ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 7 (คุยแทรก เรื่องหนักๆ และเรื่องเบาๆ)


-พยางค์หนัก และเบา

-เสียงก้อง และไม่ก้อง

 

ตอนแรก ตั้งใจจะเล่าหลายเรื่อง แต่ทราบว่ามีผู้อ่านหลายท่านติดตามอ่านอยู่ และบางท่านสนใจอ่านแต่ไม่มีเวลาได้ศึกษาเขียนอ่านเต็มที่ จึงน่าจะได้ทยอยเล่าไปทีละน้อย และอาจเล่าซ้ำๆ บ้าง เพราะผมเชื่อว่า การได้อ่าน/ได้ยินซ้ำๆ จะช่วยให้จำได้ดี เพราะฉะนั้นถ้ามีที่พูดซ้ำ ไม่ใช่ลืม แต่ตั้งใจครับ J

 

ผมใส่ตัวหนังสือไว้ 3 แบบ เพื่อผู้เรียนจะได้คุ้นเคย เพราะแต่ละตำรานิยมใช้ตัวหนังสือแตกต่างกัน...

 

1. พยางค์หนักและเบา

            ในภาษาไทย พยางค์หนึ่งจะบอกด้วยสระที่เป็นแกนของพยางค์ อาจมีตัวสะกด หรือไม่ก็ได้ เช่น ชมรม (สองพยางค์ ชม-รม) ประชาชน (สามพยางค์ ประ-ชา-ชน) ดนตรี (สองพยางค์ ดน-ตรี) ทั้งนี้เพราะมีหลักเรื่องการออกเสียงควบกล้ำมาเกี่ยวข้องด้วย พูดมากไปก็จะยิ่งซับซ้อน ไปดูภาษาสันสกฤตกันเลยดีกว่า

            1) การแบ่งพยางค์ตามนักไวยากรณ์อินเดีย ถือว่า แต่ละพยางค์มีสระตัวเดียว และจบด้วยสระ หรือ วิสรรคะ หรือ อนุสวาร ยกเว้นเมื่ออยู่ท้ายคำ (เมื่ออยู่ท้ายคำอาจสิ้นสุดด้วยพยัญชนะได้ เช่น ราชนฺ แยกเป็น รา-ชนฺ) ดังเช่น

अहं रुद्रेभिर्वसुभिश्चराम्यहमादित्यैरुत विश्वदेवैः |

อหํ รุทฺเรภิรฺวสุภิศฺจรามฺยหมาทิตฺไยรุต วิศฺวเทไวะ.

ahaṁ rudrēbhir vasubhiś carāmy aham ādityair uta viśvadēvaiḥ.

       (ให้สังเกต การแยกคำของอักษรโรมัน ซึ่งจะแยกตามคำ เท่าที่จะทำได้ แต่อักษรไทยจะเขียนตามเทวนาครี)

 

การแยกพยางค์เป็นอย่างนี้

अ  हं रु  द्रे  भि  र्व  सु  भि  श्च  रा  म्य  ह  मा  दि  त्यै  रु  त वि  श्व  दे  वैः

อ หํ รุ ทฺเร ภิ รฺว สุ ภิ ศฺจ รา มฺย ห มา ทิ ตฺไย รุ ต วิ ศฺว เท ไวะ.

a haṁ ru drē bhi rva su bhi śca rā mya ha mā di tyai ru ta vi śva dē vaiḥ

ทุกพยางค์จะจบด้วยสระ เช่น อ, รุ, ภิ,  จบด้วยวิสรรคะ เช่น ไวะ, หรือจบด้วย อนุสวาร เช่น หํ

       ส่วนพยัญชนะต้น อาจมีหลายตัว เป็นสังโยค ก็ได้ เช่น มฺย, ศฺว, ทฺเร ...

       *บางท่านอาจสงสัย ไวะ ออกเสียงอย่างไร, คำนี้ออกเสียง ไวหิ (หิ เบาๆ)

 

            2) ภาษาสันสกฤตแบ่งพยางค์เป็นเสียงหนัก เรียกว่า คุรุ (บาลีว่า ครุ) และเสียงเบา เรียกว่า ลฆุ (บาลีว่า ลหุ) ซึ่งก็คล้ายๆ ในวิชาภาษาไทย โดยมีเงื่อนไขดังนี้

            ก) พยางค์ คุรุ (หนัก) คือ ก. พยางค์ที่มีสระเสียงยาว ข.พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นตามด้วยพยัญชนะมากกว่า 1 ตัว(พยัญชนะซ้อน หรือสังโยค) เรียกว่า พยางค์หนักโดยตำแหน่ง (วิสรรคะ และอนุสวาร ถือเสมือนเป็นพยัญชนะเต็มตัว) เช่น อาจารฺย มีพยางค์เสียงหนัก (คุรุ) คือ อา-จา

            ข) พยางค์ ลฆุ (เบา) คือ พยางค์ที่มีสระเสียงสั้น ไม่มีพยัญชนะซ้อนตามมา (หรือมีพยัญชนะตามมา 1 ตัวในกรณีท้ายคำ) ดังในคำ อาจารฺย พยางค์เสียงเบา (ลฆุ) คือ รฺย

 

2. เสียงก้องและเสียงไม่ก้อง

         เสียงก้อง (ชื่ออื่นๆ : โฆษะ, นาท, voiced, sonant, ) และเสียงไม่ก้อง (ชื่ออื่นๆ : อโฆษะ, สฺวาส, voiceless, surd) เป็นศัพท์ทางภาษาศาสตร์ หมายถึง การบอกลักษณะเสียงที่เปล่งออกมาแล้ว เส้นเสียงสั่นมาก(เสียงก้อง) หรือสั่นน้อย(เสียงไม่ก้อง) หากสนใจให้หาอ่านตำราด้านภาษาศาสตร์เพิ่มเติมนะครับ มีศัพท์เรียกแตกต่างกันไป โดยทั่วไปก็เรียก voice(voiced), voiceless นี่แหละ แต่ตำราเก่าๆ ว่า sonant, surd ก็มี

         **เสียงก้องไม่ก้อง มีผลต่อการสนธิ จึงต้องเรียนเสียตรงนี้ก่อน**

         วิธีจำนั้น ง่ายมาก  1. สระทุกตัวเป็นเสียงก้อง 2. พยัญชนะบางตัวเป็นเสียงก้อง ...

 

         ถ้าจำผังพยัญชนะได้ ก็จำเสียงก้อง/ไม่ก้องได้

         พยัญชนะวรรค (เรียงลำดับเหมือน ก เอ๋ย ก ไก่ ของไทย แต่ไทยเรามาแทรกพยัญชนะบางตัว)

ไม่ก้อง

ก้อง

 

         พยัญชนะนอกวรรค

ก้อง

ไม่ก้อง

ย ร ล ว

ศ ษ ส

 

* (ฬ เป็นเสียงก้อง, แต่ไม่นับ เพราะไม่ใช้ในภาษาสันสกฤตแบบแผน มีใช้ในภาษาพระเวท อ่านเพิ่มเติม ภาษาสันสกฤต มีพยัญชนะกี่ตัว?)  

** อักษร ห เสียงที่ปรากฏเป็นเสียงไม่ก้อง แต่จัดเป็นเสียงก้องโดยเทคนิค เพราะถือเป็นมรดกตกทอดมาจากเสียงก้องแต่โบราณ (ฆ gh, ธ dh เป็นต้น) ทำให้การเปลี่ยนเสียงที่เกี่ยวข้องกับ ห ตัวนี้เกิดขึ้นเหมือนกับเกี่ยวกับข้องพยัญชนะเสียงก้องตัวอื่น

 

สองเรื่องไม่ยาว ถ้าสอนในห้องเรียนคงใช้เวลา 10-15 นาที แต่อ่านเอง ก็ใช้เวลาเป็นธรรมดา

ทบทวนให้ดี ก่อนจะขึ้นเรื่องใหม่...

 

หมายเลขบันทึก: 503003เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2012 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีเรื่อง เบา (ลหุ) แล้ว ก็ต้องมีเรื่อง หนัก (ครุ) นี่เอง  :)

ดีคะ จะได้พักบ้าง อิอิ และเอาของเก่ามาอ่านด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท