วงจรของการใช้ชีวิตอย่าง "อริยสัจ4" + "PDCA"


วงจรของการใช้ชีวิตอย่าง "อริยสัจ4" + "PDCA"
            ถ้าพูดถึงการใช้ชีวิตประจำวันของทุก ๆ คน ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในความประมาท เสี่ยงต่อ อันตราย โรค ภัย ใคร่ เจ็บ แต่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่หลีเลี่ยงไม่ได้ และทุกคนต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ บางคนชีวิตครอบครัวมีความสุข แต่การทำงานล้มเหลวไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต บางคนการงานเจริญก้าวหน้า แต่ไม่มีเวลาให้ครอบครัวก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น บางคนรวยล้นฟ้าแต่หาความสุขไม่ได้ ปัญหาทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถหยุดมันเพียงแค่ ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท การแก้ปัญหาทุกอย่างมันมีขั้น มีตอน ของมันอยู่แล้วเพียงแค่ปิดใจรับ ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า 
            "อริยสัจ 4 ประการ" เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผลตามเหตุปัจจัย คือ การแก้ปัญหาของบุคคลด้วยปัญญาของตัวบุคคลนั้นเอง โดยไม่ต้องอาศัยการดลบันดาลประทานพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเป็นสัจธรรมความจริงที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด อยู่ในเพศหรือภาวะใด จะต้องประสบด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อยืนยันถึงหลักอริยสัจว่าเป็นกระบวนการแก้ปัญหาทุกอย่างโดยเฉพาะในการแก้ปัญหาชีวิตในสังคม จึงขอเสนอแนะนำหลักอริยสัจ 4 มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตได้ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
            ขั้นที่ 1 ทุกข์ ขั้นตัวปัญหา 
            ขั้นที่ 2 สมุทัย ขั้นสาเหตุของปัญหา 
            ขั้นที่ 3 นิโรธ ขั้นดับปัญหา  
            ขั้นที่ 4 มรรค ขั้นลงมือแก้ปัญหา 
            นอกจาก การแก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า "อริยสัจ 4" แล้ว ยังมีอีกหนึ่งวงจรที่จะเป็นตัวช่วยให้การดำเนินชีวิตประสบความสำเร็จคือ วงจร PDCA ของเดมมิ่งคือ  วงจรการบริหารงานคุณภาพ มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นที่ 1 P = Plan  
            ขั้นที่ 2 D = Do    
            ขั้นที่ 3 C = Check  
            ขั้นที่ 4 A = Action  

อริยสัจ 4

วงจร PDCA

ขั้นที่ 1 ทุกข์ ขั้นตัวปัญหา จัดเป็นขั้นแถลงหรือแสดงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้รอบเขต กล่าวคือ ต้องรู้สภาพปัญหา ความไม่พอใจ ความติดขัดบกพร่องที่บุคคลได้ประสบหรือเกิดขึ้นในชีวิตของตน โดยต้องกำหนดรู้ ทำใจยอมรับ ทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตของมันให้แจ่มชัดว่าเป็นปัญหาหรือไม่ เป็นปัญหาใหญ่หรือปัญหารอง

 ขั้นที่ 1 P = Plan  คือ  การวางแผน  ในแผนงานจะต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และระยะเวลาดำเนินการ

ขั้นที่ 2 สมุทัย ขั้นสาเหตุของปัญหา จัดเป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหาซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมด สิ้นไป กล่าวคือ ต้องแสวงหาสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหา หรือเกิดความติดขัดบกพร่องในชีวิตบุคคล โดยให้เฟ้นหาสาเหตุแห่งปัญหาหรือความทุกข์ต่างๆ ให้ถูกต้องชัดเจน และต้องเป็นสาเหตุต้นตอจริงๆ ที่เกิดจากตัวเองเป็นส่วนใหญ่ มิใช่ไปโทษโชคชะตา ซึ่งเป็นเรื่องนอกตัวออกไปทั้งหมด

ขั้นที่ 2 D = Do    คือ  การปฏิบัติงานตามแผน  โดยการดำเนินงานตามขั้นตอนในแผนงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขั้นที่ 3 นิโรธ ขั้นดับปัญหา จัดเป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหาซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหานั้นเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึงซึ่งจะต้องให้สำเร็จให้จงได้ หรือทำให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา โดยกำหนดจุดหมายปลายทางที่แน่นอน พร้อมทั้งกำหนดจุดหมายและเป้าหมายรองไว้ด้วยว่าแต่ละขั้นตอนนั้นมีจุดหมาย และเป้าหมายเพียงใดแค่ไหน

ขั้นที่ 3 C = Check  คือ  การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน ตามแผน ว่าเมื่อดำเนินงานตามแผนแล้วมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

ขั้นที่ 4 มรรค ขั้นลงมือแก้ปัญหา จัดเป็นขั้นกำหนดวิธีการและรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา กล่าวคือ การลงมือปฏิบัติหรือดำเนินการตามวิธีการอย่างละเอียดเพื่อแก้ปัญหาไปตามขั้น ตอน โดยกำหนดวางวิธีการ วางแผนงานและรายการที่จะต้องทำให้ละเอียด 

ขั้นที่ 4 A = Action  คือ  การนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน   และนำแนวการปฏิบัติที่ดีมาจัดทำแผนงานในครั้งต่อไป

ขั้นตอนของวงจรของการใช้ชีวิตอย่าง "อริยสัจ4"  + "PDCA" 
         จากรูปภาพจะเห็นได้ว่าเมื่อเราเกิดปัญหาขึ้น เช่น มาทำงานสายทุกวัน
         ขั้นที่ 1 เราจะต้องทราบก่อนว่าสิ่งที่ทำให้เรามีปัญหา ทำให้เรามาสายนั่นเกิดจากสาเหตุอะไร (อาจเป็นเพราะรถติดที่ทำให้เรามาสาย) เมื่อทราบแล้วเราก็มานั่งวางแผนมีวิธีไหนบ้างที่ทำให้เราไม่ต้องมาทำงานสาย
         ขั้นที่ 2 เราจะต้องนำแผนการที่ได้วางแผนมาแล้วมาวิเคราะห์ว่า ถ้าทำเช่นนั้นแล้วเราจะมาเร็วขึ้นรึเปล่า (เปลี่ยนเส้นทางที่ไม่รถติด) แล้วลองนำมาปฏิบัติดูว่าจะมาทำงานเร็วขึ้นหรือไม่
         ขั้นที่ 3 เมื่อเราลองเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางมาทำงานแล้ว เราก็มาดูว่าข้อมูลไหน การเดินทางเส้นไหนที่ทำให้เรามาทำงานได้รวดเร็วขึ้น
         ขั้นตอนสุดท้าย ขั้นที่ 4 เมื่อเราเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดที่ทำให้เราเดินทางมาทำงานได้รวดเร็วขึ้น แล้วก็นำวิธนั้นมาปรับปรุงในการใช้ชีวิตประจำ

- สรุปสุดท้ายง่ายๆ คือ ลองนำปัญหามานั่งคิด หาตัวที่ก่อให้เกิดปัญหา หาวิธีแก้ไขปัญหา ลองลงมือแก้ปัญหา และนำมาปรับปรุง จะเห็นได้ว่าระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้า "อริยสัจ4"  และวงจรการควบคุมคุณภาพวงจร "PDCA" ของเดมมิ่ง ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า “อริยสัจ4” ก็มีมานานแล้ว ส่วนวงจรการควบคุมคุณภาพวงจร "PDCA" ของเดมมิ่ง ก็มีการนำมาใช้ในการบริหารงานควบคุมคุณภาพเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จ และมีหลายคนที่นำวงจรนี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมานานแล้วเช่นกัน
- ใครที่กำลังมีปัญหา หาทางออกไม่ได้ ลองนำวิธีนี้ไปใช้ดูก็ได้นะค๊ะ ทุกสิ่งทุกอย่างเหนือสิ่งอื่นได้ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความไม่เที่ยง แปรปรวนไป สลายไปในที่สุด จะหาอะไรมาเป็นเรา ของเราไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ไม่ให้ไปยึดมันถือมั่น จงใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อย่ายึดติดกับปัญหา เพราะทุกปัญหามีหนทางแห่งการแก้ไข   
   By..sine.zine

 
 
 
 
 

 

 
หมายเลขบันทึก: 501140เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2012 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประยุกต์ใช้ทฤษฎีได้ดีมากค่ะ

วงจรของการใช้ชีวิตอย่าง "อริยสัจ4" + "PDCA" ===> เยี่ยมมากค่ะ ===> Excellent

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท