หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

 ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกพัฒนากรที่มีผลงานดีเด่น ปี ๒๕๕๕ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร ได้จัดทำโครงการ "หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ" แล้วมีการนำผลงานมาแลกเปลี่ยนกัน โดยที่พัฒนากรทุกคนต้องนำเสนอหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของตนเองให้พัฒนากรในกลุ่มทราบ และกลุ่มพิจารณาคัดเลือกผลงานในกลุ่มที่เป็นแนวทางที่ดี จำนวน ๒ ท่าน ให้คณะกรรมการฯพิจารณา คณะกรรมการฯพิจารณาจากเอกสาร การนำเสนอ ให้เหลือ ๓ ท่านแล้วลงพื้นที่ดูของจริง ผมได้พบเห็นในสิ่งดีดีที่พลังในการขับเคลื่อนเรษฐกิจพอเพียงซึ่งแตกต่างกันในแต่ละชุมชน จึงอยากจะนำมาเล่า เผื่อว่าพี่น้องชาวส่งเสริมการเกษตรที่ผมสังกัดจะได้นำไปใช้ และขอชื่นชมการทำงานของทีมงานพัฒนากรจังหวัดชุมพร เป็นปีที่ ๒ แล้วที่ผมมีโอกาสเข้าร่วมงาน ผมจะขอนำมาเล่าก่อน ๓ หมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการ

บ้านพรุใหญ่เป็นหมู่บ้าน ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก  ประชาชนมีอาชีพหลัก  คือ  การทำสวนยางพารา  สวนปาล์มน้ำมัน  มีสภาพพื้นดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก  มีการเลี้ยงสัตว์จำพวกโคเนื้อบางส่วน  มีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี มีผู้นำที่มีความเสียสละ  มีการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ในการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ  มีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  เห็นได้จากการมีการรวมกลุ่มจัดตั้ง  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านพรุใหญ่,การฝากเงินสัจจะของหมู่บ้าน ประชาชนมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน อยู่กันแบบเครือญาติ  ให้ความสำคัญของระบบอาวุโส  รักความสงบ และพึ่งพากันตามวิถีชีวิตของคนชนบท และดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีการช่วยเหลือกันในการมีงานต่างๆ  ในชุมชน ทั้งงานบุญประเพณี   วันสำคัญต่างๆ  และงานมงคลและงานอมงคลของคนในชุมชน  และในชุมชนไม่มีคดีการลักทรัพย์/ชิงทรัพย์ ,การทำร้าย  ทะเลาะวิวาท,การข่มขืน อนาจาร เป็นหมู่บ้านที่มีการพัฒนาในระดับที่ดี   โดยมีจุดเด่นหรือจุดแข็งของชุมชน  ดังนี้

 

๑.ด้านเศรษฐกิจ  ประกอบด้วย

-ชาวบ้านพรุใหญ่  มีรายได้เฉลี่ยต่อคน/ปี                บาท

-ไม่มีครัวเรือนตกเกณฑ์  จปฐ.  เรื่องรายได้ต่ำกว่า  30,000/คน/ปี

**จุดเด่น  ด้านกลุ่ม/องค์กร (ทุนด้านเศรษฐกิจสังคม)    บ้านพรุใหญ่  คือ  กลุ่มองค์กร/ทุน

๑.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านพรุใหญ่

๒.กลุ่มกองทุนหมู่บ้านพรุใหญ่

๓.โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  (กองทุน กข.คจ)

 

๒.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ประกอบด้วย

-พื้นดินเหมาะสมในการเพาะปลูก เพราะเป็นดินร่วนในปนทราย  เหมาะสมดีในการเพาะปลูก

-น้ำ มีน้ำในการทำการเกษตรเพียงพอ ทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติในชุมชน และน้ำฝนตามธรรมชาติ ซึ่งฝนตกต้องตามฤดูกาล และเกือบตลอดทั้งปี

**จุดเด่น  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น  แหล่งน้ำ/ป่าไม้/สถานที่ท่องเที่ยว  บ้านพรุใหญ่  คือ  แหล่งน้ำ  ได้แก่   ที่ใช้ในภาคการเกษตรกรรม

๑.ห้วยชัน

๒.คลองกรูด

๓.หนองจิก

๓.ด้านสังคม  ประกอบด้วย

-การรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ  มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก  ในระดับต้นๆของตำบลสะพลี 

-และมีการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน/ท้องถิ่น  (จากผลการประมวลข้อมูล จปฐ. ที่ผ่านเกณฑ์)  และมีการจัดเวทีประชาคมในการค้นหาปัญหา/แก้ไขปัญหาและจัดทำแผนชุมชน

-เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนกับปีที่ผ่านมา  สถานการณ์ยาเสพติดมีแนวโน้มลดลง  (จากข้อมูล  กชช.2ค  ปี  2554)

**จุดเด่น  ด้านประเพณี/วัฒนธรรม/กฎระเบียบ/ค่านิยมความสัมพันธ์ของชุมชน

         ๑.การอนุรักษ์งานประจำปี/ประเพณี/วัฒนธรรม  เช่น  จัดงานสงกรานต์,งานลอยกระทง,งานเข้าพรรษา,งานออกพรรษา  งานสำคัญทางพระพุทธศาสนา   เป็นต้น

         ๒.ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน  ที่เป็นแบบเครือญาติ  ให้ความสำคัญกับระบบอาวุโสในชุมชน  การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน

 

ศักยภาพของบ้านพรุใหญ่

                             ๑.ปัจจัยภายในที่สนับสนุนหรือเป็นจุดแข็งในการพัฒนาของหมู่บ้านพรุใหญ่

                                 ๑)  ผู้นำ  มีผู้นำชุมชนที่มีความเสียสละ เพื่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีประสิทธิภาพในการเป็นผู้นำ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน และใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน เพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด  ใช้หลักประชาธิปไตย  ยึดหลักเสียงส่วนใหญ่  และเคารพเสียงส่วนน้อย

                                 ๒)  ประชาชน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นอย่างดี มีการเสียสละเวลาในการเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน หรือการจัดเวทีประชาคมของหมู่บ้านทุกครั้ง เพื่อร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน

 

ครัวเรือนต้นแบบ

                ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงเข้มแข็งตามวิถีพอเพียง

                           นายศักดิ์ชัย  ช่วยชู  อายุ  ๔๐  ปี  อยู่บ้านเลขที่  ๒๒/๑ หมู่ที่ ๖  ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร  รหัสไปรษณีย์  ๘๖๒๓๐  เบอร์โทรศัพท์  ๐๘-๖๙๔๕-๔๒๖๖  สถานะสมรสกับนางกุลธิดา  ช่วยชู  มีบุตร (ธิดา  ๒  คน) คือ  เด็กหญิงโสภิตา  ช่วยชู  อายุ  ๙  ขวบ ,เด็กหญิงฐิติภา  ช่วยชู  อายุ  ๔ ขวบ

           ๑,๑  แนวคิดครัวเรือนพอเพียง

                  ๑.๑.๑  ความเป็นมาการเรียนรู้แนวคิดพอเพียง   เนื่องจากเป็นคนสนใจในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และคิดว่าถ้านำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน ก็จะเกิดประโยชน์ ฉะนั้นจึงสนใจเข้าร่วมอบรมและไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ  เช่น งานกลุ่มออมทรัพย์เทศบาลตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ,หมู่บ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ,กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่หนองใหญ่ในโครงการตามพระราชดำริ,ชุมพรคาบาน่า หมู่ที่ ๘  ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว ,โครงการชั่งหัวมัน ตำบลเขากระปุก จังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งได้เรียนรู้แนวทาง แนวความคิด การประกอบอาชีพจากเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ และศึกษาจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต  จึงได้นำแนวคิดมาใช้ในครอบครัวตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจำเกษตรทฤษฏีใหม่ ไร่ นา สวนผสม จากการศึกษาและปฏิบัติตาม จึงทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ใช้ชีวิตอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายในครอบครัวลดลง  และยึดแนวปฏิบัติดังนี้

                 ด้านการเงินในครัวเรือน

                    -กำหนดการใช้จ่ายในแต่ละเดือนอย่างคร่าวๆ ได้พยายามใช้จ่าย  ๓  ส่วน และออม  ๑  ส่วน โดย *ควบคุมการใช้จ่ายเงินของครัวเรือน และวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ โดยจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินของครัวเรือน และมีการบันทึกลงในบัญชีครัวเรือน เพื่อดูรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน และจะได้เห็น หรือวางแนวทางในการใช้จ่ายเงินอย่างมีระบบมากขึ้น

       *สร้างวินัยการใช้จ่ายเงิน และออมเงินส่วนที่เหลือจ่าย ไว้กับกลุ่มการเงินในชุมชน  เช่น ฝากเงินกับกลุ่มออมทรัพย์บ้านพรุใหญ่ ,ฝากเงินสัจจะของหมู่บ้าน  หรือฝากเงินไว้กับธนาคารใกล้บ้าน  เป็นต้น เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บุตร และการดำเนินชีวิตในอนาคต

        *ไม่สร้างหนี้ ลดภาระหนี้สินของตนเอง หรือไม่พยายามก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  เช่น การนำเงินที่กู้ยืมมาไปซื้อของฟุ่มเฟือย  อาทิเช่น  โทรศัพท์มือถือ  รถจักรยานยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น ยกเว้นว่าสิ่งเหล่านั้น จะนำไปสู่การสร้างอาชีพ การสร้างรายได้  หรือการลงทุนประกอบอาชีพ

         *ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และรู้เท่าทันกระแสบริโภคนิยม  ยึดหลัก (ฉลาดซื้อ+ฉลาดใช้) ซื้อตามความจำเป็น ซื้อของต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ไม่ยึดติดกับของมียี่ห้อหรือเบรน์ดเนม   ,ฉลาดใช้ คือ การรักษาข้าวของเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพดี ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ

         * ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขต่างๆ  เช่น  หวยใต้ดิน  การเล่นไก่ชน,ปลากัด ,การพนันต่างๆ  ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เหลือเพียงการสังสรรค์ในโอกาสพิเศษเป็นครั้งคราว

                    ด้านปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต

                     -  มีการปลูกพืช/พืชผักสวนครัว  และเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคในครัวเรือน  เช่น  ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้  สวนสมุนไพรในบ้าน การเลี้ยงไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือน ,เลี้ยงโค เป็นอาชีพเสริม

                    -  กิจกรรมทางการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมครัวเรือน/ชุมชน ได้แก่  นำทฤษฏีใหม่มาปรับใช้  การทำการเกษตรแบบผสมผสาน  การทำสวนผสม การนำเกษตรอินทรีย์และเกษตรชีวภาพ พึ่งพาการใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ใช้เท่าที่จำเป็น การทำปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยชีวภาพ การผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ใช้เอง

                     -  การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการสะสมทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างพลังในการต่อรอง และความสามัคคีในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพต่างๆ  เป็นต้น

                   การรวมตัว/การพึ่งตนเอง

                      -  ตนเองจะรวมกันกับคนในชุมชน ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ  ภายในชุมชน  ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เช่น  การพัฒนาถนนหนทาง  การตัดแต่งกิ่งไม้สองข้างทาง การปลูกต้นไม้สองข้างทาง  การนำกรวด/ดิน มาถมถนนที่เป็นหลุม เป็นบ่อ  การขุดลอก แม่น้ำลำคลอง/และการกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำภายในชุมชน  ให้มีความสะอาด และมีสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการเก็บขยะมูลฝอยบริเวณชุมชน ให้เป็นที่ถูกสุขลักษณะ และครัวเรือนก็มีการฝังกลบขยะที่เป็นขยะสดเพื่อเป็นปุ๋ยและลดปัญหาการเกิดมลพิษในชุมชนอีกด้วย

 

                      ๑.๑.๒  บทบาทหน้าที่ทางสังคม

                              ๑) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะพลี

                              ๒) เหรัญญิกกลุ่มออมทรัพย์กองทุนหมู่บ้าน

                              ๓)  รองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

                              ๔)  ประธานกรรมการลานบุญ ลานปัญญา

                              ๕)  กรรมการวัดพรุใหญ่ 

                  ๑.๔ ข้อคิดในการดำรงชีวิต เป็นครอบครัวตัวอย่างของชุมชน ในการรณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข มีแนวทางการปฏิบัติ/การดำรงชีวิต  ดังนี้

                        ๑) ประหยัด  อดออม ไม่สุรุ่ยสุร่าย  ฟุ้งเฟ้อ ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่ตระหนี่

                        ๒) ซื่อสัตย์ต่อตนเองและครอบครัว  และยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความสุจริต

                        ๓) ขยันหมั่นเพียร มีมานะในสัมมาอาชีพ มีความอดทน

                        ๔) มีคุณธรรม จริยธรรม

                        ๕) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้ใหญ่

                        ๖) รู้จักพอประมาณ ในการลงทุนประกอบอาชีพตามกำลังทรัพย์ และศักยภาพของตนเอง

                        ๗) ไม่ก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็นและเกินกำลัง

 

 ๒. แนวทางการดำเนินชีวิตของครัวเรือนพอเพียง

                  ๒.๑ กิจกรรมที่ดำเนินชีวิตของครัวเรือนพอเพียง

                         -การแก้ปัญหาวิกฤตในบางชีวิต  ช่วงที่ทำบริษัทเอกชน ต้องเดินทางบ่อย ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว  ชีวิตครอบครัวก็ไม่อบอุ่น ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าตากัน เงินทองก็ไม่พอกับรายจ่ายเนื่องจาก ประกอบอาชีพคนเดียว เลยคิดมาใช้ประโยชน์จากที่ดิน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  และหาทางลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยชีวภาพ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน หากพืชผลผลิตอันไหนราคาตกต่ำ ก็ได้ผลผลิตตัวอื่นมาทดแทน  (ปลูกปาล์มน้ำมัน ๕ ไร่,ปลูกยางพารา ๕ ไร่ ,มะพร้าว ๒ ไร่)และใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่,ปลา,โค (ไก่ ๒๐ ตัว,โค  ๓ ตัว)  นอกจากรับประทานที่เหลือก็นำไปจำหน่าย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้ ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน และใช้หนี้สินตอนเกิดจากทำบริษัทได้ และไม่กลับไปเป็นหนี้สินอีกเลย ครอบครัวก็มีความสุข ได้อยู่กันพร้อมหน้า และได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีการพูดคุยปรึกษาหารือ ดูลูกทำการบ้าน(สอนการบ้าน) รับประทานอาหารร่วมกัน และทำกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญทางศาสนา/ประเพณีของหมู่บ้าน

                           -รูปแบบการดำเนินชีวิตของครัวเรือนพอเพียง

*ด้านการลดรายจ่าย-ปลูกพืชผักสวนครัว/ปลอดสารพิษ ไว้บริโภค ทุกชนิด

                               -การทำปุ๋ยหมักใช้เอง จากเศษพืช/เศษอาหาร

                               -เลี้ยงไก่,ปลา ไว้บริโภค

                               -ลด ละ อบายมุขเรื่องการพนัน การดื่มสุรา สูบบุหรี่

                               -ผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ไว้ใช้เอง ซึ่งได้จากการเลี้ยงวัว

                               -มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ทุกวัน ทุกรายการ เพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สร้างนิสัยที่ดี ในการจับจ่ายใช้เงินที่หามาได้ ให้มีคุณค่าที่สุด และเกิดประโยชน์ ที่เหลืออดออมเป็นทุนสำรองแก่ชีวิต ลดรายจ่าย เช่น ไฟฟ้าเปิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น น้ำประบาเปิดใช้อย่างประหยัด  ประยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น โทรศัพท์มือถือ ไม่เล่นการพนัน  ลดการเที่ยวเตร่ ใช้จ่ายกิจกรรมตามประเพณีเกินความจำเป็น เป็นต้น

*   ลดต้นทุนในการผลิต  เช่น  ลดการใช้ปุ๋ยเคมี มาใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักชีวภาพ  และการเลี้ยงสัตว์แบบพึ่งพาธรรมชาติ  เช่น  การเลี้ยงไก่ปล่อยหากินเองตามธรรมชาติ คุ้ยเขี่ยหาอาหารเอง  การเลี้ยงโคเป็นต้น

*ด้านการเพิ่มรายได้-ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปาล์มน้ำมัน,ยางพารา,มะพร้าว

                                -จำหน่ายสัตว์เลี้ยงและพืชผักสวนครัว

                                -แยกขยะพลาสติกไว้จำหน่าย

*ด้านการประหยัด  -เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต,และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้รู้จักอดออม มีการออมเงินทุกเดือนเพื่อเพิ่มรายได้ของครัวเรือน

                               -เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์สหกรณ์ร้านค้าชุมชน จะได้เงินปันผลเมื่อปลายปี และไม่ต้องเสียเงิน ค่าน้ำมันรถไปซื้อของในเมือง

                                -ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและประหยัด ใช้สารอินทรีย์/ชีวภาพทำการเกษตร กำจัดขยะโดยวิธีแยกขยะ เศษพืชเศษอาหารนำมาทำปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยชีวภาพ

*ด้านการเรียนรู้       -ศึกษาหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ในการประกอบอาชีพอยู่เสมอ จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

                                 -มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำ สมาชิก กลุ่มต่างๆ ในชุมชนอยู่เสมอ

                                 -ศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามสถานที่ต่างๆ

                                 -ร่วมการฝึกอบรมตามโครงการที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น

                                 -มีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้

*ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม –มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำ ป่าชุมชน

                                  -พัฒนาบริเวณบ้านให้เกิดความร่มรื่น น่าอยู่เป็นประจำ สม่ำเสมอ นำป่ามาไว้บ้าน ปลูกต้นใกล้บ้าน

                                 -ปลูกป่า อนุรักษ์และรณรงค์การรักษาป่า ไม่เผา ไม่ตัดไม้ทำลายป่าฯ มีการรวมกลุ่ม/รวมตัวอนุรักษ์ ป่าชุมชนบ้านพรุใหญ่ จำนวน ๔  แห่ง พื้นที่  ๖๐๐ ไร่

                                 -ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อปรับความสมดุลและดูแลรักษาคุณภาพของดินให้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และปลอดภัยต่อสุขภาพ  เป็นการออมดินให้ใช้ประโยชน์ได้นานๆ

*ด้านการเอื้ออารีต่อกันและการมีส่วนร่วมในสังคม –เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชน ขยัน ประกอบทำสวนผสม

ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และแบ่งปันให้เพื่อนบ้านเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

                                 -ให้การช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้าน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาของชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน

                              ๒.๒ การจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย

                                   -ปลูกพืชที่หลากหลายทางเศรษฐกิจ  เช่น ปาล์มน้ำมัน  ๕  ไร่,ยางพารา  ๕ ไร่มะพร้าว  ๒  ไร่

                                   -ที่อยู่  ๒ ไร่ รอบบริเวณที่อยู่อาศัย ปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ

                                   -เลี้ยงไก่ไข่จำนวน  ๒๐ ตัว,วัว ๓  ตัว 

                              ๒.๓ การจัดการเวลาและชีวิตประจำวันของครัวเรือน

                                   ๑) ให้อาหารสัตว์เลี้ยงเช้า-เย็น

                                   ๒) ปลูกและรดน้ำพืชผักสวนครัวในตอนเช้า และตอนเย็น เวลาว่างก็ถอนวัชพืชในแปลงผัก หรือถางหญ้าในสวน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ ตกแต่งกิ่งปาล์มน้ำมัน

                                   ๓) ช่วงเช้าไปส่งลูกไปโรงเรียน (รับประทานอาหารเช้าพร้อมหน้ากัน พ่อ-แม่-ลูก)

ช่วงเย็นสอนการบ้านลูก จัดตารางเรียนลูก พูดคุยเรื่องราวที่โรงเรียนลูก เล่นกับลูก ออกกำลังกายร่วมกัน(รับประทานอาหารเย็นพร้อมหน้ากัน พ่อ-แม่-ลูก) ใช้เวลาช่วงรับประทานอาหาร คุยแลกเปลี่ยนกัน

                                   ๔)  วันปกติทำงานที่อบต.สะพลี  และทุกวันตัดยางพาราทุกวัน

                                   ๕)  ตัดปาล์มน้ำมันทุกๆ  ๑๕ วัน

                                    ๖)  เวลาว่างช่วงเย็นๆ จะทำบัญชีครัวเรือนรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละวัน เพื่อได้วางแผนการใช้เงินที่มีประสิทธิภาพ ลดช่องโหว่ด้านการเงิน

                            ๒.๔ การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม

                                ๑)  ช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน และงานที่เป็นสาธารณะมีการประสานความร่วมมือ รวมตัว รวมกลุ่มกับคนในชุมชนจัดการปัญหาในชุมชนอย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อมุ่งพัฒนาท้องถิ่นเป็นสำคัญ และช่วยเหลือกิจกรรมงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ในชุมชน เพื่อความเอื้ออาทร  มีการแบ่งปันเอื้ออารี  กับเพื่อนบ้านทั้งของเหลือกิน  เหลือใช้  และแรงงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน

                                    ๒)  เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านทุกเดือน และทำหน้าที่ผู้นำชุมชนในตำแหน่งต่างๆ ของกลุ่ม และหากมีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ก็จะนำมาแจ้งในที่ประชุม ใช้เวทีประชุม (เวทีชาวบ้าน) ในการแสดงความคิดเห็น  สร้างกระบวนการเรียนรู้/หรือมีภูมิปัญญา ความรู้  ในชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นการรวมคน และพัฒนาคนผ่านกระบวนการชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้  เพื่อก่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย  มีขยายความสัมพันธ์ออกไปจนเกิดมิตรภาพนอกชุมชน

                                   ๓) เป็นแกนนำในการดูแลระบบประปาหมู่บ้านของตำบล และเป็นแกนนำทั้งในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบลในการดูแลสอดส่องด้านยาเสพติด ไม่ให้เข้ามาในชุมชน เพราะยาเสพติดหากมีการระบาดในชุมชน จะก่อให้เกิด คดีต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ฉกชิง วิ่งราว ทำร้ายร่างกาย คดีอาชญกรรมต่างๆ

                                ๔)  ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ผ่านสวัสดิการของกองทุนฯ ที่ตนเองมีบทบาทอยู่

(รองประธานกองทุนหมู่บ้าน,เหรัญญิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) เพราะคิดว่าสังคมที่ดี  คนในสังคมต้องช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จึงจะเป็นชุมชนที่แข็งแรง และยั่งยืนจริงๆ

 

      ๒.๕ ผลของการดำเนินชีวิตของครัวเรือนพอเพียง (ความสำเร็จและความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้น)

                                      ๑)  ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ไม่มีหนี้สิน มีอาหารการกินปราศจากสารพิษ เนื่องจากปลูกไว้รับประทานเอง ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีรายได้จากการขายผลผลิต มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้

                                      ๒)  ครอบครัวอบอุ่น สมาชิกในครัวเรือนได้อยู่กันพร้อมหน้า พร้อมตา มีเวลาพูดคุยปรึกษาหารือ และใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ครอบครัว มีความสุขมากขึ้น และได้ประกอบอาชีพบนผืนดินของตนเอง และจากความร่วมมือ ร่วมใจกัน ประกอบอาชีพของคนในครัวเรือน ทำให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้า

                                      ๓)  คนในครัวเรือนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีพลาอนามัยที่สมบูรณ์ เนื่องจากได้มีการออกกำลังกายจากการประกอบอาชีพ ได้อากาศที่ดี มีสุขภาพจิตดี มีจิตใจที่ร่าเริง ครอบครัวปลอดจากอบายมุข

                                       ๔)  สังคมยอมรับ ยกย่อง เรื่องความขยัน อดทน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมในด้านการประกอบอาชีพ ด้านการเสียสละต่อสังคม และการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

                                      ๒.๖  ข้อคิดและเคล็ดลับเฉพาะ (สิ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ)

                                        “คิด พูด ทำ อย่างมีเหตุผล”   เป็นสิ่งที่ตนเองใช้ยึดถือและปฏิบัติ หากการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ตั้งอยู่ของการมีสติ ไม่ว่าจะเป็น การพูด การทำ ก็จะทำให้เราคิด พูดและทำในสิ่งที่ดีและตั้งอยู่ของความไม่ประมาท  เพราะผ่านการไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ตลอดจนเราก็คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล  ยกตัวอย่าง เช่น การวางแผนการใช้เงิน (มีสติเมื่อใช้เงิน) เมื่อตนเอง คิด พูด ทำอย่างมีเหตุผล ทำให้ปัจจุบันตนเอง สามารถหลุดพ้นจากการเป็นหนี้ และมีเงินออมเพิ่มขึ้น

 

๓. การจัดการความรู้ ๑ เรื่อง

บันทึกภูมิปัญญา (การทำปุ๋ยหมักแห้งและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ)

ปุ๋ยหมักแห้ง  หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งในสภาพของแข็งที่ได้หรือจากวัสดุอินทรีย์ และผ่านการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ นำไปใส่ให้พืชเพื่อเพิ่มแร่ธาตุอาหารที่จำเป็น ส่วนมากในการทำปุ๋ยหมักแห้ง มักใช้ใบหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ทะลายปาล์มน้ำมัน เปลือกไม้ ขุยมะพร้าว อะไรก็ได้ที่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และจำเป็นต้องใช้มูลสัตว์เป็นวัตถุดิบร่วมด้วย เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง และย่นระยะเวลาการหมักให้สั้นลง

           ส่วนผสม   -มูลสัตว์แห้ง (ไก่,สุกร,โค อะไรก็ได้)  ๑  ส่วน

                             -เศษหญ้า ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว กากปาล์ม แกลบกาแฟ ซากพืชก็ได้ (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)  ใช้วิธีประมาณเอา  ๓  ส่วน

                             -รำ กากมัน กากปาล์ม  สักประมาณ  ๕  กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย (ไว้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ)

                             -ขี้เถ้า ,แกลบ,ทะลายปาล์ม  เอาพอเท่ากับอาหารเลี้ยงเชื้อ (ตัวนี้จะช่วยลดกรดในตัวปุ๋ย)

                             -หัวเชื้อจุลินทรีย์ ๑ต่อ๑๐๐  (น้ำ 

หมายเลขบันทึก: 501831เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2012 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท