชื่อเงินในภาษาสเปน และอาหรับตามลำดับ
อ.ชาร์ลส์ รอบเบิทซัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร (เพื่อการลงทุน) เรเนอซองซ์ คำนวณจากประวัติศาสตร์การโค้นล้มอำนาจ (regime changes) พบว่า
.
เงินเฟ้อ(ของแพงขึ้น)และฐานะชาวบ้าน มีผลต่อความน่าจะเป็น (ความเป็นไปได้) ในการโค่นล้ม "อำนาจเก่า" หรืออำนาจเผด็จการ (autocracy) 
.
ความน่าจะเป็น (ร้อยละ) มีส่วนสัมพันธ์กับค่า GDP per capita (ผลผลิตประเทศต่อหัวประชากร) หรือรายได้ชาวบ้าน(ต่อคน)
.
เมื่อรายได้ลดลง (เงินเฟ้อมาก - ของแพงขึ้นมาก) จะพบโอกาสในการโค่นล้มอำนาจเก่าดังนี้
  • GDP = $10,000-19,000 = 300,000-570,000 บาท/คน/ปี > 3.6%
  • GDP = $6,000-10,000 = 180,000-300,000 บาท/คน/ปี > 15.5%

ถ้าคิดให้ง่ายขึ้น คือ ให้ $1 = 30 บาท, เมื่อรายได้ลดลง (เงินเฟ้อมาก) จะพบโอกาสในการโค่นล้มอำนาจเก่าดังนี้

  • GDP = 25,000-47,500 บาท/คน/เดือน > 3.6%
  • GDP = 15,000-25,000 บาท/คน/เดือน > 15.5%

สถิติข้างต้นบอกเราว่า โอกาสในการโค่นล้มอำนาจเก่าแปรผกผัน หรือตรงข้ามกับฐานะชาวบ้าน

ประเทศที่มีคนจน(รายได้น้อย)มากมีโอกาสโค่นล้มอำนาจเก่ามากกว่าประเทศที่มีคนรวย(รายได้มาก)มาก

ค่า GDP per capita = ผลผลิตประเทศต่อหัวประชากร = รายได้ชาวอิหร่าน = $10,622/คน/ปี = 318,660 บาท/คน/ปี = 26,555 บาท/คน/เดือน ในปี 2009/2552

IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ประมาณการณ์ GDP per capita = ผลผลิตประเทศต่อหัวประชากร = รายได้ชาวอิหร่าน = $12,200/คน/ปี = 366,000 บาท/คน/ปี = 30,500 บาท/คน/เดือน ในปี 2011/2554
.
ตรงนี้บอกเราว่า ชาวอิหร่านมีรายได้ค่อนข้างสูง > โอกาสล้มอำนาจเก่า = 3.6%
.
อ.เดวิด โคโรววิคซ์ กล่าวว่า ถ้าค่าเงินตก หรือเงินเฟ้อ(ของแพง)มากถึงระดับหนึ่ง... คนในประเทศจะไม่มีเงินพอซื้อข้าวกิน
.
ถึงจุดนั้น... คนจะเริ่มนำของเก่า เช่น เงินตราต่างประเทศ ทอง ของใช้ในบ้าน นาผืนน้อย(ขายตัว) ฯลฯ ออกมาขาย เพื่อแลกซื้ออาหาร คล้ายๆ กับเป็นการใช้ "ก๊อกสอง" ของชีวิต
.
ถ้าก๊อกสองล้มเหลวจะทำให้คนไม่มีทางเลือก และอาจลุกฮือขึ้นทำการเมืองป่วนได้
.
อ.บาร์ทอซซ์ เพาโลวสกี จาก BNP กล่าวว่า ประสบการณ์อาหรับ สปริง (Arab Spring) หรือการปฏิวัติในตะวันออกกลางในปี 2554 เป็นตัวอย่างที่ดีของการโค้นล้มอำนาจรัฐจากเงินเฟ้อ (ของแพง)
.
อ.เดนนิส การ์ตมาน จาก Gartman Letter กล่าวว่า เงินไม่มีค่า หรือค่าเงินล้ม (currency collapse) มักจะนำไปสู่ความโกลาหลในบ้านเมือง (chaos) และตรงนี้... อาจนำไปสู่การล้มอำนาจเก่า (regime change)
.
กลไกหนึ่งที่ทำให้ทหารในประเทศที่มีตลาดหลักทรัพย์(หุ้น)เข้มแข็ง ปฏิวัติน้อยลง... ไม่ใช่เป็นเพราะทหารไม่แสวงหาอำนาจ เพราะอำนาจมักจะนำไปสู่ความร่ำรวย(มากเป็นพิเศษ)
.
ทว่า... น่าจะเป็นเพราะทหารชั้นผู้ใหญ่มักจะรวย(มาก)
.
เมื่อรวยแล้วก็อยากจะรวยมากขึ้น... ลงทุนไปหลายเรื่อง เช่น ฝากธนาคารทั้งในและนอกประเทศ ที่ดิน ทอง ฯลฯ และลงทุนในหลักทรัพย์(หุ้น)มากขึ้น เช่น จ้างธนาคารทำกองทุนส่วนตัว ฯลฯ
.
การยึดอำนาจยุคนี้ทำให้หุ้นตก เนื่องจากโลกตะวันตกจะคว่ำบาตรทันที ทำให้สินทรัพย์ของทหารชั้นผู้ใหญ่ตก... ไม่อยากจนลง เลยไม่ค่อยอยากยึดอำนาจเหมือนเมื่อก่อน
.
นี่เป็นประโยชน์ที่ตลาดทุนหรือตลาดหุ้นมีต่อโลกเสรีนิยม คือ ลดเสี่ยงเผด็จการ
.
ขอกลับไปที่อิหร่าน... อิหร่านมีนโยบายสวัสดิการ คล้ายๆ กับประชานิยมของไทย คือ มีการโอนเงินช่วยคนจนเป็นรายเดือนมานานแล้ว ทำให้ภาครัฐมีค่าใช้จ่าย และหนี้ค่อนข้างสูง
.
นโยบายทำให้คนอิหร่านมีรายได้มากขึ้น โอกาสในการโค้นล้มรัฐบาลน้อยลง (ซาอุฯ ก็นำนโยบายแบบนี้ไปใช้เช่นกัน)
.
จุดแข็งของอิหร่านอีกอย่างหนึ่ง คือ การมีเศรษฐกิจหลากหลาย น้ำท่าบริบูรณ์ ผลิตอาหารเองได้ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับประเทศตะวันออกกลางอื่นๆ
.
ประเทศที่ผลิตน้ำมัน-แก๊สธรรมชาติ หรืออาหารได้เอง มักจะมีเงินเฟ้อต่ำกว่าประเทศที่ผลิตน้ำมัน หรืออาหารไม่ได้
.
จุดนี้ช่วยให้อิหร่านพึ่งพาตัวเองได้ในยามยาก
.
แถมอิหร่านยังมีกฎหมายให้ "บริจาคอวัยวะ" เช่น ไต ฯลฯ กับคนที่ไม่ใช่ญาติได้ โดยรัฐบาลออกกฎหมายค่าบริจาคขั้นต่ำ ทำให้มี "ก๊อกสอง" หรือทางเลือกในการอยู่ให้รอดมากขึ้น
.
โอกาสในการโค้นล้มอำนาจเก่าในอิหร่านคงจะไม่มาก คือ 3.6%
.
อิหร่านค้าขายกับไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แถมมีคนไทยเชื้อสายอิหร่านได้ดิบได้ดีในฐานะ-การเงินมาจนทุกวันนี้ 
.
อย่างไรก็ขอให้คนไทยมีเมตตาไว้ในระดับหนึ่งให้ได้ก่อน... อย่างน้อยก็พอจะนับญาติกันได้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ >
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 504566เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท