การปล่อยหนี้เงินกู้คิดอัตราดอกเบี้ยเกินกำหนดและหนี้นอกระบบ


การปล่อยหนี้เงินกู้คิดอัตราดอกเบี้ยเกินกำหนด, หนี้นอกระบบ, พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕

คำถามการปล่อยหนี้เงินกู้คิดอัตราดอกเบี้ยเกินกำหนดและหนี้นอกระบบ

"คิดกันเล่น ๆ ให้ปวดหัว"

นาย ก.เป็นนายทุน เอาเงินให้ นาย ข.ลูกน้อง ไปปล่อยเงินกู้ โดยทำสัญญากู้เงินกับลูกหนี้โดยตรง อัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี

 

คำถาม

๑.   ใครบ้างต้องรับผิดตาม พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕

๒.   สัญญากู้เงินใช้บังคับได้หรือไม่ เพียงใด

๓.   มีวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างไร

 

ประเด็นวิเคราะห์

        ๑. ทางอาญา       มีความผิดตาม พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาที่ยอมความไม่ได้

        ๒. ทางแพ่ง         สัญญากู้เงินใช้บังคับได้ตามอัตราดอกเบี้ยร้อย ๑๕ ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่าร้อยละ ๑๕ ใช้บังคับไม่ได้

        กู้เงินตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาท ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

        กรณีการกู้ยืมเงินในสัญญาไม่ระบุจำนวนอัตราดอกเบี้ยไว้ สามารถคิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย คือร้อยละ ๗.๕ เท่านั้น

        ๓. นาย ก.           ในฐานะนายทุนเงินกู้ (เจ้าของเงิน) มีความผิดในฐานะใด ตัวการ หรือ ผู้สนับสนุน หรือไม่ อย่างไร

 

แถมให้คิด

        ในสัญญาบัตรเครดิต ซึ่งเป็นสัญญาที่ต้องมีการควบคุมตาม พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ กรณีผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้เรียกเก็บติดตามทวงถาม ซึ่งตามประกาศข้อยกเว้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เรียกเก็บได้ แม้คิดอัตราแล้วเป็นอัตรา  “ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใด” จะสูงเกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี  เพราะกรณีธนาคาร เขาใช้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยคิดดอกเบี้ย ไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

        ท่านเห็นว่า ถูกต้องหรือไม่ เพียงใด เพราะ ข้อยกเว้นดังกล่าวอ้างตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีลำดับศักดิ์กฎหมายที่ต่ำกว่า พรบ. และ ปพพ. มิเช่นนั้นแล้ว พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ย่อมไม่มีความหมาย

 

“มาตรา ๔  ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น

ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น

...........................

(๘) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัดหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการผิดนัดชำระหนี้

(๙) ข้อตกลงที่กำหนดวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร

ในการพิจารณาข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม จะเป็นการได้เปรียบเกินสมควรหรือไม่ ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้โดยอนุโลม

 

อ้างอิง

จงเจริญ  กิจสำราญกุล, “เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นความผิดอาญาแผ่นดินอันยอมความไม่ได้.” สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด. [Online], Available URL :

http://www.025798899.com/2011/article_detail.php?article_id=15


"เปิดแก้หนี้นอกระบบกลาง พ.ย.54นี้."
คมชัดลึก, 16 ตุลาคม 2552. [Online], Available URL :

http://www.komchadluek.net/detail/20091016/32902/เปิดแก้หนี้นอกระบบกลางพ.ย.นี้.html

 

“คลังตื่นแก้กฎหมายเพิ่มโทษเจ้าหนี้นอกระบบปล่อยกู้โหด.” นสพ.โพสต์ทูเดย์, 19 พฤศจิกายน 2552. [Online], Available URL :

http://debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=59:2009-11-19-04-11-18&catid=5:2008-12-16-19-39-25&Itemid=15

 

“ดอกเบี้ยผิดนัด คิดกันอย่างไร.” 11 มกราคม 2554. [Online], Available URL : http://natjar2001law.blogspot.com/2011/01/blog-post_5302.html


"เงินกู้นอกระบบ...แก้อย่างไรให้ตรงจุด." บทความ, โดย เหนือเมฆ 2 (นามแฝง), 7 เมษายน 2554.  [Online], Available URL : 

http://www.siamjurist.com/forums/5093.html


“การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา.” 14 พฤษภาคม 2554.  [Online], Available URL : http://natjar2001law.blogspot.com/2011/05/blog-post_14.html


"ตะลึงคนรัฐวิสาหกิจก่อหนี้นอกระบบอื้อ ยุติธรรมชี้เจ้าหนี้หัวหมอใช้กม.บีบลูกหนี้." ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์, 14 กรกฎาคม 2554.  [Online], Available URL :
http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?NewsID=9540000086532

หมายเหตุ  คำถามดังกล่าวเป็นข้อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต ปี ๒๕๕๓

 

หมายเลขบันทึก: 503116เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2013 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"บทความ เงินกู้นอกระบบ...แก้อย่างไรให้ตรงจุด."

7 April 2554, 14:11 โดย เหนือเมฆ 2

http://www.siamjurist.com/forums/5093.html

 

"แนวทางการต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ."

โพสต์โดยejustice01 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

http://e-justice.moj.go.th/index.php?tp=84

 

 

"ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา."

 

http://www.chusaklaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539372216&Ntype=2

 

 

"เปิดแก้หนี้นอกระบบกลาง พ.ย.54นี้."

 

16 ต.ค. 2552

 

เปิดตัวโครงการแก้หนี้นอกระบบกลาง พ.ย.54นี้ ตั้งเป้าช่วยประชาชน 8 แสนคน โอนหนี้มาเป็นของ 6 แบงก์รัฐ พร้อมแปลงจากหนี้ระยะสั้นเป็นระยะยาว

http://www.komchadluek.net/detail/20091016/32902/เปิดแก้หนี้นอกระบบกลางพ.ย.นี้.html

"ข้อหา ร่วมกันประกอบธุรกิจสินเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด"
 



"รวบแล้วแก๊งเงินกู้พัทยาปล่อยกู้ดอกเบี้ยสุดโหด บุกพังบ้านลักทรัพย์ลูกหนี้ขัดดอก."

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ตุลาคม 2555 11:32 น.

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127079

 


"แก๊งเงินกู้สุดโหด ขาดส่งดอกเบี้ย 2 วัน บุกถล่มบ้านพังเสียหาย."

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 ตุลาคม 2555 10:45 น.

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000126616

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท