โครงการ กิ๋นอ๋อผญ๋า


 การกิน อ้อผญ๋า

 คือ พิธีกรรมของคนล้านนา เมื่อจะมีการเรียนวิชาคาถาอาคม หรือเรียนวิชาการต่าง ๆ จะมีการกินอ้อผญ๋า เพื่อให้บังเกิดสติปัญญาและความจำในการเรียนวิชานั้น

 ต้นอ้อ ต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ ลำต้น เป็นปล้องแข็ง ใบเรียวเหมือนต้นแขมหรือหญ้าคา มีดอกสีขาว เวลาบานจะเป็นปุยนุ่นแผ่กระจายสวยงาม แพร่พันธุ์และแตกกอได้ง่าย ตายยาก 

คำว่า อ้อ อ่องอ้อ เป็นคำที่หมายถึง สติปัญญา มันสมอง

การทำอ้อผญ๋านั้นมีวิธีคร่าว ๆ ดังนี้

 นำต้นอ้อหลวงที่ขึ้นตามแม่น้ำนำมาตัดเป็นปล้อง ให้มีความยาว เท่ากับ 1 นิ้วมือของศิษย์ หรือประมาณ 5-6 นิ้ว

 เทน้ำผึ้งลงในขันหรือถ้วย จากนั้นท่านผู้เป็นอาจารย์จะร่ายคาถา เสกลงในน้ำผึ้ง เรียกว่ามนตร์น้ำผึ้ง กรอกน้ำผึ้งบรรจุในกระบอกอ้อ ให้ศิษย์ดื่มน้ำผึ้งจากกระบอกอ้อนั้น

 เมื่อดื่มน้ำผึ้งจนหมดแล้วอาจารย์จึงให้ลูกศิษย์บีบ หรือขบกระบอกอ้อจนแตกแล้วโยนทิ้งทางด้านหลังข้ามศีรษะไป การขบอ้อไห้แตกนั้นหมายถึงการทำไห้ปัญญาแตกฉาน

การกินอ้อมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 

อ้อผญ๋า กินเพื่อให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด 

อ้อมหาเสน่ห์ กินแล้วมีเสน่ห์ ถูกตาต้องใจผู้คนพบเห็น ทำให้มีอำนาจในตัวเอง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อ้ออำนาจ 

อ้อจำ หรือ อ้ออาจิณจำ เมื่อกินแล้วทำให้มีความจำเป็นเลิศ ไม่หลงลืม 

อ้อพูด หรือ อ้อเว้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับวาทศิลป์ มีสำนวน คารมคมคาย พูดเก่ง พูดคล่อง ฟังแล้วชวนประทับใจ

 ตำราอ้อปัญญา จากปั๊ปสาตำราเดิม ของดีบ่าเก่าสืบไว้เมินนักแก

 ให้ตั้งขันครูแล้วไปเอาไม้อ้อมาปล้องหนึ่งปล้องที่ตรงไม่อยู่ใต้ต้นไม้หรือสะพาน บอกกล่าวให้ดีเสียก่อนตัดอ้อให้ยาวเท่ากับสามข้อมือนิ้วกลางของผู้ที่จะกินใส่น้ำผึ้งลงไป เชิญครูอ้อมาลงเสก เสกด้วยคาถาอ้อปัญญา ๓ จบแล้วเอาน้ำผึ้งในกระบอกอ้อกิน กินหมดแล้วขบอ้อให้แตก แล้วขว้างกระบอกอ้อข้ามหัวไปตกทางด้านหลังจะร่ำเรียนอะไร ก็จะมีปัญญาดีนักแล จะเป็นนักเพลง นักกลอนก็จะมีปัญญาปฏิภาณอันลึกซึ้งและรักใคร่แก่คนทั้งหลาย

 สาธุโอกาสะผู้ข้าขอยอขันพระพุทธโสภา ขอเชิญอ้อทั้งร้อยแปดเป็นเก๊า เทียนธูปหอมมาลาเชิญอ้อเจ้าลงมาผู้ข้ายอขึ้นดาแต่งไว้ เชิญอ้อไท้องอาจสัพพัญญูขอหื้อผู้ข้าได้โปรดสัตว์ในชมพูมนุษยโลก หื้อพ้นโอฆะสงสารถึงเนรปานเป็นที่แล้ว ขอเชิญอ้อแก้วองค์งาม นาโคหื้อมาสอนตนตัวหัวคิงแห่งข้าอ้อตัวหนึ่งชื่อว่า ยะอังอ้อตัวหนึ่งชื่อว่า สะอังอิ อ้อทั้งหลาย ห้าพระองค์นี้จุ่งเสด็จเข้ามาอยู่ในตนตัวหัวคิงแห่งข้าโอมพุทธปัญญา ธัมมะปัญญาสังฆะปัญญา พุทธา สวาหุม ฯ ( เป็นคาถาคำยอคุณขันอ้อปัญญา)

 สิทธิการิยะยันตุ ยันตุ ข้าไหว้แก้ว ยอดเจดีย์ ขอเชิญเจ้ายอด อิตถี ปัญญาดีอยู่เมืองฟ้า ลงมาขี่ม้าและเกวียนคำขออัญเชิญเจ้าแกว่ง วิงวอน วิงวอน คิงเจ้าอ่อนเพียงดั่งคำแดงขออัญเชิญเจ้าลงมา แกว่งลีลาข้างกำขวาขออัญเชิญเจ้าลงมาแกว่งลีลา ข้างกำซ้าย กันว่าผู้ข้าได้ปากเจ้าปัญญาไหลออกมาสนสน ในเมืองคนบ่มีไผเผียบเทียบเจ้าได้ขออัญเชิญเจ้าลงมาสวดไว้ปานธรรมไทย ปัญญาไวไหลออกมาแจ้ว แจ้วเป็นดั่งน้ำบ่อแก้วแผ่นธรณีขออัญเชิญเจ้าปัญญาดี ลับปัญญาหื้อแม่น กันผู้ข้าได้แล้ว ขออย่าลืมโอมสวาหุมติด

 โอมพุทโธ สวาหุมติดพญาระถัง พญารัตตะนัง พญาโอภาจิตติจิตตัง สหพันธะนังสหสิทธิสวาหุมอุ่งสุระสะตี่ตะวาตัสสะมะมะ ปิยัง มหาลาภัง สัพพะกากาลัง สัพพะพญานัง ราชาอิตถีปุริสะมะมะปิยังมหาลาภัง สัพพะมะทิ เอหิเอหิ สวาหุม 

 อุ่งสุระตี่เทวีสุริยาเทวี จันทราเทวี มะโนปาละเทวี จิตตะเทวี ปุสะเทวี สุตะกะเทวีรักขะเทวี กันทะกะเทวี วิยามะจาลีเทวีนาคะเทวี สุนันต๊ะเทวี โสโนจิตตัง สวาหุม 

 โอมนางคำหยาดผู้น้องเตียวเมือง โอมนางคำเหลืองเตียวบ้าน เป็นสัตว์สิงห์ช้าง ออกไพรวัลย์พ่อครูก๊กกรูบ้านเราพ่อครูเก๊าผู้ผู่แม่นเสียงสลาบถึงกรู ครูเก๊ากรูว่า คุณฟ้าหนีบสนสนผีและคนขี่ช้างงาเอก ปัจจเวกขี่ช้างพลาย พระนารายณ์ขี่ช้างน้ำออกจากถ้ำกวัดแกว่งงวง คนว่าความใด หื้อว่าความนั้น ออกเสียงผายดูคนทั้งหลายหัวใจคลี่เหมือนดอกบัวบาน หัวใจหวานเหมือนดั่งน้ำผึ้ง 

 โอมสัพพะโภนโตมาสวาหุม กะขะคะฆะรัง นะพุทธัง อ้อลำจิตตัง นะธัมมัง อ้อลำจิตตังนะสังฆังอ้อลำจิตตัง อุมะอุทธังนะนินุตวันจะ มะอะยัง วิชานัญจะ สะติสัมปะติ มะโหสัตโถ ทีฆาปัญโญปัญญาปักกะสัตตะริโตตูตัสสะปะวะเร ธัมโมจะนะสังเต ละอะธิโก เทโวกัตตะปัง เทโวรักขะมังสะถะมหามังคลัง สุตัง เกสุสะวะสัง เกรัญญายะเป ทะยาปุโสสะติยาติ ระถะหิ ตะติตุง พุทธัง 

 อ้อผะหญ๋า ความเชื่อดีงามของคนเมือง

 เสียงลำนำขับขานซอจากสาวบัวซอน จ้างซอเสียงใส และอ้ายบุญยืน จ้างซอหนุ่มขวัญใจสาวแก่แม่ม่าย ในงานปอยหลวง งานบุญใหญ่ของหมู่บ้าน ผาม (ปะรำ) ที่ทำจากฝีมือหนุ่มสาวถูกสร้างขึ้นมาอย่างง่าย ๆประดับตกแต่งด้วยกระดาษหลากสี เป็นริ้วรุ้งอันอ่อนพลิ้ว เพื่อเป็นเวทีประลองชั้นเชิงไหวพริบของจ้างซอหนุ่มสาว คำซอถูกกลั่นกรองออกมาจากใจด้วยปฏิภาณ เป็นถ้อยคำสำนวนดึงดูดใจ บางครั้งออดอ้อน ชวนเอ็นดูสงสาร ถ้อยคำถากถางอย่างน่าชิงชัง บางคราวเรียกเสียงหัวเราะ จนน้ำหู น้ำตาไหล หรืออาจทำให้น้ำใส จากตาหล่นแหมะได้ เรื่องราวนิทานพื้นบ้านชาวเวียงละกอนเรื่องหมาขนคำ หรือหมาทองคำ ถูกถ่ายทอดจากคณะละครซอ ของพ่อครูอินถาผู้เป็นหัวหน้าใหญ่ เป็นเรื่องราวประทับใจเหมือนมีมนตร์สะกดตรึงให้ผู้คนนั่งอยู่กับที่เพื่อรับรู้ เรื่องราวของแม่หมาดำที่เจ้าของรังเกียจ จึงต้องไปอาศัยอยู่ในป่าที่ผาสามก้อน เกิดลูกมาเป็นผู้หญิง 2 คน ชื่อบัวแก้วและบัวตอง เฝ้าฟูมฟักเลี้ยงลูกจนโตเป็นสาวสวย วันหนึ่งเจ้าเมืองพาราณสี เสด็จประพาสป่ามาพบเข้าจึงนำทั้งสองสาวเข้าวังไปเป็นมเหสี ฝ่ายแม่หมาดำเมื่อลูกหายไปจึงทนทุกข์ทรมานจนเทวดาสงสารมาบอกเรื่องราวให้รับรู้ ด้วยความรักจึงเดินทางไปหาลูก เมื่อผู้เป็นพี่สาวบัวแก้วเห็นแม่หมานึกรังเกียจจึงให้ทหารไล่ทุบตีจนได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แม่หมาจึงไปหาผู้เป็นน้องสาว เมื่อบัวตองเห็นแม่ได้รับบาดเจ็บจึงสงสารนำมารักษาพยาบาล และอาศัยอยู่ด้วย จนกระทั่งแม่หมาแก่และตายไป ด้วยความเคารพจึงไปขอ**บจากเจ้าเมืองพาราณสี เพื่อใส่ ซากแม่หมาดำ แกล้งบอกไปว่าจะนำ **บไปใส่เงินทอง ต่อมา**บนั้นกลายเป็นเงินทองสิ่งมีค่ามากมาย นางบัวตองบอกแก่เจ้าเมือง ว่า ตนได้เงินทองมาจากป่า เจ้าเมืองจึงให้นางไปนำเงินทองมาให้อีก เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนั้น นางจึงจนด้วยปัญญาไม่รู้จะหา เงินทอง มาจากไหน จึงเดินร้องไห้ในป่าแต่เพียงลำพัง ไปเจอผีตนหนึ่งซึ่งกำลังเป็นฝีที่หัวเข่า นางจึงวิ่งชนผี หมายให้ตนเองตาย ทำให้ฝีของผีตนนั้นแตกและหายเจ็บ ผีจึงบอกขุมทรัพย์ให้นาง นางจึงสร้างหอให้แม่ในป่า ที่เคยอยู่และทำทานไปให้แม่หมาดำ ส่วนนางบัวแก้วผู้พี่นึกอิจฉาน้องอยากมีทรัพย์สมบัติบ้าง จึงเข้าไปในป่า หมายจะไปเอาเงินทอง แต่ด้วยใจไม่บริสุทธิ์ นางไม่เคารพกราบไหว้เทวดาในป่าและไม่นึกถึงบุญคุณแม่หมาที่เลี้ยงดู จึงถูกผีสางในป่าฆ่าตาย เสียงสะอื้นของผู้คนตอนแม่หมาถูกเฆี่ยนตีจากลูกสาว หรือเหตุการณ์เร้าใจในเรื่อง ผู้ถ่ายทอดอารมณ์ร่วมได้ดีคือ สาวน้อย บัวซอนผู้รับบทบัวตองน้องผู้กตัญญูนั่นเอง บัวซอนและบุญยืนอาศัยอยู่กับพ่อครูอินถามาตั้งแต่เด็ก ด้วยเป็นเด็กกำพร้าทั้งคู่แม้จะมาจากต่างหมู่บ้านทั้งคู่เรียนจบแค่ชั้น ประถมสี่ ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ จึงติดสอยห้อยตามพ่อครูไปขับซอตามพื้นที่ใกล้ ๆ จากช่วยยกของ ซื้อกับข้าว ซักเสื้อผ้า ทำงานบ้านทุกอย่างให้พ่อครู จนกระทั่งเขยิบฐานะมาเป็นจ้างซอเอก ในค่ายของพ่อครูเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ด้วยการฝึกฝน เรียนรู้ จดจำและสังเกต ทั้งคู่มีความเชื่อว่าต่อไป ตนต้องมีฝีมือในการซอ ตั้งแต่เมื่ออายุย่างสิบขวบที่พ่อครูให้ทำพิธี กินอ้อ กินอ้อ เป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อว่า ใครก็ตามที่ได้ผ่านพิธีกินอ้อแล้วจะทำให้ความจำดีขึ้น และเรียนหนังสือเก่ง คำว่า อ้อ อ่องอ้อ เป็นคำที่หมายถึง สติปัญญา มันสมอง อีกความหมายหนึ่งหมายถึง ต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ ลำต้น เป็นปล้องแข็ง ใบเรียวเหมือนต้นแขมหรือหญ้าคา มีดอกสีขาว เวลาบานจะเป็นปุยนุ่นแผ่กระจายสวยงาม แพร่พันธุ์และแตกกอ ได้ง่าย ตายยาก จ้าง คือ ช่าง หมายถึง ผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เช่น จ้างซอ หมายถึงผู้มีความเชี่ยวชาญในการขับซอ ซึ่งเป็นศิลปะ พื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ในสมัยก่อนผู้ที่จะเป็นจ้างซอนอกจาก จะเสียงดีแล้ว ต้องเป็นคนฉลาดมีปฏิภาณไหวพริบ สามารถ ตอบโต้คารมกับจ้างซออีกฝ่ายหนึ่งได้ บุคคลที่จ้างซอ เคารพนับถือมากที่สุดคือพ่อครูหรือแม่ครู ผู้ที่อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ วิชาเกี่ยวกับซอ ลูกศิษย์ของพ่อครูทุกคนต้องผ่านการกินอ้อ โดยพ่อครูจะนำต้นอ้อหลวงที่ขึ้นตามแม่น้ำนำมาตัดเป็นปล้อง ให้มีความยาว เท่ากับ 1 นิ้วมือของศิษย์ หรือประมาณ 5-6 นิ้ว เทน้ำผึ้งลงในขันหรือถ้วย จากนั้นพ่อครูจะร่ายคาถา เสกลงในน้ำผึ้ง เรียกว่ามนตร์น้ำผึ้ง กรอกน้ำผึ้งบรรจุในกระบอกอ้อ ให้ศิษย์ดื่มน้ำผึ้งจากกระบอกอ้อนั้น เมื่อดื่มน้ำผึ้งจนหมดแล้วพ่อครู จึงให้ลูกศิษย์บีบ หรือขบกระบอกอ้อจนแตกแล้วโยนทิ้งทางด้านหลังข้ามศีรษะไป เครื่องที่ใช้ประกอบพิธีนอกจากมีน้ำผึ้งและอ้อเป็นอุปกรณ์สำคัญแล้ว ยังต้องมีดอกไม้ ธูปเทียน 8 คู่ และค่ายกครูจำนวน 36 บาท พ่อครูอินถาบอกว่า การกินอ้อมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน และผู้ที่เป็นจ้างซอจะต้องกินครบทั้งหมด ได้แก่ อ้อผญา กินเพื่อให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด อ้อมหาเสน่ห์ กินแล้วมีเสน่ห์ ถูกตาต้องใจผู้คนพบเห็น ทำให้มีอำนาจในตัวเอง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อ้ออำนาจ อ้อจำ หรือ อ้ออาจิณจำ เมื่อกินแล้วทำให้มีความจำเป็นเลิศ ไม่หลงลืม อ้อพูด หรือ อ้อเว้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับวาทศิลป์ มีสำนวน คารมคมคาย พูดเก่ง พูดคล่อง ฟังแล้วชวนประทับใจ ในวันนั้นบัวซอนและบุญยืนทำตามคำบอกของพ่อครูอย่างเคร่งครัด ดื่มน้ำผึ้งจนหมดเกลี้ยงหยดสุดท้าย พร้อมตั้งใจว่า ชีวิตนี้จะเอาดีทางการเป็นจ้างซออย่างพ่อครูให้ได้ รานั้นที่ทำพิธีก็ไม่ค่อยเข้าใจนักแต่คิดว่าเมื่อตนผ่านพิธีกินอ้อแล้ว จะต้องเก่งและมีสติปัญญา จึงทุ่มเทเวลาที่มีให้กับการฝึกซ้อมจนในที่สุด นถิ่นนี้ไม่มีใครสู้จ้างซอเอก อย่างบัวซอนและบุญยืนได้เลย นอกจากจ้างซออย่างบัวซอนและบุญยืนแล้ว ชาวบ้านยังนิยมนำลูกหลานที่เรียนหนังสือไม่เก่ง พามากินอ้อจำและอ้อผญาจากพ่อครูเป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงปี๋ใหม่เมืองในวันพญาวัน (วันที่ 15 เมษายน) หากไม่ใช่ในช่วง สงกรานต์จะทำพิธีในวัน พฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครู พ่อแม่จะทำสวยดอกไม้ (กรวยดอกไม้) ธูปเทียนไปยังบ้านพ่อครู พิธีการก็จะทำเช่นเดียวกันกับการกินอ้อของจ้างซอลูกศิษย์พ่อครู การกินอ้อเป็นการเสริมสร้างภูมิพลังทางด้านจิตใจให้มีความเชื่อมั่นในความสามารถด้านสติปัญญาและความสามารถในตนเอง มีครูผู้ให้กำลังใจอยู่กับตนเสมอ มนุษย์มีศักยภาพในตนเองเพียงพอสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งงดงามได้มากมาย หากไม่ปิดกั้นความเชื่อมั่น ทางออกสู่ความ สำเร็จในชีวิต ดังนั้น การกินอ้อ พิธีกรรมตอกย้ำความมั่นใจ จึงอยู่คู่วิถีชีวิตผู้คนตลอดมา ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง - ผู้เขียน กิ๋นอ้อผะหญา" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ใช้ปล้องอ้อเป็นภาชนะใส่น้ำผึ้ง เสกด้วยคาถาแล้วดื่มกิน โดยเชื่อว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้ จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด "กิ๋นอ้อผะหญา" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ใช้ปล้องอ้อเป็นภาชนะใส่น้ำผึ้ง เสกด้วยคาถาแล้วดื่มกิน โดยเชื่อว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้ จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและจดจำได้มาก อีกทั้งเปรื่องปราดในเชิงวาทศิลป์ เป็นมนต์เสน่ห์เมตตามหานิยมแก่ศิลปินนักแสดงด้วย กลุ่มผู้นิยมในการกินอ้อได้แก่ พระสงฆ์ พระนักเทศน์ กุลบุตรผู้ใฝ่การศึกษา ศิลปินโดยเฉพาะช่างซอหรือนักขับซอจะต้องผ่านพิธีนี้ กล่าวถึงประเภทของอ้อ อาจแบ่งเป็นสามประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรกเป็นอ้อสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ได้แก่ อ้ออรหันตาและอ้อธรรม ประเภทที่สองเป็นอ้อสำหรับผู้ใฝ่การศึกษาทั่วไป ประเภทที่สามเป็นอ้อสำหรับศิลปินนักแสดง ได้แก่ อ้อนางสิบสองและอ้อความมัดรัก อ้อแต่ละประเภทมีคาถาสำหรับเสกเป่า แต่ก่อนจะเสกนั้นต้องร่ายคาถาเชิญอ้อก่อน ซึ่งคาถาต่าง ๆ จะได้รวบรวมมานำเสนอเป็นลำดับดังนี้ คาถาเชิญอ้อ ชะยันตุ ผู้ข้าจักไหว้ยอดแก้วแลเจดีย์ ทังอิตถีปัญญาดีใช่ช้า ขอเชิญเจ้าขี่ม้าแก้วถือดาบเถี่ยนฅำ แก่วงลงมาวิงวอนวิงวอน ฅิงเจ้าอ่อนมันปานฅำแดง เชิญเจ้าลงมา ทังอ้ออรหันตาผู้ถือเครื่องห้า กล้ำซ้ายเจ้าหลั่งลงมา คันข้าออกปาก เจ้าผะหญาอ้อสนสน ในเมืองฅนบ่มีใผเปรียบได้ ศัพท์แปลจารธรรมไธ้ ผะหญาไวยิ่งกว่าน้ำบ่อแก้วแฅว แตลไหลออกเนืองนอง ผะหญานองวิลาศ ขอเชิญบาทไธ้แม่ธรณี ทังอิตถีปัญญาดีแต่ฟ้า เชิญเจ้าลงมาสับปัญหาแก้แม่น ได้หมั้นแก่นแล้วขออย่าลืมฅวาม โอม สวาหุมติดฯ ชะยันตุ ข้าจักไหว้เจ้ายอดแก้ว เชิญทิพพะฤาษีแลอ้ออรหันตาเจ้าอันอยู่เมืองฟ้า เชิญเจ้าขี่ม้าถือดาบเถี่ยนฅำ ลงมาวิงวอนวิงวอน ฅิงเจ้าอ่อนปานฅำ เชิญเจ้าลงมาเบื้องซ้าย เจ้าจิ่งย้ายลงมาลีลา เบื้องขวาลงมาลีไล ข้าเชิญทังท้าวหมาดฅำฟ้าอยู่แท่นเชียงฅำ เชิญเจ้าลงมา เจ้าจิ่งถือเอาน้ำใจ ย่องลงมาสะสิ่งใสสี ขอให้ผะหญาดีส่งอ้ออรหันตาเจ้า คันว่าข้าได้เจ้าแล้ว ผะหญาอ้อเนืองนอง ผะหญาฟองไปทั่วทวีป คันว่าข้าได้เขียนขีดแล้ว ผะหญาอ้อสนสน ในเมืองคนเฮย บ่มีใผต่อได้ คันว่าได้สับสอดใช้เป็นธรรมชัย ผะหญาไหลไปยิ่งน้ำบ่อแก้ว ไหลแจ้วแล้วไหลออกไปเนืองนอง ผะหญาฟองไปวิลาศ ท้าวหมาดฟ้าอยู่แท่นเชียงฅำ เชิญเจ้าลงมา ชักปัญหาให้แก้แม่น แก่นแท้รุ่งเรืองราม ได้แล้วอย่าลืมฅวาม โอม สวาหุมติดฯ คาถาเชิญอ้อนี้ ผู้ประกอบพิธีจะร่ายเพื่อเชิญอ้อในพิธีก่อนถึงจะทำพิธีเสกอ้อด้วยคาถาอ้อบทต่อไป

 ข้อมูลจาก  พระโสภณพัฒโนดม

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 502120เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท