e-trust กับ password ที่ต้อง update บ่อย ๆ


e-trust กับ password ที่ต้อง update บ่อย ๆ เราต้องมีสมุดเล่มน้อยจด ลงวันที่ที่เปลี่ยน และหมุนเวียนนำมาใช้ พลิกแพลงเล็กน้อย แต่ไม่วายจำผิดและกดผิด เมื่อกดผิดเกินสองครั้งต้องติดต่อศูนย์ไอที เล่นกับเรื่อง password นี้จนเรารู้จักและเป็นที่รู้จัก ไต่อันดับคนลืม password อันดับหนึ่งล่ะมั้ง

e-trust กับ password ที่ต้อง update บ่อย ๆ

ที่โรงพยาบาลนี้

University College London Hospital 

The National Hospital for Neurology and Neurosurgery 

เป็นโรงพยาบาลที่เป็นหนึ่งในเซ็นทรัลลอนดอน เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและประสาทศัลยศาสตร์

มีชื่อเรียกกันตามสถานที่ตั้งว่า QS ซึ่งย่อจาก Queen Square

 

มีภารกิจทางด้านการรักษา งานวิจัยอย่างมากมาย เป็นธรรมดาที่ระบบคอมพ์พิวเตอร์ไปไกลมาก

เริ่มตั้งแต่เวบไซต์นำเสนอข้อมูลที่นำสมัย และปรับให้ปัจจุบัน(update)กันบ่อย ๆ 

รายงานผลการวิจัย

ข่าวสารทางวิทยาการการแพทย์


ระบบการนัดผู้ป่วยออนไลน์

ฯลฯ

 

เรามาดูการล็อกอินของ ผู้ใช้ภายในหน่วยงานดีกว่า

 

เครื่องคอมพ์พิวเตอร์ มีการติดตั้งระบบป้องกันจากจุดแรกที่จะปลั๊กอินสายLan(ภาษาไทยใช้คำอะไรเอ่ย) 

เครื่องคอมพ์พิวเตอร์ มีสองระบบ ระบบเกี่ยวกับข้อมูลคนไข้ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์มี username

stick memory ใช้ได้เฉพาะชนิดที่มีการล็อค username และ password

password ที่ต้องตั้งตามคำที่เขาแนะนำ

password ที่มีระบบอัตโนมัติเตือนให้เปลี่ยนทุก...วัน

จะถูกล็อคถ้าไม่ทำตาม

 

 

เมื่อผู้ใช้คอมพ์ทิ้งคอมพ์ไประยะเวลาหนึ่ง อืมทำไมเราไม่คิดจับเวลาหรือตรวจดูนะ ว่ากี่นาที แต่ไม่นานเลยค่ะ เมื่อว่างเว้นการใช้ ต้องล็อกอินใหม่

มีอีกค่ะ ระบบที่วางเพื่อเป็น e-trust

 

วันนี้เหนื่อย ง่วง พิมพ์ผิด ขอยกยอดตอนหน้านะคะ

 

Ta ta for now :-)

 

ตัวอย่างตอนหน้า

 

e-trust กับ password ที่ต้อง update บ่อย ๆ จนเราต้องมีสมุดเล่มน้อยจด ลงวันที่ที่เปลี่ยน และหมุนเวียนนำมาใช้ พลิกแพลงเล็กน้อย แต่ไม่วายจำผิด และกดผิด  

เมื่อกดผิดเกินสองครั้งต้องติดต่อศูนย์ไอที เล่นกับเรื่อง password นี้จนเรารู้จักและเป็นที่รู้จัก ไต่อันดับคนลืม password อันดับหนึ่งล่ะมั้ง

พาให้สนิทกับคุณแมท คุณเบน มิสเตอร์ไอที คนยิ้มหล่อและใจดี ไม่มีต่อว่าสักคำ

พักนี้เริ่มขอเรียนภาษาไทยกับเราเมื่อมีเหตุให้พบกัน

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust#notebook#password#update#username
หมายเลขบันทึก: 499716เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2012 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

e-Trust... นัด ผป. Online ดีจังนะคะ

ขอบคุณค่ะ ท่าน อจ. 

คิดถึงเวลาลืม Password ของกรมสรรพากร ทุกปี 555

 

เรื่องลืม Password ประจำครับ ถ้าต้องเปลี่ยนบ่อย ผมคงไม่มีโอกาสได้ใช้แล้ว...สวัสดีครับ

Blankเขาใช้ไอทีเยอะมาก แต่ระบบป้องกันเขาสุดยอดเช่นกัน กำลังจะค่อย ๆ เรียบเรียงค่ะ

สวัสดีค่ะท่าน Blank ภูสุภา  ขอให้ท่านมีความสุขสบายดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องดีๆมาแบ่งปัน ให้อ่าน  หวังว่าท่านคงจะมาไปเยี่ยมเราบ้างนะคะ

 

Blankวันนี้พี่เกือบลืม password ของลิ้งค์ของแสกนเนอร์ที่ใช้แสกนสไลด์ชิ้นเนื้อ ขนาดความจำต่อภาพเกือบแสน kb (เอ จำผิดมั้ยเนี่ย) เพราะเครื่องแสกนเก่งมาก
แสกนอัตโนมัติ ส่งภาพออกไปโฟลเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ก่อน อย่างอัตโนมัติ เมื่อจะใช้ภาพ user ต้องล็อกอิน ไปเก็บภาพเอาเอง

แต่ละขั้นตอน มี username password เพื่อป้องกันคนละชุด 

แต่ละเครื่องPC ก็อีกชุด

อืม ผู้สูงวัยจึงต้องมีสมุดจิ๋วพกพา จด password!

นี่แค่เรื่องงานจุบจิบที่ทำอยู่ทุกวัน ถ้าจะเรียกดูประวัติคนไข้ มีป้องกันอีกหลายด่าน

ขอบคุณนะคะที่มาบ่นทำให้รู้ว่า พี่ไม่ได้ผิดปกติ

ขอบคุณค่ะ

Blank มีหลายชุดมาก ค่ะ

ชุดเครื่องคอมพ์บนโต๊ะ ต้องเข้า LAN โรงพยาบาล ทั้ง username, password
pw ต้องประกอบดวย แปดตัว มีตัวพิมพ์ใหญ่อย่างน้อยหนึ่ง ตัวเลขหนึ่ง สัญญลักษณ์หนึ่ง  

ชุดเครื่องคอมพ์อีกชุด แยก hard disk กันเด็ดขาด ตัวนี้ที่ระบบป้องกันแน่นหนา เป็นข้อมูลคนไข้
และในตัวนี้ ดูประวัติก็ username and PW อีกชุด
ดูผล เอ็กซเรย์ อีกชุด
ดูผลชิ้นเนื้อ อีกชุด
สั่งย้อมสีพิเศษหรือสั่งแลบออนไลน์ อีกชุด 

 

อ้าวลืมไป ว่าจะเขียนอีกหนึ่งตอน..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท