การเขียนเค้าโครงการวิจัยอย่างไร.....จึงจะได้รับการอนุมัติทุนอุดหนุน (วช.)


สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาเขตพะเยา ส่วนห้องเรียนเชียงรายและวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยากรได้เสนอแนะว่าส่วนของคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เรื่องที่ควรนำมาเขียนเป็นอย่างยิ่งคือกลุ่มเรื่องที่อยู่ในชุดที่ 2 เรื่อง ความมั่นคงและวัฒนธรรมของชาติและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล กลุ่มเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้ และกลุ่มเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพราะว่าเป็นกลุ่มเรื่องที่สอดคล้องกับปรัชญา เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และที่สำคัญอย่างยิ่งที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือจะต้องสอดคล้องกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น

การเขียนเค้าโครงการวิจัยอย่างไร.....จึงจะได้รับการอนุมัติทุนอุดหนุน (วช.)

          วิทยาเขตพะเยา ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์ โดยท่านพระครูศรีวรพินิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พะเยา ได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการตามอัธยาศัยเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เรื่อง “อบรมเชิงปฏิบัติการเขียนงานวิจัยแก่คณาจารย์”  ณ ห้องศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา  วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555 ในการนี้ ทางวิทยาลัยสงฆ์ได้นิมนต์พระมหาสุทิตย์  อาภากโร,ดร.  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรยายเรื่อง “ทิศทางการทำวิจัยเพื่อก้าวสู่ประชาอาเซียน”

          ผู้เขียนจะสรุปประเด็นสำคัญที่วิทยากรได้พูดถึงการเขียนเค้าโครงการวิจัยที่จะเสนอขอทุนอุดหนุนที่จะได้รับการอนุมัติจะต้องเขียนในลักษณะอย่างไร ประเด็นที่จะเขียนงานวิจัยจะต้องสอดคล้องที่มุ่งเป้าหมายตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ จำนวน 2 ชุด    ชุดที่ 1 แบ่งออกเป็นจำนวน 11 กลุ่ม คือ

           1.ข้าว  2. มันสำปะหลัง   3. ยางพารา 4. ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  5. การบริหารจัดการท่องเที่ยว  6. สุขภาพและชีวเวชศาสตร์  7. อ้อยและน้ำตาล 8. อาหารเพื่อความมั่นคง 9. สานเกลียวคู่นวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย 10. เกษตรพื้นที่สูง 11. ปาล์มน้ำมัน

ชุดที่ 2 แบ่งออกเป็นจำนวน 9 กลุ่ม (กลุ่มเร่งด่วน)  คือ

          1.การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 2. ความมั่งคงและวัฒนธรรมของชาติและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3. ด้านภาวะโลกร้อนและงานนโยบายพลังงานทางเลือกเพื่อลดภาวะโลกร้อน 4. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ 5. สังคมผู้อายุ 6. การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร 7. พัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าผลผลิตด้านสัตว์เศรษฐกิจ 8.เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม 9. การปฏิรูปการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้

           สำหรับขั้นตอนต่อไปนี้ ก็เป็นขั้นตอนการเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project) ประกอบการเสนอของบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ  2556 – 2557 เพราะฉะนั้นผู้เสนอของบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะต้องเขียนแบบเสนอโครงการวิจัย ตามแบบของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเท่านั้น คือ แบบ วช. 1 อ/วช. 1 ด  ถ้าผู้เขียนงานวิจัยไม่เขียนตามแบบให้ครบถ้วน สำนักงานวิจัยแห่งชาติ โดยมีคณะกรรมการพิจารณา จะไม่พิจารณาอนุมัติทุนอุดหนุนงานวิจัยของท่าน

          สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาเขตพะเยา ส่วนห้องเรียนเชียงรายและวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยากรได้เสนอแนะว่าส่วนของคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เรื่องที่ควรนำมาเขียนเป็นอย่างยิ่งคือกลุ่มเรื่องที่อยู่ในชุดที่ 2 เรื่อง ความมั่นคงและวัฒนธรรมของชาติและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล กลุ่มเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้ และกลุ่มเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพราะว่าเป็นกลุ่มเรื่องที่สอดคล้องกับปรัชญา เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และที่สำคัญอย่างยิ่งที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือจะต้องสอดคล้องกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น

          สำหรับกำหนดการส่งเค้าโครงงานวิจัยประจำปีงบประมาณ 2556 – 2557 กำหนดส่งภายในวันที่ 25 กันยายน 2555 เท่านั้น และจะเมินโครงการประมาณวันที่ 5 – 6 ตุลาคม 2555 กรอบการพิจารณางบประมาณจำนวน 20 ล้าน ส่วนของวิทยาเขตพะเยาจะต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2556 – 2557 ไม่น้อยกว่า 7 โครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ปีงบประมาณ ปี 2556  เพิ่มประมาณ 3 โครงการ และปีงบประมาณ 2557  เพิ่มอืก 4 โครงการ ซึ่งจะสอดคล้องหรือเกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยและในส่วนของ สมศ. ส่วนของ สกอ. ที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา อย่างไรก็ตามทางผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทุกหน่วยงานและทุกสำนักงานจึงมีนโยบายและมีคำสั่งให้คณาจารย์เจ้าหน้าที่เขียนงานวิจัยให้เพิ่มมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมีงบประมาณส่วนหนึ่งสนับสนุนในการเขียนงานวิจัย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คณาจารย์มีกำลังใจในการที่จะเขียนงานวิจัยเพื่อเสนอขอผลงานทางวิชาการในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ต่อไป.

 

หมายเลขบันทึก: 502121เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

..น่าจะ มี.หรือให้ โอกาศ..กับ ภาค..ประชาชน บ้าง.นะ..(ยายธี)

ขอบคุณความรู้ใหม่ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท