ถ้อยแถลงของชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน เนื่องในการประชุมวิชาการนานาชาติวันนักแปลโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๕


ชมรมฯ ขอยืนหยัดที่ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้และดิจิทัลในสังคม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเท่าเทียมกันของบุคคลทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ๘๐ พรรษาและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๖๐ พรรษา:  การประชุมวิชาการนานาชาติวันนักแปลโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๖   

ถ่ายทอดผ่านอินเทอร์เนต วิทยุเอฟเอ็ม ๙๐.๗๕ และโทรทัศน์ดาวเทียม

"ยุทธศาสตร์การแปล การแปลเพื่อปลายทาง ล่ามและล่ามภาษามือ ของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน

“Translation, Localization, Interpretation and Sign Language Strategies in ASEAN Community”

 ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕  เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.  – ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๐๐น. 

ณ สตูดิโอ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 

Thossaphol  NORATUS

เรียน   ท่านประธานที่ประชุม

            ท่านผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

 

ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ขอแสดงความยินดีและชื่นชมต่อความสำเร็จของการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติวันนักแปลโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๖ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๖๐ พรรษา ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์การแปล การแปลเพื่อปลายทาง ล่ามและล่ามภาษามือ ของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน” หรือ “Translation, Localization, Interpretation and Sign Language Strategies in ASEAN Community”

ขอขอบคุณคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติวันนักแปลโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๕  เฉพาะอย่างยิ่ง รศ.ดร.มณีรัตน์  สวัสดิกุล ณ อยุธยา ซึ่งได้ให้เกียรติชมรมฯ มาเป็นภาคีองค์กรร่วมจัดในครั้งนี้ ในบทบาทด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้และดิจิทัลในสังคม (Digital Divide) ชมรมฯ มีความตระหนักดีว่าการแปลถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ระหว่างมวลประเทศสมาชิกอาเซียน และประชาคมโลก ประชาชนในอีกประเทศหนึ่งคงไม่สามารถเข้าใจภาษา วรรณกรรม  สังคม วัฒนธรรมของอีกประเทศหนึ่งได้หากขาดซึ่งการแปลจากภาษาต้นทางไปสู่ภาษาปลายทางที่ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ เราจึงขอเรียกร้องและสนับสนุนอย่างเต็มที่ที่ให้มีการแปลวรรณกรรม ความรู้ต่างๆ จากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของชาติสมาชิกอาเซียน รวมตลอดถึงประชาคมโลก และไม่เพียงแต่การแปลสำหรับคนปกติเท่านั้น แต่ยังหมายร่วมถึงการแปลและสื่อความหมายอื่นใด เพื่อให้ผู้พิการทางสายตา ทางการได้ยิน สามารถเข้าใจได้อย่างเท่าเทียมกันด้วย

เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการแปลภาษา ได้กล่าวหน้าไปอย่างมาก จนสามารถทะลายกำแพงขวางกันการรับรู้ระหว่างภาษาลงได้ แม้จะไม่ทั้งหมดแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งหลายท่านในที่นี่และที่รับฟังอยู่ทางบ้านก็คงจะเคยใช้บริการในลักษณะดังกล่าวมาบ้างแล้ว เช่น Google Translate เป็นต้น และเราก็ประจักษ์แล้วว่าขีดความสามารถของบริการเหล่านี้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ชมรมฯ ขอยืนหยัดที่ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้และดิจิทัลในสังคม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเท่าเทียมกันของบุคคลทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส...ขอขอบคุณครับ.

 

ทศพนธ์  นรทัศน์

ประธานชมรม ICT for All

หมายเลขบันทึก: 503893เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2012 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท