ความรักที่ยิ่งใหญ่ ที่มากกว่าความตายที่อยู่แค่เอื้อม


           เมื่อเช้านี้ชลัญนั่งซักประวัติที่แผนกผู้ป่วยอก นั้น ได้พบกับความรักที่บริสุทธิ์ ของคนเป็นลูกที่มีต่อพ่อ แม้ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม ซาบซึ้งใจจริง จึงอยากเอามาเล่าต่อ บอกเลยว่าขอกราบหัวใจเธอจริงผู้หญิงคนนี้

            ระหว่างที่ชลัญนั่งซักประวัติคนไข้อยู่นั้น มีโทรศัพท์  จาก แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลพิมายว่า มี หญิงตั้งครรภ์  อายุครรภ์ 36 สัปดาห์  3 วัน  นั้น มีภาวะความดันโลหิตสูงเกิดขึ้น  คือ ความดันโลหิตอยู่ที่ 140/100 mmHg  ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า Pre-eclampsia ซึ่งเป็นภาวะนำไปสู่ eclampsia  ซึ่งอันตรายทั้งแม่และลูก  เป็นสาเหตุของการตายของมารดาและทารก ที่สำคัญทีเดียว  ซึ่งชลัญคิดว่า ภาวะนี้ที่เป็นสาเหตุการตายของ “นางนาก”ในแม่นาคพระโขนง  นั่นเอง ใช่หรือไม่ก็มิรู้เพราะเกิดไม่ทันเดาเอาน่ะ

            เมื่อ detect คนไข้ได้แล้ว ชลัญก็รีบส่งผู้ป่วยเข้าห้อง นพ.ชาญศักดิ์  คงเศรษฐกุล  อายุรแพทย์ประจำโรงพยาบาลพิมาย (เจ้าของ web http://www.phaimaimedicine.org)หายเข้าไปในห้องแพทย์สักพัก  แพทย์ออกมาบอก

            “ โจ้ ช่วยคุยให้ผม หน่อย คนไข้ไม่ยอมนอน รพ.นี่ อันตรายด้วย”

            ชลัญก็ใจหายแว๊บ  อ๊าย...ไม่นอนได้ไง  ภาวะนี้ขนาดเกิดในโรงพยาบาลยังช่วยชีวิตแทบไม่ทัน  แล้วนี่จะกลับไปบ้านไม่รู้หรือไงว่าอันตรายแค่ไหน  จากนั้นชลัญจึงรับคนไข้มาคุยต่อ  ได้ความว่า

            “ ห่วงพ่อ  พ่อป่วยอยู่ที่บ้าน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถ้าตนไม่อยู่ไม่รู้ใครจะทำให้  พี่น้องคนอื่นไปอยู่ต่างจังหวัดหมด  สามีก็ทำงานอยู่ในตัวจังหวัด ลูกอีกคน 8 ขวบไป โรงเรียน  ถ้าตนไม่อยู่ พ่อกับลูกใครจะดูแล “ จากนั้นก็ร้องไห้

            ชลัญถามไม่รู้หรือว่าอันตราย ผู้ป่วยตอบ “รู้ แต่ไม่มีทางเลือก  ยังไงก็ต้องกลับในวันนี้ ”

            นั่งคุยอยู่สัก ครึ่งชั่วโมงจนชลัญถอดใจ บอกเอางี้  นอนดูอาการ ถึง บ่ายสองหากความดันโลหิตลดลงจะให้กลับ  ซึ่งตอนนี้เป็นเวลา  10.45 น.  ชลัญรู้ว่ายังไงก็ไม่ลดลงหรอก  แต่ขอคิดหาทางช่วยเท่านั้นเอง  ผู้ป่วยยินยอม 

            ระหว่างที่คิดหาคนทางอยู่นั้น  ชลัญสังเกตเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินเข้าไปคุยกับผู้ป่วย ซึ่งนอนดูอาการอยู่บนรถนอน ใกล้ๆกับชลัญ  จึงเดินไปถามทราบว่า อยู่หมู่บ้านเดียวกัน 

            ชลัญพบทางออกแล้ว  ... จึงเข้าไปคุยขอร้องให้ ช่วยดูแลห่วงที่บ้านคนไข้ให้หน่อย  สักวัน สองวันเพื่อโทรตามญาติที่อยู่ต่างจังหวัดมาแทน  หญิงนั้นรับปาก  คนไข้หมดกังวล   ยินดีนอน รพ. โล่งใจทั้งแพทย์พยาบาล เฮ้ย...........

            ..........................................................................................................

            ความรักนี่มันยิ่งใหญ่จริง แม้รู้ว่า ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม  แต่กลับไม่กลัวสักนิด  ยอมไปเผชิญหน้า แบบไม่กลัวเสียเลย  อยากกราบหัวใจเธอจริงผู้หญิงคนนี้ ที่มีความรักอันยิ่งใหญ่   ที่มากกว่าความตายที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม

 

ชลัญธร   ตรียมณีรัตน์

 

 

  Pre-eclampsia  หมายถึง

                ความดันโลหิตสูง (1): หมายถึงความดันโลหิต systolic ที่มีระดับ 140 หรือ diastolic 90 มม.ปรอทขึ้นไป ซึ่งได้จากการวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากการพัก
n   การมีความดัน systolic เพิ่มขึ้น 30 มม.ปรอท หรือ ความดัน diastolic เพิ่มขึ้น 15 มม.ปรอท เป็นอาการแสดงเตือนที่ต้องติดตามใกล้ชิด (แต่ไม่ถือว่าเป็นเกณฑ์การวินิจฉัย PE เหมือนที่เคยใช้กันมาในอดีต(2)
n   โปรตีนในปัสสาวะ (1): หมายถึงการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ 300 มก.ต่อวันขึ้นไป (+1) หรือ 1 กรัมต่อลิตร หรือมากกว่าในปัสสาวะที่เก็บเป็นครั้งคราว ซึ่งต้องเก็บห่างกัน 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า การทดสอบด้วย dipstick สัมพันธ์กับค่าที่เก็บตรวจทั้ง 24 ชั่วโมงได้ไม่ดีนัก(3-5) ค่า dipstick +1 จะทำนายค่าโปรตีนใน 24 ชั่วโมง 300 มก.ต่อวันขึ้นไป ประมาณร้อยละ 53-86(3) อย่างไรก็ตามค่า 3+ และ 4+ มีประโยชน์มากกว่า ช่วยบ่งชี้ความรุนแรงได้ดี คือกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มนี้มีระดับโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน(5)

Eclampsias  หมายถึง

                หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์(PIH) ที่มีความรุนแรงจนเกิดอาการชักขึ้น เชื่อว่าการหดเกร็งของเส้นเลือดในสมองอาจทำให้ขาดเลือด และทำให้ชัก มักจะเกิดขึ้นกับรายที่เป็น severe PIH มาหลายวัน หรือรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แต่ mild PIH ก็อาจกลายเป็น eclampsiaได้ แม้จะน้อยรายก็ตาม ร้อยละ 10 ของการชักเกิดขึ้นก่อนมีโปรตีนในปัสสาวะชัดเจน ประมาณร้อยละ 52 เกิดในระยะก่อนคลอด ร้อยละ 35 เกิดในระยะคลอด และร้อยละ 13 เกิดหลังคลอด อุบัติการในประเทศทางตะวันตกพบ 1:1000 -1:1500 ของการคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบ 1:1876 ของการคลอด(1)
ลักษณะทางคลินิก มีดังนี้
                อาการนำ ก่อนชักจะมีอาการนำมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องตรวจหาอาการเหล่านี้ ซึ่งได้แก่
เจ็บที่ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวารุนแรง (เชื่อว่าเกิดจากการตึงขยายของแคปซูลของตับ หรือเลือดออกใต้แคปซูล
ปวดศีรษะมาก (throbbing) มักปวดแถว frontal แต่ occipital ก็พบได้
อาการผิดปกติทางสายตา ตาพร่ามัว มองไม่ชัด
อาเจียน
ตื่นตัวทางระบบประสาท เช่น hyperreflexia
อาการชัก
ระยะเริ่มต้น (invasion): เริ่มกระตุกที่บริเวณใบหน้า ริมฝีปากเบี้ยว
ระยะเกร็ง (tonic): อาการตัวแข็งเกร็ง แขนงอ มือกำแน่น ขางอพับบริเวณเข่า
ระยะชักกระตุก (clonic): ชักกระตุกทั่วร่างกาย ขากรรไกรล่างอ้าออกและหุบเข้า อาจกัดลิ้นตัวเอง แขนขากระตุกอย่างแรง ทำให้ผู้ป่วยตกเตียงได้ กินเวลานานประมาณ 60 วินาที
ระยะฟื้น (recovery): จากนั้นผู้ป่วยจะนอนนิ่งแล้วค่อย ๆ รู้สึกตัว ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะชักซ้ำในเวลาที่ถี่ขึ้น ภายหลังชักผู้ป่วยหายใจเร็ว เนื่องจากการคั่งของกรดแลคติค บางรายอาจมี cyanosis พบโปรตีนในปัสสาวะทุกราย
รายที่เสียชีวิตทันทีมักเกิดจากเลือดออกในสมอง หรือปอดบวมน้ำและหัวใจล้มเหลว

อ้างอิง http://surinobs.igetweb.com/index.php?mo=3&art=440079

หมายเลขบันทึก: 503082เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 06:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ในสถานการณ์แบบนี้ น่าลำบากใจแทนนะคะ ความเป็นห่วงมักทำให้คนเราลืมชีวิตตนเอง หากไม่ได้คุณพยาบาลที่ห่วงคนไข้อย่างจริงใจ คิดหาทางออกให้ โศกนาฎกรรมก็เกิดขึ้นได้จากการมองข้ามความตายนี้ไป
  • เป็นการทำงานที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา น่ายกย่องมากค่ะ

คูณ พบ. ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมเลยครับ...ชื่มชม .....:):)

ความรัก...ความตาย...และความงดงามของคนทำงานเล็กๆ...อย่างคุณชลัญ....มากกว่าคำว่า...ชื่นชมครับ

ปลอบใจและหาทางออกช่วยคนไข้ได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

 

ชื่นชมวิธีการแก้ปัญหาของคุณชลัญค่ะ ทำงานด้วยใจรักจริงๆ ผลออกมาเลยน่าชื่นชมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณน้องชลัญ ที่ช่วยเสนอทางเลือก ทางแก้ไขให้คนไข้

 

เข้าใจความรู้สึกนี้ค่ะ..แม้ไม่ป่วยเอง..ยังอยากป่วยแทนคนที่เรารัก..แลกชีวิตของเราไปแทนเขา..เคยคิดแบบโลกๆๆที่ยังไม่เข้าถึงธรรม..

 

  • คนไข้มีหลายแบบ
  • แต่บางทีมีทางเลือกน้อย
  • มีภาระต้องทำ
  • มีความจำเป็นมากๆ
  • “ ห่วงพ่อ  พ่อป่วยอยู่ที่บ้าน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถ้าตนไม่อยู่ไม่รู้ใครจะทำให้  พี่น้องคนอื่นไปอยู่ต่างจังหวัดหมด  สามีก็ทำงานอยู่ในตัวจังหวัด ลูกอีกคน 8 ขวบไป โรงเรียน  ถ้าตนไม่อยู่ พ่อกับลูกใครจะดูแล “
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท