การสอนแบบโครงการ


ลักษณะของการสอนรูปแบบโครงงาน

  1.  เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึก  ด้วยกระบวนการคิดและแก้ปัญหา  จนพบคำตอบที่ต้องการ
  2. เรื่องที่ศึกษามาจากการเลือกตามความสนใจของเด็กเอง
  3. เด็กกำหนดประเด็นหรือคำถามที่ต้องการเรียนรู้เอง
  4. เด็กสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองจากปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งความรู้เบื้องต้นโดยตรง
  5. เวลาในการสอนแต่ละโครงงานขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก
  6. เด็กมีโอกาสได้พบกับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวตามกระบวนการการแก้ปัญหา
  7. ความรู้ที่เด็กค้นพบจะเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็นคำถามขึ้นมาใหม่เพื่อค้นหาคำตอบหรือองค์ความรู้ใหม่ต่อไป และเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจของเด็กเอง
  8. เด็ฏมีโอกาสเสนอกระบวนการการศึกษา  และผลสำเร็จของการค้นหาความรู้  การปฏิบัติกิจกรรมต่อคนอื่น
  9. ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้  หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ  แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด  และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้  ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

สาระสำคัญของการสอนแบบโครงงาน

  1. สาระหลักของรูปแบบ  คือ กระบวนการแก้ปัญหาเป็นสาระหลักในการจัดการเรียนการสอน  โดยกระตุ้นและนำเด็กค่อยๆผ่านขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาไปทีละขั้นตอนตลอดจนกระบวนการการเรียนการสอน

กระบวนการแก้ปัญหา 

            เป็นกระบวนการที่ต้องให้เด็กคิด  หาวิธีแก้ปัญหา  โดยครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดในการที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาตามวิธีการของเด็ก  รวมทั้งเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติค้นหาคำตอบของปัญหา  มีขั้นตอนดังนี้

            1.เด็กสังเกต  ศึกษาข้อมูล  รับรู้และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่จนสามารถสรุปและกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นได้

            2.เด็กอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อตระหนักในความสำคัญของปัญหา

            3.เด็กสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา  ด้วยการตั้งสมมติฐาน

            4.เด็กตรวจสอบสมมติฐาน  ด้วยการลงมือปฏิบัติค้นหาคำตอบ

2.  สาระที่เป็นเนื้อหาการเรียนรู้  เป็นเนื้อหาตามหัวข้อโครงงาน  ที่เกิดจากความสนใจจากการเลือกของเด็ก  แล้วร่วมกันกำหนดเป็นหัวข้อโครงการที่จะศึกษา

ขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอน

            การสอนแบบโครงการ  แบ่งเป็นระยะ  3  ระยะใหญ่ๆ  ด้วยกัน คือ  ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ  ระยะที่  2  พัฒนาโครงงาน  ระยะที่  3  รวบรวมสรุป  รายละเอียด  ขั้นตอน  และกิจกรรมในแต่ละระยะเป็นดังนี้

ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงงาน

            เป็นระยะที่ครูผู้สอนสังเกต/สร้างความสนใจ  ในเรื่องที่จะเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก แล้ะวตกลงร่วมกันเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เพื่อทำการศึกษาอย่างลุ่มลึก  เรื่องที่ถูกเลือกจะถูกกำหนดให้เป็นหัวข้อโครงการในระยะที่  1  นี้  มีขั้นตอนซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ  อยู่ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ 

  1.  การสังเกต และ/หรือ สร้างความสนใจของเด็ก  อาจจะดดยกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งต่อไปนี้

-  ครูนำวัตถุสิ่งของที่น่าสนใจเข้ามาในห้องเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนสังเกตอย่างใกล้ชิด ครูกระตุ้นให้เด็กสังเกตในรายละเอียดของสิ่งนั้น

-  หรือจากสถานการณ์  การเรียนการสอนปกติ  ครูกระตุ้นให้เด็กสังเกตสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

       เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กสนใจในเรื่องราวใด  ครูนำเรื่องราวนั้นมาอภิปรายร่วมกับเด็ก  ให้เป็นผู้เลือกว่าจะศึกษาหรือเรียนรู้เรื่องใด  เมื่อได้เรื่องที่ทุกคนเลือก  กำหนดเรื่องนั้นให้เป็นหัวข้อโครงการ  หากยังไม่พบความสนใจของเด็ก  ครูยอมรับเขา  ให้เวลาเขาสังเกตสิ่งอื่นที่เขาสนใจ

  1.  ร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ

-  นำเรื่องที่เด็กสนใจมาอภิปรายร่วมกัน

-  กำหนดเรื่องนั้นให้เป็นหัวข้อโครงการ

-  เด็กแลกเปลี่ยน/นำเสนอ ความรู้เดิมเกี่ยวกับหัวข้อโครงการ  ด้วยการเล่าเรื่อง  สังเกตสิ่งของ  สนทนา  วาดภาพ  หรือทำงานศิลปะอื่นๆ

 


ระยะที่  2   พัฒนาโครงงาน

            เด็กกำหนดหัวข้อคำถาม  หรือประเด็นปัญหาที่เด็กอยากรู้  เกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาช่วยกันกำหนดเป็นหัวข้อโครงการ  แล้วตั้งสมมติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้น  ทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ  จนพบคำตอยด้วยตนเอง  ในระยะที่  2  นี้  มีขั้นตอนซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ  ตามกระบวนการแก้ปัญหาอยู่ 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ  คือ 

            1.เด็กกำหนดปัญหาที่จะศึกษา  มีกิจกรรมหลักๆ  คือ เด็กๆร่วมกันอภิปราย  เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน  เพื่อตรวจสอบประเด็นที่อยากจะรู้  แล้ะวร่วมกันกำหนดเป็นคำถามหรือปัญหาที่เด็กอยากรู้แล้วอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของปัญหาร่วมกัน

            ประเด็นปัญหาที่เด็กกำหนดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การลงมือค้นหาคำตอบด้วยตัวเด็กเอง  ขั้นตอนนี้ครูต้องแสดงบทบาทที่จะช่วยให้เด็กเลือกประเด็นปัญหาที่ง่ายจนเกินไป  หรือยากจนเกินกว่าที่ความสามารถของเด็กในวัยนี้จะทำได้

            2.เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น  เด็กตอบคำถาม  (ตั้งสมมติฐาน)  โดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่  ครูจะต้องช่วยกระตุ้นความคิดของเด็กให้ขยายคำตอบหรือสมมติฐาน  ให้เป็นสมมติฐานที่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้  ในขั้นตอนนี้  ครูจะจัดทำป้ายแสดงเรื่องราวของการทำโครงงาน  ของเด็กแสดงไว้ในห้องเรียน

            3.เด็กทดสอบสมมติฐานเบื้อต้น  ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์  สถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ  เพื่อให้เด็กดำเนินการทดสอบสมมติฐานของพวกเขา  ควรดำเนินการทดสอบสมมติฐานทุกสมมติฐาน  ครูถ่ายภาพขั้นตอนการทำงาน  บันทึกคำพูดเกี่ยวกับการทำงานของเด็กไว้  เพื่อจัดทำป้ายแสดงเรื่องราว  และเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อสะสมไว้ในแฟ้มสะสมผลงานของเด็ก

            4.เด็กตรวจสอบผลการทดสอบสมมติฐาน

               4.1 กรณีที่ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน  เก็แสงหาความรู้เพิ่มเติม  อาจจะจากการไปทัศนศึกษาแหล่งความรู้เบื้องต้น  การเชิญวิทยากร  หรือกิจกรรมอื่นๆ  แล้วกระตุ้นให้เด็กๆตั้งสมมติฐานขึ้นมาใหม่

               4.2กรณีที่ผลการตรวจสอบเป็นไปตามสมมติฐาน  เด็กสรุปองค์ความรู้จากการที่เขาค้นพบคำตอบด้วยการลงมือปฏิบัติของเขาเอง

            5.เด็กสรุปข้อความรู้จากผลการตรวจสอบสมมติฐาน  เมื่อได้องค์ความรู้ใหม่แล้ว  เด็กอาจจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจของเขา  เช่น  ในโครงงาน  ก่อสร้าง  เด็กนำความรู้ที่ได้มาสร้างงานก่อสร้างในห้องเรียน  เป็นต้น  หรือ  เด็กอาจจะใช้ความรู้ที่ค้นพบเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นมาใหม่เพือกำหนดเป็นโครงการย่อย  ศึกษารายละเอียดในเรื่องนั้นต่อไป  เช่น  ในโครงงานกระดาษ  ทำกระดาษ  เด็กค้นพบวิธีทำกระดาษแล้ว  เด็กกำหนดปัญหาขึ้นไม่ว่า  กระดาษสีทำอย่างไร

ระยะที่  3  รวบรวมสรุป

            เป็นระยะสุดท้ายของโครงการ  เมื่อเด็กค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว  และเด็กได้แสดงให้ครูเห็นว่า  ได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงการเดิม  และหันเหความสนใจออกไปสู่เรื่องใหม่  ระยะนี้เป็นระยะที่ครูและเด็กๆ จะได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงาน  และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานตลอดโครงงานแก่คนอื่นๆ  มีกิจกรรมที่ดำเนินในขั้นตอนนี้  ดังนี้

            ครูสังเกตความสนใจของเด็กที่หันเหออกไป  แล้วนำอภิปรายถึงวิธีการทำงาน  ผลของงาน  แล้วจัดแสดงผลงานตลอดโครงงาน  อาจมีการเชิญเพื่อนๆ  ฟ้องอื่นๆ  มาชมผลงาน  เชิญผู้ปกครอง  ถ้าเป็นไปได้  และครูจะสังเกตความสนใจใหม่ที่เกิดขึ้น  เพื่อกำหนดเป็นหัวข้อโครงการใหม่ที่จะศึกษาต่อไป

การประเมินผลการเรียนการสอน

            กระบวนการประเมินผล  เป็นกระบวนการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ใช้บันทึกคำพูดของเด็ก  เก็ยรวบรวมผลงานของเด็กมุ่งเน้นที่ความต้องการ  การช่วยเหลือและการประสบความสำเร็จของผู้เรียนแต่ละคน  ไม่ใช่การประเมินผลที่มุ่งให้คะแนนผลการทำงาน  และจัดลำดับที่เปรียบเทียบในกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างการโครงการ  ผักกาดดอง

 

 

ระยะที่  1

ระยะเริ่มต้นโครงการ

 

 

        จากการทำโครงการในครั้งนี้  เริ่มจากการที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง “พืชผักสวนครัว” ทำให้นักเรียนได้รู้จักผักชนิดต่างๆมากมายและผักแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณที่ต่างกัน นักเรียนแต่ละคนก็ได้แสดงความคิดเห็นและเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับผักที่ตนเองชอบและเคยรับประทาน ซึ่งความคิดก็แตกต่างกันออกไป คุณครูจึงได้ทำโครงการเกี่ยวกับผักสวนครัว  โดยให้นักเรียนเป็นคนเลือกว่าอยากจะเรียนรู้ผักอะไร    

 

  น้องข้าวโอ๊ต  :          โอ๊ตอยากรู้ผักคะน้าเพราะเคยเห็นแม่ทำ

              น้องเจ้านาย  :          เรียนผักบุ้งดีกว่าโตไว

              น้องภูฟ้า        :          ภูฟ้าชอบแตงกวาอร่อยดี

              น้องน้ำขิง    :          ที่บ้านขิง คุณพ่อปลูกผักขายมีผักกาดด้วยขิงเคยช่วยรดน้ำ

              น้องเกรซ 2   :          กะเพราก็มีค่ะนำมาผัดมีกลิ่นหอม

 

 

            นักเรียนก็ได้เสนอชื่อผักต่างๆมา  คุณครูจึงใช้วิธีการลงคะแนนเสียงในชั้นเรียนจากจำนวนนักเรียน 39 คน  ได้ดังนี้  ผักบุ้ง  5  คะแนน  ผักคะน้า  7  คะแนน  ผักกาด  18  คะแนน  แตงกวา  7  คะแนน  กะเพรา  2  คะแนน  คุณครูจึงสรุปจากการลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่นักเรียนเลือกที่จะอยากเรียนรู้เรื่อง  ผักกาด  ด้วยคะแนนเสียงที่มากที่สุด

           

 

           

 

            จากการที่นักเรียนได้เลือกที่จะเรียนเรื่อง  ผักกาด  จึงได้มีการสืบค้นข้อมูลของผักกาดจากสถานที่ สื่อต่างๆจากหนังสือพิมพ์  อินเตอร์เน็ต  จากการสอบถามผู้ปกครองและนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในชั้นเรียนร่วมกับเพื่อนๆและคุณครู  นอกจากนี้ภายในห้องเรียนคุณครูยังได้จัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียนมีการจัดมุมความรู้ต่างๆให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า  เช่นรูปภาพผักกาดชนิดต่างๆ  ผลผลิตจากผักกาด  ข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณของผักกาด  นอกจากนี้นักเรียนยังได้สัมผัสลองชิมผักกาดของจริง  มีการเปรียบเทียบลักษณะของผักกาดแต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไร มีการจัดกิจกรรมที่ครูทำร่วมกับนักเรียน  เช่น  การร้องเพลง  “ปลูกผัก” พร้อมทำท่าประกอบ การเล่านิทานและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น การสร้างผลงานศิลปะจากการวาดภาพผักกาดในฝัน และการลงมือปลูกผักกาดเอง และนำผักกาดที่ได้มาแปรรูปเป็นผักกาดดอง นับว่าเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง ผักกาด ได้อย่างดียิ่งและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

            นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักกาดและการดูแลผักกาดอย่างถูกวิธี  และเรียนรู้วิธีที่จะนำผักกาดที่เหลือไปแปรรูปเป็นผักกาดดอง  ทำให้ผักกาดอยู่ได้นาน  และช่วยกันหาว่าผักกาดชนิดไหนที่จะนำมาทำผักกาดดองได้

 

 

 

 

 

ระยะที่  2

ระยะพัฒนาโครงการ

 

 

 

กำหนดปัญหา  :  ผักกาดชนิดไหนที่สามารถนำมาทำผักกาดดองได้

ตั้งสมมติฐาน

 

                                     กลุ่มที่  1                     ผักกาดขาว

                                     กลุ่มที่  2                     ผักกาดเขียว

                                     กลุ่มที่  3                     ผักกาดหอม

                                     กลุ่มที่  4                     ผักกาดแก้ว

 

 

กลุ่มที่  1      ผักกาดขาว

รายชื่อสมาชิก

1.  น้องเกรซ  1                                    6.  น้องแซน

2.  น้องแป้ง                                         7.  น้องน้ำขิง

3.  น้องดีด้า                                         8.  น้องม่อน

4.  น้องพีท                                           9.  น้องโมโม

5.  น้องข้าวโอ๊ต                                   10. น้องภูมิ  1

 

 

กลุ่มที่  2      ผักกาดเขียว

รายชื่อสมาชิก

1.  น้อง            ออม                                         6.  น้องภูมิ  2

2.  น้อง            ลากูน่า                                     7.  น้องภูธน

3.  น้อง            เพลง                                        8.  น้องบีม

4.  น้อง            เกรซ  2                                    9.  น้องแจ๊กกี้

5.  น้อง            น้ำต้น                                      10. น้องภูฟ้า

 

 

 

กลุ่มที่  3      ผักกาดหอม

รายชื่อสมาชิก

1.  น้องเตเต้                                         6.  น้องซี  2

2.  น้อง            ชัญญ่า                                     7.  น้องกีตาร์

3.  น้อง            ไอวี่                                          8.  น้องเจ้านาย

4.  น้อง            ณัช                                          9.  น้องนีม

5.  น้องไอเดีย                                      10.น้องซี  1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลุ่มที่  4      ผักกาดแก้ว

รายชื่อสมาชิก

1.  น้องอุ๋ม                                           6.  น้องปราชญ์

2.  น้อง            ฟ้า                                            7.  น้องนัท

3.  น้อง            แพนเค้ก                                  8.  น้องกิมหยู

4.  น้อง            แดเนียล                                   9.  น้องนล

5.  น้อง            มิ๊กกี้                

 

 

 

 

 

ทดสอบสมมติฐาน

กลุ่มที่  1  ผักกาดขาว

ทดลองทำผักกาดดอง

อุปกรณ์

1.   ผักกาดขาว

2.  เกลือ

3.  น้ำ

4.  ตราชั่ง

5.  ขวดโหล

วิธีการทำผักกาดดอง

1.  นำผักกาดขาวมาล้างน้ำให้สะอาดและนำผักไปตากแดดให้เหี่ยว

2.  นำผักกาดขาวที่ได้มาเคล้ากับเกลือ

3.  ต้มน้ำเกลือ  (เกลือ  75  กรัม  ต่อน้ำ  1  ลิตร)  ให้เดือดทิ้งไว้จนเย็น

4.  นำผักกาดขาวใส่ขวดโหลที่เตรียมไว้  ใส่น้ำเกลือจนท่วมผักกาดขาว  จากนั้นปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  10 – 15 วัน จึงจะรับประทานได้

 

 

 

ระยะเวลาทดลอง 

เริ่มวันที่               6  กันยายน  2553    

สิ้นสุดวันที่        19  กันยายน  2553

ผลการทดลอง

            ไม่ประสบผลสำเร็จ  เพราะ ผักกาดที่นักเรียนนำมาดองนั้น  คือ  ผักกาดขาว

ระยะเวลาที่ใช้ดองรวมเวลาทั้งสิ้น  14  วัน  ปรากฏว่า  ผักกาดขาวที่นักเรียนนำมาดองนั้น 

ไม่เปลี่ยนสี  ยังคงลักษณะเดิม  น้ำก็เปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น  ไม่สามารถนำมารับประทานได้

                

 

ทดสอบสมมติฐาน

กลุ่มที่  2  ผักกาดเขียว

ทดลองทำผักกาดดอง

อุปกรณ์

1.   ผักกาดเขียว

2.  เกลือ

3.  น้ำ

4.  ตราชั่ง

5.  ขวดโหล

วิธีการทำผักกาดดอง

1.  นำผักกาดเขียวมาล้างน้ำให้สะอาดและนำผักไปตากแดดให้เหี่ยว

2.  นำผักกาดเขียวที่ได้มาเคล้ากับเกลือ

3.  ต้มน้ำเกลือ  (เกลือ  75  กรัม  ต่อน้ำ  1  ลิตร)  ให้เดือดทิ้งไว้จนเย็น

4.  นำผักกาดขาวใส่ขวดโหลที่เตรียมไว้  ใส่น้ำเกลือจนท่วมผักกาดเขียว  จากนั้นปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  10 – 15 วัน จึงจะรับประทานได้

 

 

ระยะเวลาทดลอง 

เริ่มวันที่               6  กันยายน  2553    

สิ้นสุดวันที่        19  กันยายน  2553

ผลการทดลอง

            ประสบผลสำเร็จ  เพราะ ผักกาดที่นักเรียนนำมาดองนั้น  คือ  ผักกาดเขียว

ระยะเวลาที่ใช้ดองรวมเวลาทั้งสิ้น  14  วัน  ปรากฏว่า  ผักกาดเขียวที่นักเรียนนำมาดองนั้น 

เปลี่ยนสีจากในสีเขียวเข้มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง  และน้ำที่ใช้ดอง  ก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองด้วยเช่นกัน  จากการสอบถามหลายๆคน  ก็สรุปได้ว่า  ผักกาดเขียวที่นำมาดองนั้นสามารถรับประทานได้

 

 

ทดสอบสมมติฐาน

กลุ่มที่  3    ผักกาดหอม

ทดลองทำผักกาดดอง

อุปกรณ์

1.   ผักกาดหอม

2.  เกลือ

3.  น้ำ

4.  ตราชั่ง

5.  ขวดโหล

วิธีการทำผักกาดดอง

1.  นำผักกาดหอมมาล้างน้ำให้สะอาดและนำผักไปตากแดดให้เหี่ยว

2.  นำผักกาดหอมที่ได้มาเคล้ากับเกลือ

3.  ต้มน้ำเกลือ  (เกลือ  75  กรัม  ต่อน้ำ  1  ลิตร)  ให้เดือดทิ้งไว้จนเย็น

4.  นำผักกาดหอมใส่ขวดโหลที่เตรียมไว้  ใส่น้ำเกลือจนท่วมผักกาดหอม  จากนั้นปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  10 – 15 วัน จึงจะรับประทานได้

 

ระยะเวลาทดลอง 

เริ่มวันที่               6  กันยายน  2553    

สิ้นสุดวันที่        19  กันยายน  2553

ผลการทดลอง

            ไม่ประสบผลสำเร็จ  เพราะ ผักกาดที่นักเรียนนำมาดองนั้น  คือ  ผักกาดหอม

ระยะเวลาที่ใช้ดองรวมเวลาทั้งสิ้น  14  วัน  ปรากฏว่า  ผักกาดหอมที่นักเรียนนำมาดองนั้น 

ไม่สามารถรับประทานได้  เนื่องจาก  ผักกาดหอมเน่า  ใบเปลี่ยนเป็นสีดำและยุ่ย  น้ำที่ใช้ดองก็เปลี่ยนสีเป็นสีดำเช่นเดียวกัน
ทดสอบสมมติฐาน

กลุ่มที่  4    ผักกาดแก้ว

ทดลองทำผักกาดดอง

อุปกรณ์

1.   ผักกาดแก้ว

2.  เกลือ

3.  น้ำ

4.  ตราชั่ง

5.  ขวดโหล

วิธีการทำผักกาดดอง

1.  นำผักกาดแก้วมาล้างน้ำให้สะอาดและนำผักไปตากแดดให้เหี่ยว

2.  นำผักกาดแก้วที่ได้มาเคล้ากับเกลือ

3.  ต้มน้ำเกลือ  (เกลือ  75  กรัม  ต่อน้ำ  1  ลิตร)  ให้เดือดทิ้งไว้จนเย็น

4.  นำผักกาดแก้วใส่ขวดโหลที่เตรียมไว้  ใส่น้ำเกลือจนท่วมผักกาดแก้ว  จากนั้นปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  10 – 15 วัน จึงจะรับประทานได้

ระยะเวลาทดลอง 

เริ่มวันที่               6  กันยายน  2553    

สิ้นสุดวันที่        19  กันยายน  2553

ผลการทดลอง

            ไม่ประสบผลสำเร็จ  เพราะ ผักกาดที่นักเรียนนำมาดองนั้น  คือ  ผักกาดแก้ว

ระยะเวลาที่ใช้ดองรวมเวลาทั้งสิ้น  14  วัน  ปรากฏว่า  ผักกาดแก้วเปลี่ยนสีโดยเริ่มจากขอบใบ  และก้านค่อยๆเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลและใบค่อยๆเปื่อยและยุ่ยออก  มาสามารถนำมารับประทานได้

 

 

 

ระยะที่  3

สรุปสมมติฐาน

 

สรุปผลการทดลอง

จากการที่นักเรียนได้ลงมือทดลองการทำผักกาดดอง  โดยใช้การตั้งสมมติฐาน  จากผักกาดทั้ง  4  ชนิด  ได้แก่  ผักกาดขาว  ผักกาดเขียว  ผักกาดหอม  และผักกาดแก้ว  ก็สรุปออกมาได้ว่า  ผักกาดที่ใช้ดองและสามารถรับประทานได้คือ  ผักกาดเขียวเท่านั้น

วันศุกร์ที่  24  กันยายน  2553

            จากการที่นักเรียนได้เรียนรู้  จากการสังเกตและการเรียนรู้จากสื่อของจริง  ทำให้เด็กๆได้รู้จักผักกาดหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีประโยชน์และวิธีการนำมาประกอบอาหารที่แตกต่างกัน  นักเรียนได้รับความรู้ต่างๆจากวิทยากรในการทำผักกาดดอง  นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้และลงมือทำการทดลองจนได้ข้อสรุปออกมาว่า  ผักกาดเขียวสามารถนำมาทำผักกาดดองได้  นักเรียนได้รู้จักการแปรรูปผักกาดดอง    ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น  จากการทำโครงงานในครั้งนี้  นักเรียนได้รู้จักคิดและมีความกล้าที่จะนำเสนอความคิดเห็นของตนเองได้  และมีการนำผักกาดดองมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน  คือ  ต้มผักกาดดองกับกระดูกหมู  เมื่อเสร็จสิ้นโครงการนี้แล้วนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติในครั้งนี้  ไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้

           

 

 

 

 

         

         

 

หมายเลขบันทึก: 499247เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท