แก้ปัญหาเรื่องปลวกในสวนยางพารา


ภัยเงียบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เข้ามาทำลายในทีเผลอก็คือ”ปลวก”

สถานการณ์ยางพารา ณ ตอนนี้ถือว่าย่ำแย่ตกต่ำไปตามๆกันเพราะการสั่งซื้อยางพาราน้อยลงเนื่องด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจจากทางยุโรปและอเมริกาในตอนนี้ยังซบเซา ขาดแรงกระตุ้นในการจับจ่ายใช้สอยด้านอุปโภค อีกทั้งประเทศจีนยังคงมีสต๊อคยางอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้ราคายางพาราจากที่เคยสูงกิโลกรัมละร้อยกว่าบาท ร้อยยี่สิบ ร้อยสามสิบบาท บางครั้งสูงขึ้นไปถึงร้อยห้าสิบบาทก็มี แต่มาดูในตอนนี้เหลือเพียง 72.63 บาท (ราคาแผ่นดิบ ชั้น 3 วันที่ 3 กันยายน 2555) และมีแนวโน้มว่าผลผลิตของยางจะเพิ่มขึ้นมาอีก 3.585 ล้านตัน จากเดิมที่ในปี 2554 มีผลผลิตเพียง 3.312 ล้านตัน เนื่องจากในขณะนี้มีพื้นที่เปิดกรีดยางเพิ่มมากขึ้น ทั้งเหนือ, กลาง, อีกสาน, ตะวันออก และทางภาคใต้ที่เป็นฤดูแล้งอยู่ในขณะนี้โดยในระยะสองสามเดือนที่ผ่านมา  รอดูผลงานของท่านรัฐมนตรีช่วยคนใหม่ก็ยังไม่ยอมปล่อยทีเด็ดให้เข้าตากรรมการเลยสักที

เกษตรกรชาวสวนยางจึงควรต้องมีการดูแลรักษาเพื่อให้ต้นยางอยู่รอดปลอดภัยรอวันเวลาที่ราคาจะกลับมาดีวันดีคืนนั้นก็เป็นหน้าที่ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภัยเงียบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เข้ามาทำลายในทีเผลอก็คือ”ปลวก” โดยเฉพาะปลวกชนิดที่อาศัยอยู่ใต้ดินและชอบกัดกินพืชสด ปลวกชนิดนี้ถือว่ามีอันตรายร้ายแรงมาก สามารถทำลายให้ต้นยางยืนต้นตายผุกร่อนลงไปมากต่อมาก เนื่องด้วยรากที่หาอาหารจะค่อยถูกกัดแทะทำลายจนแตกหักเสียหายไม่สามารถลำเลียงน้ำและอาหารส่งไปยังส่วนต่างๆ ของต้นยางได้ ทำให้ยางแห้งยืนต้นตายถ้าได้รับการช่วยเหลือบรรเทาไม่ทันการณ์

วิธีการแก้ไขในแนวทางชีวภาพ ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษขอแนะนำให้ใช้เชื้อรา “เมธาไรเซียม” ชนิดที่เป็นสายพันธุ์ทำลายปลวกโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถกัดกินทำลายผนังลำตัวปลวกให้ค่อยๆเจ็บป่วยตายไปทีละน้อย เทคนิคที่จะทำให้ได้เชื้อเมธาไรเซียมแบบประหยัดลงไปใช้ในสวนยางก็ให้ทำการเพาะหมักขยายกับรำละเอียดหรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจำนวน 50 กิโลกรัมต่อเชื้อรา เมธาไรเซียม 1 กิโลกรัม  โดยนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมาเพียง 10 กิโลกรัมนำมาคลุกกับเมธาไรเซียม  1 กิโลกรัมก่อนคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วจึงนำไปผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือรำละเอียดที่เหลือ 40 กิโลกรัม พรมน้ำพอชุ่มชื้นหมักทิ้งไว้ 1 -2 คืน แล้วนำไปใส่รอบโคนต้นยางทุกๆ ต้น เชื้อราเมธาไรเซียมจะเพิ่มจำนวนขยายตัวแบ่งเซลล์อาศัยอยู่ในดิน เมื่อมีตัวปลวกซึ่งเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อราชนิดนี้ก็จะค่อยๆเจาะแทงเข้าไปผนังลำตัวของปลวกจนเจ็บป่วยและตาย สปอร์ของเชื้อเมธาไรเซียมจะแพร่กระจายจนปลวกติดเชื้อตายทั้งรังโดยอิงอาศัยระยะเวลาที่สอดคล้องเหมาะสม

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 501937เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ท่านเต้น กำลังหาทางแก้เรื่องราคาตกอยุ่ครับ

 

 

วิธีการแก้ไขในแนวทางชีวภาพ ... เป็น วิธีการ ใหม่ ที่ใช้ได้ดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

นาย อิทธิชัย จันทวงศ์

ชีวภาพ อยู่คู่กับชีวิตชนบท ลึกซึ่ง

ขอบคุณครับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501934

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท