No.18 Shadows of the Neanderthal: เงาแห่งยุคหิน


รูปแบบความคิด หรือกรอบความคิด ของเรามีผลต่อพฤติกรรมของเรา ถ้าเราติดกับรูปแบบความคิดเดิม เราก็จะเป็นได้แต่แบบเดิมๆ ถ้าเรียนรู้ พัฒนา ไม่ติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ เราจะพัฒนาก้าวหน้า เป็นคนใหม่ได้ในที่สุด

                               

                  Shadows of the Neanderthal: เงาแห่งยุคหิน

                          (Mental Model: รูปแบบความคิด)

 

           รูปแบบความคิด หรือบางคนเรียกว่า กรอบความคิด หมายถึง ความเชื่อ ภาพลักษณ์ และสมมุติฐานต่างๆ ที่เรายึดมั่นอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตนเอง โลกของเรา และองค์กรของเรา รวมทั้งวิธีการที่เราปรับตัวเข้ากับสิ่งนั้นๆ

            รูปแบบความคิด เกิดขึ้นจากธรรมชาติภายในตัวเรา ร่วมกันกับการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ หล่อหลอมให้มนุษย์เรามีรูปแบบความคิดที่แตกต่างกัน  หรือเหมือนกันในบางกรณี ตามเหตุตามปัจจัย

            กลไกหรือขบวนการในการก่อตัวของรูปแบบความคิดของเรานั้น เริ่มต้นที่การรับรู้ผ่านอายตนะประสาททั้ง6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไปสู่ระบบประสาทสมอง ที่ก่อตัวเป็นเครือข่ายร่างแหใยประสาท และสารเคมีสมองภายในสมอง และจัดระบบอยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่สลับซับซ้อนมากมาย สะสมและทับซ้อนอยู่ภายในสมองของเรานั่นเอง

             ข้อมูลใหม่ๆี่จะถูกใส่เข้าไปในสมองเรานั้น มิได้เข้ากันได้ง่ายๆทุกข้อมูลนะครับ เพราะรูปแบบหรือกรอบความคิดเดิมของเรา ยังเป็นเกราะหรือตัวกรองในการเลือกรับ พิจารณา หรือบันทึกบางข้อมูลใหม่นั้นๆด้วย

             แล้วปัญหามันอยู่ตรงไหนหล่ะครับ อ๋อ!มันก็อยู่ตรงที่ เรามักจะยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบความคิดเดิมๆของเรา แล้วเราก็ทำกันแบบเดิมๆต่อไป ผลลัพธ์ก็ออกมาแบบเดิมๆ ซ้ำร้ายบางครั้งที่รูปแบบความคิดต่างกันมาก ก็อาจทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง หรือหนักข้ออาจกลายเป็นศัตรูกันไปเลยก็ได้

              เราพอจะมีทางจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร?

              เพียงแค่เราเข้าใจธรรมชาติของรูปแบบความคิด ว่ามันก็สักแต่ว่าเป็นความคิด มิใช่ตัวตนของเรา มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามการรับรู้ข้อมูลใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  หมั่นเตือนตนเองและมีสติอยู่เสมอว่า ถ้าต้องการที่จะพัฒนาตนเอง(องค์กรตนเอง) จะต้องไม่ติดอยู่กับรูปแบบหรือกรอบความคิดแบบเดิมๆ เหตุเพราะสถานะการณ์เปลี่ยน โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา หมั่นติดตามสถานะการณ์ หาความรู้ใหม่ รวมทั้งพัฒนารูปแบบหรือวิธีการคิดใหม่ๆ เรียนรู้และฝึกฝนในเรื่องรูปแบบความคิดต่างๆ เหมือนเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเองอีกอย่างหนึ่ง (Learn how to think)

 

               นิทานเรื่องนี้นำเสนอให้เห็นถึง ความขัดแย้งในรูปแบบความคิดของมนุษย์ถ้ำ โดยมีตัวเอกคือ บูกี ที่มีรูปแบบความคิดที่ไม่เหมือนกับเพื่อนอีก4คน คือ อุงกา บุงกา อูกี และ เทรเวอร์ ในเรื่องของความจริงที่อยู่นอกถ้ำ เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะและกล่าวร้าย จนกระทั่งบูกีต้องถูกไล่ออกจากถ้ำ เพื่อนอีก4คนก็ยังคงอยู่ในถ้ำไม่ไปไหนเหมือนเดิม

               บูกีได้ออกไปนอกถ้ำ พบกับธรรมชาติความจริงที่ไม่เคยพบมาก่อนเลย(ในถ้ำ) ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องการยอมรับในรูปแบบความคิดที่แตกต่าง และสามารถอยู่ร่วมกันได้

                บูกีกำลังตัดสินใจที่จะกลับไปบอกความจริงที่ตัวเองได้พบ ให้กับเพื่อนเก่า4คนที่อยู่ในถ้ำ แต่ก็กลัวว่าเหตุการณ์ร้ายๆแบบเดิมจะหวนกลับมาอีก หรือตัวเองจะหันไปหามนุษย์ถ้ำๆอื่นเพื่อบอกความจริงที่เขาได้ค้นพบ

            

คำสำคัญ (Tags): #mental model
หมายเลขบันทึก: 503262เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความขัดแย้ง....ในรูปแบบ...ความคิด....ของมนุษย์...น่ากลัวมาก....กว่าความคิดใดๆๆ  (ในมุมมองของP'Ple)

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท