โลกและดวงจันทร์


สำหรับโลกที่เราอาศัยอยู่นั้นมีดวงดาวบริวารเพียงดวงเดียวเท่านั้นคือ ดวงจันทร์ และดวงจันทร์นี้ก็มีอิทธิพลต่อโลกเราด้วยเช่นกัน

          ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง

 


กำเนิดโลก


                                  แหล่งข้อมูล :http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/LESA212/6/wind/wind/itcz_drift_s.jpg.( เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 )

ตามแนวทางการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์    

          ปรากฎว่าราว 5 พันล้านปีล่วงมาแล้ว ภายในอวกาศมีกลุ่มก๊าซและยังมีหมอกเพลิงอยู่ทั่วไป อาศัยแรงแห่งความโน้มถ่วงและความกดดัน สืบเนื่องมาจากกลุ่มก๊าซภายนอกกลุ่มอื่นๆ ผลักดันให้กลุ่มก๊าซและหมอกเพลิงเหล่านั้นรวมตัวกันเข้า และค่อยๆหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นทุกที 
          เมื่อกลุ่มของก๊าซและหมอกเพลิงรวมตัวกันหนาแน่นมากขึ้น มีอัตราเร็วของการหมุนมากขึ้น อุณหภูมิก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย จนในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์ที่มีระดับความร้อนสูงและมีแสงสว่างสดใส บางกลุ่มอาจจับกลุ่มกันมากกว่าสองขึ้นไป แต่บางกลุ่มก็อยู่โดดเดี่ยว เช่นดวงอาทิตย์เป็นต้น

           สุริยะจักรวาลของเราเป็นจักรวาลที่ใหญ่โตมากจักรวาลหนึ่ง มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวบริวารอีก 8 ดวงโคจรอยู่รอบๆ ดาวบริวารเหล่านี้แยกตัวออกมาจาก

         ดวงอาทิตย์ในขณะที่ยังเป็นกลุ่มก๊าซอยู่ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทางโคจรที่จำกัด นานเข้าก็จับกลุ่มเย็นตัวลงก่อน และกลายเป็นดาวเคราะห์ ที่ไม่มีแสงในตัวเอง และยังมีดาวดวงเล็กๆ เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก เรียกว่าดวงจันทร์ และก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่จับกลุ่มแล้วโคจรไปในรูปแบบของดาวหาง


โลก



                                                       
แหล่งข้อมูล : http://webboard.yenta4.com/uploads/2009/05/10/4275-attachment.jpg


คำถามที่ว่า โลกของเราก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร? 
       โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม และเป็นดาวเคราะห์ที่พิเศษเพียงหนึ่งเดียวในระบบสุริยะจักรวาล เพราะโลกเท่านั้นที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ทำให้น้ำคงสภาพอยู่ได้ และโลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีวิวัฒนาการจนมีออกซิเจนในบรรยากาศ ปัจจัยทั้งสองประการส่งผลให้ "โลก" มีสิ่ง

         มีชีวิตนานาชนิดเกิดขึ้น ดังนั้นคำถามที่ว่า “โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามที่ชวนให้น่าค้นหายิ่ง 
         เพราะแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังตั้งข้อสมมติฐานไปต่าง ๆ นานา แต่สมมติฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ โลกรวมทั้งระบบสุริยะจักรวาลเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดยักษ์ที่เรียกว่า “เนบิวล่า” (Nebular)
          ระบบสุริยะจักรวาลเกิดมาท่ามกลางความมืดมิดของอวกาศ โดยกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองที่เรียกว่า เนบิวลา (Nebular) จะหมุนวนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ คล้ายการหมุนของวงล้อ 
           ก๊าซส่วนใหญ่ของเนบิวลา คือ ไฮโดรเจน การหมุนวนของเนบิวลานี้จะดึงดูด ก๊าซ ฝุ่นละอองและรังสีต่าง ๆ เข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งแรงที่ทำให้เกิดการหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางนี้ คือ แรงโน้มถ่วง (Gravity) นั่นเอง เมื่อเวลาผ่านไปนับพันล้านปี การหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางของเนบิวลาจะทำให้เกิดมวลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกบอลสีแดงขนาดยักษ์ และนี่คือจุดเริ่มต้นของดาวดวงใหม่ที่เรียกว่า ดวงอาทิตย์ ซึ่งได้แผ่พลังงานความร้อน แสงสว่าง และแรงดึงดูด ห่างออกไปประมาณ 13 พันล้านกิโลเมตร
            โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 
             ดาวเคราะห์โลก ถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57?109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
            โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา    สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน


การเกิดแผ่นดินและทวีป

           เมื่อแรกแตกตัวออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น ลูกโลกก็มีลักษณะเป็นดังกลุ่มหมอกเพลิง เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ และก็เคลื่อนที่ไปตามวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าจึงเย็นตัวเร็วกว่าดวงอาทิตย์ และในขณะที่เกิดการเย็นตัวนี้เอง สารที่เป็นส่วนประกอบพวกใดที่มีความหนาแน่นมากกว่า ก็จมลงไปอยู่ในใจกลางลูกกลมๆที่จะกลายเป็นโลก 
          ส่วนที่เบากว่าก็เป็นองค์ประกอบอยู่ภายนอก และจากภายในก็มีไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์พุ่งขึ้นมาพร้อมกับก๊าซอย่างอื่น ทำให้เกิดบรรยากาศห่อหุ้มโลกนานแสนนานต่อมา ผิวโลกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ และอาจกินเวลานานนับล้านๆปีที่ความร้อนภายใน ค่อยแผ่กระจายขึ้นไปภายนอก วัตถุที่หลอมละลายอยู่ข้างในก็พวยพุ่งออกมาภายนอก ในขณะที่มันเย็นตัวลงไปอีก แต่เพราะมีน้ำหนักมากก็เลื่อนตกกลับลงไปในส่วนลึกของมันอีก และส่วนภายในนั้นร้อนแรงและยังคงคุโชนอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
          ดังนั้นภายในโลกจึงอาจจะเป็นแร่ธาตุที่หลอมเหลวและร้อนระอุอยู่ และมีขนาดมหึมา เส้นผ่าศูนย์กลางเฉพาะส่วนที่หลอมเหลวยาวถึง 4500 ไมล์ และมีอุณหภูมิที่ราวๆ 5000 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นความร้อนที่เกือบเท่าๆ กับความร้อนของผิวดวงอาทิตย์ ธาตุที่หลอมเหลวนี้จัดเป็นผิวโลกชั้นในที่เรียกว่า เสื้อคลุมชั้นใน อาจหนาถึง 1800 ไมล์ ประกอบด้วยหิน ธาตุเหล็ก และโลหะอย่างอื่นๆปนอยู่อีกมาก
          รอบๆ เสื้อคลุมชั้นในนี้ กลายเป็นชั้นบางๆของผิวโลก ถ้าเปรียบโลกทั้งใบเป็นดังผลแอปเปิล ผิวชั้นนี้ก็ไม่หนาไปกว่าผิวแอปเปิลเลย ชั้นล่างของชั้นหินนี้เป็นหินที่เราพบในลักษณะของลาวา ซึ่งภูเขาไฟพ่นออกประมาณว่าเปลือกนี้หนาถึง 20 ไมล์ ชั้นล่างสุดของผิวนี้เป็นท้องมหาสมุทรและทะเล ส่วนที่สูงขึ้นมาก็เป็นพื้นผิวของทวีปซึ่งกลายเป็นภูเขา แผ่นดิน และเนื้อเปลือกโลกชั้นนอกสุด อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
          เริ่มแรกที่ทวีปเกิดขึ้นใหม่ๆนั้น มีลักษณะน่ากลัวมาก เพราะขณะนั้นผิวโลก และภายในยังคงร้อนระอุอยู่ จึงมีเปลวไฟ กลุ่มก๊าซที่ร้อนจัด และหมอกควันระเบิดพวยพุ่งขึ้นมาเป็นแห่งๆ บางทีก็มีลาวาที่ประกอบด้วยหินละลายเหลวไหลขึ้นมาเป็นทะเลเพลิง ซึ่งในทะเลเพลิงของลาวานี้ก็มีหินแกรนิตมหึมาผุดลอยขึ้นมาด้วย 
          เมื่อเย็นลงก็มีหินละลายส่วนอื่นๆ จะเกาะตัวเพิ่มเติมให้หนาออกไปเรื่อยๆ และในบางส่วนผิวนอกเย็นตัวเกาะเป็นของแข็ง แต่บางส่วนภายในที่ยังเดือดอยู่ก็ผลักดันให้ปูดนูนขึ้นภายนอกไม่มีใครทราบแน่นอนว่าส่วนของทวีปในโลกนี้ เกิดขึ้นในบริเวณไหนก่อน อาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ในหลายๆแห่ง แล้วค่อยๆแปรสภาพไปทีละขั้นตอน ตามอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของโลก จนมีสภาพกลายเป็นทวีปต่างๆ และทุกวันนี้ผิวโลกส่วนที่เป็นทวีปนี้ ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ช้าลงเท่านั้น


แหล่งข้อมูล : http://www.google.co.th/imgres?q=%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&um=1&hl=th&biw=1366&bih=638&tbm=isch&tbnid=zmf2ejzaq0SugM:&imgrefurl=http://pattana05.blogspot.com/2011/04/blog-post.html&docid=dVQi0n0Vj5ykDM&imgurl=http://2.bp.blogspot.com/-0KlKPxA1UOM/TZdcPieChsI/AAAAAAAAACo/OPeK02n9s2I/s1600/463880-topic-0.jpg&w=526&h=482&ei=zmNqUIziDZHirAes64HoBA&zoom=1&iact=hc&vpx=119&vpy=172&dur=360&hovh=215&hovw=235&tx=156&ty=131&sig=105113327009393449391&page=1&tbnh=129&tbnw=152&start=0&ndsp=21&ved=1t:429,r:0,s:0,i:74  (เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555)

 

ทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์

                                      

          ทฤษฎีการกำเนิดดวงจันทร์เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายความสามารถของนักดาราศาสตร์มาเป็นเวลานาน ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในขณะนี้คือ ทฤษฎีพุ่งชน ซึ่งถูกเสนอขึ้นมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 อธิบายว่า ในช่วงปลายของระยะสะสมมวลของโลก ได้มีวัตถุขนาดใหญ่ลูกหนึ่งพุ่งเข้ามาชนโลก ทำให้สสารจากเปลือกโลกจำนวนหนึ่งหลุดออกไปและต่อมาได้รวมตัวกันใหม่เป็นวัตถุอีกดวงหนึ่งและกลายเป็นดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม จากการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์กลับพบว่าผลจากการชนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน

       ทฤษฎีนี้แบ่งออกเป็นสองแนวทาง แนวทางแรกกล่าวว่าการชนเกิดขึ้นในขณะที่โลกสะสมมวลได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของมวลที่มีอยู่ในปัจจุบัน นั่นหมายความว่าหลังจากการชนแล้วโลกยังต้องเก็บมวลมาเพิ่มอีกถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปได้ยาก

      อีกแนวทางหนึ่งเชื่อว่าการชนเกิดขึ้นในช่วงที่กระบวนการสร้างโลกใกล้เสร็จสิ้นแล้ว แต่จากการสร้างแบบจำลองพบว่าหากเกิดชนในลักษณะนี้ จะทำให้โมเมนตัมเชิงมุมของระบบโลก-ดวงจันทร์มากกว่าที่เป็นอยู่จริงนี้ถึงสองเท่า จะต้องให้มีการชนเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อลดความเร็วของวัตถุทั้งสองลง ซึ่งก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน

       เมื่อเร็ว ๆ นี้ข้อสงสัยในทฤษฎีนี้ได้รับการคลี่คลายลงเมื่อนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซที่นำโดย Robin Canup ได้สร้างแบบจำลองขึ้นมาใหม่และให้ผลใกล้เคียงกับปัจจุบันทั้งตำแหน่ง มวล โมเมนตัมเชิงมุม และองค์ประกอบทางเคมีของโลกและดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะแบบจำลองใหม่นี้ต้องการวัตถุที่มาพุ่งชนเล็กกว่าเดิมซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าจะเป็นให้มากขึ้นด้วย

      กุญแจสำคัญของความสำเร็จของการสร้างแบบจำลองนี้คือ ความละเอียดในการคำนวณ แบบจำลองที่สร้างกันมาก่อนหน้านี้จะแทนระบบโลก-ดวงจันทร์ด้วยอนุภาคประมาณ 3000 อนุภาค แต่แบบจำลองของสถาบันเซาท์เวสต์นี้ใช้อนุภาคนับหมื่นอนุภาค จึงสามารถคำนวณได้ละเอียดกว่าเดิมถึง 10-20 เท่า

 

        นีล แอลเดน อาร์มสตรอง  Neil Alden Armstrong  เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) เกิดที่รัฐโอไฮโอ จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การ NASA มาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล 11

          และในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์  และยานอวกาศได้จอดบนผิวดวงจันทร์ครั้งแรก เมื่อวันที่ 20  กรกฎาคม 2512 ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทั่วโลกด้วย

รอยเท้า Neil Armstrong บนดวงจันทร์

           โดยอาร์มสตรองเป็นมนุษย์คนแรกที่ลงมาบนพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกับกล่าวว่า “ก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นก้าวกระโดดไกลของมนุษยชาติ”

แหล่งข้อมูล : http://www.youtube.com/embed/RMINSD7MmT4



หมายเลขบันทึก: 504029เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท