สื่อการเรียนของเด็กไทยที่ต้องทัวร์ทั่วเอเชีย


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชั้นเรียน

(แลกเปลี่ยนในมุมของผู้ปกครอง)

 ระดับชั้นที่สอน

ป.1

วันก่อนผมได้ผ่านไปบนห้างฯ เค้ามีบูทขายสื่อการสอนนะ เป็นสื่อที่ออกแบบให้สัมพันธ์กับการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งหลายที่พอเป็นไปได้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการมองย้อนไปที่ลูกสาวซึ่งเรียนอยู่ ป.1

ในวันจันทร์เราได้ไปส่งลูกคือผมและภรรยา คุณแม่เค้าไปส่งลูกถึงชั้นเรียนแต่ผมเลือกที่จะส่งลูกด้วยสายตาและได้ชื่นชมความร่าเริงของวัยเด็กๆ ที่กระวีกระวาดกันแต่เช้าเพื่อให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครบถ้วนสมบูรณ์

วันนั้นผมได้เห็นภาพทุกภาพล้วนเป็นภาพเดิมๆ คือคุณครูผู้สอนก็มุ่งมั่นตั้งใจที่จะมาโรงเรียนแต่เช้าเพื่อตามข้อตกลงที่ทำไว้กับโรงเรียน ในห้องของลูกสาว ทุกเช้าผมก็จะเห็นลูกไปส่งการบ้านครูจากนั้นก็ไปต่อแถวเรียงคิวอ่านหนังสือตัวต่อตัวกับคุณครู

ด้วยจำนวนเด็กนั้นมีมาก ชั้นละสี่สิบคนได้ การอ่านก็สามารถทำได้บางส่วนเท่านั้น ส่วนที่ตกหล่นในการเข้าถึงคุณครูก็มีเกิดขึ้นเป็นประจำ และที่สำคัญก็คือช่วงนั้นเป็นเวลาที่เร่งรีบ หลายคนมากันแค่ทันเคารพธงชาติ พวกเขาเหล่านี้ก็จะไปต่อแถวเก้อนะ เสียงกริ่งเข้าเรียนจะดังก่อนอยู่ร่ำไป

หากแต่ใจผู้ปกครอง สายตาทุกคู่นั้น ล้วนอยากให้บุตรหลานเป็นคนเก่ง อัจฉริยะกันทั้งนั้น ผมในวันนั้นก็พลันนึกเล่นๆ นะว่า จะดีมากเลยนะเนี่ย หากเราซื้อเจ้าสื่อการเรียนการสอนที่ชุดละสองสามหมื่นบาทนี่มาไว้สอนที่บ้าน แต่จะดีกว่าอย่างมากเลยหากทำที่โรงเรียนแทนเจ้าการเข้าแถวอ่านหนังสือกันน่ะ จากนั้นก็มอบหมายให้คุณครูที่เข้าใจวิธีใช้สื่อเหล่านี้ได้สอนลูกเราไล่ไปทีละบทตามลำดับที่วางแผนไว้ ทำสม่ำเสมอมทุกวัน หากเทอมหนึ่งสามารถที่จะสอนได้เป็นจำนวน 6 ชุด ในเทอมนั้นเด็กๆ ก็ได้เรียนด้วยวิธีที่ดีมากๆ ด้วยสื่อชั้นคุณภาพ ด้วยครูที่เข้าใจวิธีการใช้สื่อ พร้อมทั้งตรวจสอบการเรียนรู้ เมื่อทำได้ดังนี้ เราก็จะได้เด็กที่ได้รับการสอนอย่างดีจำนวนหนึ่ง ในจำนวนตรงนี้แหละที่จะเป็นอนาคตของทุกครอบครัว ในใจของผมก็รู้สึกมั่นใจนะว่า พัฒนาการการเรียนรู้ของลูกในแนวทางอย่างนี้ น่าจะตรงใจกับหลายๆ คน

 และหากเราใช้ระบบอย่างนี้กับทั้งชั้นเรียน โดยทำเป็นกลุ่มพิเศษขึ้นมา เป็นการเรียนพิเศษแบบใช้สื่อคุณภาพจำกัดจำนวนผู้เรียนต่อชั้นให้เหมาะสมต่อการดูแลของคุณครูผู้สอน หากทำได้แบบนี้ เราจะสามารถผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพในจำนวนครั้งละเป็นกลุ่ม การจ่ายค่าเล่าเรียนตรงนี้ก็จะหารกัน ราคาการเรียนก็จะถูกลง คุณภาพนักเรียนก็น่าจะดีมากกว่าแนวทางที่ปฏิบัติจริงๆ ในทุกวันนี้

ในทุกวันนี้ไม่ใช่ไม่ดี หลักสูตรเขียนไว้สมบูรณ์แต่การเคร่งครัดและรับรองคุณภาพยังรอการปรับตัวจากผู้ปฏิบัติรวมทั้งผู้ปกครองด้วย อีกทั้งมีงานรายล้อมผู้สอนที่ไม่เกี่ยวกับหลักสูตรเข้ามาจำนวนมาก ทำให้เวลาในการทุ่มเทให้กับเด็กถูกลดทอนลงไป ซึ่งเหล่านี้คือเรื่องปกติ หากที่ชวนคิด หรือฝันอยากมีก็คือ มุมการเรียนที่แยกออกจากปกติแล้วเติมสื่อการสอนชั้นเลิศลงไปอย่างเป็นระบบ และคิดว่าควรจะเป็นสื่อที่ออกทางสากลหน่อยด้วยเพื่อให้สามารถตอบรับกับการเปิดเสรีต่างๆ ที่ไทยเราทำไว้

 

  1. จำนวนนักเรียนในชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้

สื่อการสอนแบบผสมผสานคือเป็นของที่สัมผัสได้จริงในส่วนที่สามารถจัดได้

ในส่วนของที่ไม่สามารถนำมาให้ชมได้อย่างเช่น ช้างกำลังกินดินโปร่งนี่ก็เป็นภาพวิดีโอ เป็นต้น

และหากต้องอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับการสถานที่ เราเลือกแนะนำจากภาพจริง ณ วินาทีนั้นๆ จากกล้องที่ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต

สรุปคือใช้สื่อสร้างทุกสิ่งทุกอย่างราวกับเรื่องราวเกิดจริงๆ ในขณะนั้นเลย

  1. บทบาทความรับผิดชอบของครูผู้สอนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

- บทบาทของครูตรงนี้ก็ดูจากคุณภาพของการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก นักเรียนควรมีการเรียนรู้ขั้นต่ำอยู่ที่แปดสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เมื่อทำได้แบบนี้ก็จะทราบจำนวนครูแล้วล่ะครับ

  1. การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

- การเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการเรียนรู้จากกลุ่มนักเรียนด้วยกัน การจัดกลุ่มจะต้องคัดเด็กที่สนใจร่วม มีลักษณะส่งเสริมกันเข้ามาเรียนด้วยกัน การเรียนจึงจะสัมฤทธิ์ผล มั่นใจอย่างนั้น

  1. การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

- แจ้งให้ผู้ปกครองทราบอย่างใกล้ชิด

  1. การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

- ใช้แบบทดสอบสากล ในการวัดเป็นประจำตามมาตรฐาน

 

  1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน

- มีประโยชน์มากมาย ได้เรียนรู้กว้างขวางและลึกซึ้งกว่าแต่ก่อน

  1. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน

- ขาดการจัดการการใช้ที่มีประสิทธิภาพ

 

 

หมายเลขบันทึก: 503228เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณเพชร

มาให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

การศึกษาของเด็กๆ สมัยนี้ต่างจากสมัยตอนเราเป็นเด็กมากเลยนะคะ โรงเรียนบ้านนอกที่ปริมเคยเรียนไม่มีอะไรเลยนอกจากหนังสืออ่านวิชาภาษาไทยที่สมัยนั้นมี มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพชร เป็นตัวแสดงนำ แต่เดี๋ยวนี้สื่อการสอนต่างๆ หลากหลายมากจนตามไม่ทันและทึ่งในทางเลือกของผู้บริโภคค่ะ

จึงอยากมาให้กำลังใจคุณเพชรและครอบครัวค่ะ

มีความสุขในทุกวันนะคะ

ขอบคุณคุณปริมครับ..ไม่น่าเชื่อนะครับว่าสื่อการสอนช่างล้าหลังในสมัยก่อน หากแต่คุณปริมนั้นพัฒนาตนเองไปไกลมาก แบบนี้คงไม่ใช่สื่ออย่างเดียวแล้วล่ะที่สำคัญอันดับหนึ่งอ่ะ ต้องมีอย่างอื่นๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ หากคิดได้ตอนนี้คงเป็นคำว่า ปัญญา นะครับ

คุณพ่อน้องหยกค่ะ :) ขอที่อยู่ด้วยนะคะ ทางทีมงาน GotoKnow จะจัดส่ง iPod Nano ไปให้ค่ะ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/504617

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท