เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา...โดย ลูกสายลม


ใช้สื่อสารสนเทศเพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบ

          เทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศสำหรับการศึกษานั้น  ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับคุณครูและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ  แต่ก็จะง่ายสำหรับคุณครูและอาจารย์รุ่นใหม่ ๆ เพราะสื่อเหล่านี้นั้น  ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต  อย่างน้อยก็คือ โทรศัพท์ มือถือ ๑ เครื่อง  อย่างแน่นอนที่จะติดตามเราไปได้ในทุก ๆ ที่  หรือบางท่านก็อาจมากกว่านั้น  ไม่ว่าจะเป็น Notbook , ipad หรืออื่น ๆ อีก

          จากประสบการณ์การเป็นครู ระดับอาชีวะ /ประถมศึกษา และบุคลากรด้านสารสนเทศนั้น  จะขอนำมาอธิบายถึงวิธีการใช้สื่อสารสนเทศในการศึกษาให้ทุกท่านได้ทราบ  เพื่อเป็นหนทางและการเรียนรู้ร่วมกัน

ระดับชั้นที่สอน   ขอเลือกเป็นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

จำนวนนักเรียนในชั้น  ประมาณ  ๑๒๐ คน

เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้  ในการศึกษานั้น  โดยได้แบ่งการทำงานเป็น  ๓ ส่วน 

          ส่วนที่ ๑  การใช้สื่อสารสนเทศในการจัดเก็บชิ้นงานหรือภาระงานของเด็ก  ผ่านระบบ Server ของโรงเรียน  โดยที่นักเรียนในแต่ละห้องสามารถที่จะ Log on เข้าระบบ Server ของโรงเรียนเพื่อส่งงาน  ในช่วงเวลาของแต่ละวัน  และสามารถเข้ามาดูได้ตลอดเวลา   แต่นักเรียนไม่สามารถลบไพล์งานได้  สามารถแก้ไขได้เพียงอย่างเดียว

          ส่วนที่ ๒ การใช้สื่อสารสนเทศในการสอน  สื่อที่ใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนนั้น  ก็คือ Power Point และ Website ต่าง ๆ เช่น www.youtube.com  เป็นต้น 

          ส่วนที่ ๓ การใช้สื่อสารสนเทศหลังการเรียนการสอน  สื่อที่ได้ใช้ก็จะมีหลายรูปแบบครับ ไม่ว่าจะเป็น Fan page ต่าง ๆ เช่น Facebook , Twitter , What app , Line , MSN เพื่อที่จะสามารถสื่อสารต่อเด็ก ๆ ได้  เพราะเด็กบางคนเวลาเรียนไม่พูด แต่พอผ่านสื่อแบบนี้เด็กกับแสดงออกได้ดีนะครับ

บทบาทความรับผิดชอบของครูผู้สอนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

            จุดนี้สำคัญครับ  เพราะคุณครูหรืออาจารย์  ต้องมีบทบาทอย่างมากครับ  ทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน  แต่คุณครูหรืออาจารย์  ไม่ควรนำเรื่องมาคุยให้เด็ก ๆ ทราบทุกเรื่อง  โดยเฉพาะในชั้นเรียน  เพราะเด็กที่ไม่ได้คุยออนไลน์หรือไม่มีความสามารถจะเข้าถึงได้  ก็จะไม่รู้สึกว่าตัวเอง... นะครับ  ฉะนั้นครูหรืออาจารย์ต้องตระหนักให้มาก 

            แม้ว่าสื่อออนไลน์จะมีบทบาทมากในปัจจุบันนี้  ครูและอาจารย์ก็ต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงบางประการในการบริโภคสื่อเหล่านั้นด้วย  ขอยกตัวอย่าง สมมติว่าเราต้องการค้าหาข้อมูลใด ๆ ก็ตาม  เพื่อที่จะสอนเด็ก ๆ ผ่าน Google หรือ Youtube ครูและอาจารย์ต้องอย่าลืมไปว่า  สิ่งที่ครูและอาจารย์กำลังนำเสนอเด็ก ๆ นั้น  เป็นข้อมูลด้านเดียว หรือเป็นข้อมูลของบุคคลคนหนึ่งเท่านั้น  เพราะว่าข้อมูลที่ครู อาจารย์ และนักเรียนบริโภคอยู่นั้น  เป็นเพียงการแสดงออกของผู้ที่ต้องการนำเสนอเท่านั้น  โดยข้อมูลไม่ได้เป็นการผ่านการวิจัยหรืออยู่ในระดับที่จะสามารถนำมากล่าวอ้างได้  ถ้าจะกล่าวอ้างหรืออ้างอิง ก็ควรจะเป็นสื่อออนไลน์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เช่น  Wikimedia เป็นต้น

          ปัญหาก็คือ  ครูและอาจารย์บางท่าน  มักจะบอกเด็ก ๆ ว่า ครูหรืออาจารย์ที่รู้ทุกอย่าง  เมื่อเราสงสัย คือ ครู Google  และครู Youtube การกล่าวอย่างนี้  อาจเป็นการกล่าวที่ถูกต้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เพราะครูและอาจารย์  เมื่อจะสอนเด็ก ๆ ทุกคน ควรที่จะต้องมีบทบาทในการรับผิดชอบที่ดีกว่านี้  คือ ให้ในสิ่งที่ถูกต้อง เชื่อถือได้  และเด็ก ๆ สามารถที่จะสื่อสารสิ่งที่ถูกต้องต่อไปได้ในอนาคต 

สื่อต่าง ๆ ที่ออกมาในปัจจุบันนี้  อาจเป็นเพราะว่ามีผู้ที่ต้องการปล่อยออกมา  หรือ เป็นเพราะผู้ปล่อยไม่ได้ตั้งใจ  หรือเป็นเพราะต้องการจะให้คนอื่นเสียก้ได้  การบริโภคสื่อต่าง ๆ เมื่อเรายังไม่สามารถแยกได้  เวลาสอนเด็ก ๆ ก็ควรที่จะนำแต่สื่อที่ดี ๆ ให้แก่ตัวเด็ก ๆ

          ส่วนตัวนะครับ  เวลาอยู่ในชั้นเรียน  ผมจะใช้สื่อสารสนเทศ โดยเฉพาะเว็บไซด์กรณีที่ต้องการให้เด็กได้เห็นรูปภาพ  ตามที่เราพูดนะครับ  ส่วนการบรรยายก็จะผ่านทาง Power Point หรือไม่ก็ Projector เป็นส่วนมากนะครับ

การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

            ทางออนไลน์ผมก็จะถามเด็ก ๆ ว่าวันนีเรียนวิชาอะไรมาบ้าง  เข้าใจกี่วิชา  และไม่เข้ากี่วิชา  เพราะอะไรถึงไม่เข้าใจ  ส่วนมากก็จะเป็นการสอบถามเด็ก ๆ มากกว่านะครับ  เพื่อให้เด็กได้รับรู้ว่า  มีครูหรืออาจารย์ที่ยังเป็นห่วงเขานะครับ

          ในชั้นเรียนก็จะเป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เปิดโลกทรรศน์ในการท่องเว็บไซด์ที่น่าสนใจ  อาจนำมาบอกเพื่อน ๆ ในชั้นได้รับรู้  แต่การกระตุ้นก็ต้องเป็นสิ่งที่นักเรียนสนใจอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง  ไม่งั้นเด็ก ๆ ก็จะลืม  และบอกนักเรียนว่า  ถ้าเราสนใจเว็บไซด์เราควรมีวิธีจัดเก็บหน้าเว็บไซด์ไว้  หรือไม่ก็ควรจดบันทึกเว็บไซด์ไว้  เพื่อที่ครั้งหน้าเราจะได้สามารถหาข้อมูลเดิมได้

การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

          การประเมินผลนั้น  ผมคิดว่าถ้าเด็กสามารถใช้งานได้ในเวลาปรกติ  และในเวลาที่มีข้อสงสัยเด็ก ๆ ก็สามารถที่จะหาข้อมูลได้  ผมก็คิดว่าน่าจะผ่านนะครับ

          เพราะสื่อสารสนเทศนั้น  มีประโยชน์ต่อบุคคลที่เข้าใจการเป็นไปของระบบ  ถ้าเราใช้สื่อเป็น  โดยที่ไม่ใช่สื่อใช้เรา  ผมก็คิดว่า  สิ่งนี้ถึงจะเป็นประโยชน์อย่างมากนะครับ  เนื่องจากว่าหลาย ๆ ท่าน ใช้สื่อไป  กลายเป็นว่า  สื่อนั้น  ถ้าเราไม่เล่น  เราก็จะรู้สึกไม่สบายตัวนะครับ  ฉะนั้นเราก็ควรใช้สื่อให้เป็นนะครับ  เพราะว่าเราจะได้สอนการใช้สื่อนั้นให้เด็ก ๆ ได้เป็นด้วย

ขอขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลาในการอ่านนะครับ

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 503111เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากค่ะ  ครูผู้สอนภาษาอังกฤษอย่างครูอ้อยขอรับคำชี้แนะไปปรับใช้สอนด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอขอบคุณ สำหรับการที่ให้กำลังใจผ่าน Comment และการปลอบประโลนใจผ่านการให้ดอกไม้นะครับ

ขอขอบคุณทิมดาบ คุณจัตุเศรษฐธรรม คุณ tuknarak คุณชยพร แอคะรัจน์ และคุณ ครูอ้อย แซ่เฮ

ขอบคุณจริง ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท