ที่มาของคำว่า เด็กไม่เอาถ่าน


เด็กไม่เอาถ่าน

       หลายคนคงคุ้นหูเป็นอย่างดีกับคำว่า "เด็กไม่เอาถ่าน" ซึ่งมักใช้เรียกบุคคลที่มักจะทำงานอะไรไม่สำเร็จ

        เด็กที่วันๆ เอาแต่เล่นเกมส์ออนไลน์ ไม่อ่านหนังสือเรียน การบ้านไม่ทำ งานบ้านก็ไม่เคยคิดจะหยิบจับช่วยเหลือพ่อแม่ ทานอาหารแล้วไม่รู้จักล้างจานชาม เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างพฤติกรรมของ "เด็กไม่เอาถ่าน"

         ทำไมจึงเรียก "เด็กไม่เอาถ่าน" คาดกันว่าคำนี้มีที่มาจากคำเดิม คือ "เหล็กไม่เอาถ่าน" เพราะในสมัยก่อนนั้น การหลอมเหล็กหรือตีอาวุธจากเหล็กให้แข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องใช้ถ่านในการก่อเปลวไฟจนลุกโชน เพื่อให้ความร้อนแก่เหล็ก แล้วถ่านหรือคาร์บอนจะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในเนื้อเหล็กหลังจากการถลุง ถ้าเหล็กไม่มีถ่านผสมอยู่เลย เหล็กนั้นจะมีคุณภาพต่ำ ไม่แข็งและเหนียวพอที่จะเรียกว่า เหล็กกล้า แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เหล็กเปราะ เหล็กที่ดีควรมีคาร์บอนเข้าไปผสมอยู่ประมาณ 0.1 - 1.8%

         ช่างตีอาวุธจากเหล็กในสมัยโบราณ จำเป็นต้องคิดค้นหากลวิธี เพื่อขจัดปัญหาดาบหัก เพราะแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดีทำให้เหล็กไม่เอาถ่าน จนกลายเป็นคำพูดติดปาก เปรียบเทียบนิสัยคนกับอาวุธว่า "เหล็กไม่เอาถ่าน"

 

ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ภาษาคาใจ ภาค 3 ถอดรหัสภาษาไทยที่ยัง 'ค้างคาใจ' เขียนโดย สังคีต จันทนะโพธิ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 501066เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2012 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ้อ ที่มาเป็นอย่างนี้นี้เอง ==> เหล็กไม่เอาถ่านนี้เองนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ต้องบอกว่า เหล็กๆ ม่ายเอาถ่าง ;)

ฮ่อ เปงอย่างนี้นี่เอง เลยลิงก์เรื่อง 'คนเอาถ่าน' จริงๆ มาฝากด้วยครับ เป็นเรื่องของคนใช้ถ่านเขียนรูปและเป็นศิลปินระดับชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ น่ะครับ

ยินดีค่ะ แรกๆเคยสงสัยเหมือนกันค่ะ เลยลองค้นหาดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท