วิสัยทัศน์ผู้กำกับตรวจสอบความปลอดภัย กรมการบินพลเรือน


งานผู้คุ้มครองผู้บริโภคด้านการบินคือคือการตรวจสอบทุกสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนผู้โดยสารและผู้คนบนพื้นดิน พร้อมบ่งชี้และเร่งรัดการแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ตามที่รัฐได้กำหนดเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของผู้บริโภค ได้แก่ ผู้โดยสาร ลูกเรือ และบุคลากรเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบิน

.....ข้าราชการ ....ผู้ที่ทำงาน ด้านการกำกับดูแล ตรวจสอบ และผู้ปฏิบัติงานด้านการบิน.... ควรตั้งปณิธานและระลึกถึงอยู่สม่ำเสมอว่า.... ในเมื่อเราได้มีโอกาสทำงานให้พ่อหลวง... ในด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยในการบิน... เพื่อให้ชาวไทยทุกคนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน.... เราต้องตระหนักอยู่ในจิตใจเสมอว่า เราต้องรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญอยู่.. สำคัญคือ....

1. จิตสำนึกรับผิดชอบ รับผิดชอบในคน ระบบ อุปกรณ์ ขั้นตอนและวิธีการ อันจะส่งผล เกิดส่วนได้ส่วนเสีย โดยตรงอย่างใหญ่หลวงต่อคนจำนวนมาก ฉนั้น ปณิธาน หรือวิธีคิดมุมมองของผู้ที่ทำหน้าที่อันสำคัญนี้ ...จึง...

2. ความเที่ยงความตรง ควรที่จะมีสติกำกับการปฏิบัติงานตลอดเวลา ปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท ยุติธรรม แน่วแน่เถรตรง ด้วยความเที่ยงเสมอต้นเสมอปลาย... ตลอดจน...

3. การถ่ายทอดการแบ่งปัน ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์(Tacit Knowledge) ให้เป็นแบบอย่างการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) ต่อกันในทุกรุ่น ต่อไปในภายภาคหน้า นักตรวจสอบที่ดีต้องสามารถอธิบายให้คำปรึกษาการแก้ไขได้ด้วย ที่เรียกว่า งานราชการต้องเป็นที่ปรึกษาให้กับประชาชน เพราะราชการรู้กฎระเบียบ ฉนั้นจึงเป็นผู้ที่รู้ว่าทำอย่างไร แก้ไขอย่างไร จึงจะถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กฎระเบียบ ที่กำหนด

4. วิสัยทัศน์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภคด้านการบิน พึงระลึกเสมอว่าเราจะไม่ยอมปล่อยให้วัตถุใดๆ ทั้งที่เป็นอากาศยานและสิ่งเทียมอากาศยาน ตลอดจนอากาศยานเบาพิเศษ บินล่องไปในอากาศ เหนือศีรษะประชาชนชาวบ้านที่ทำมาหากินอยู่อย่างปกติสุขด้านล่างเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตามสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนควรได้รับความปลอดภัยจากบริการบริการขนส่งสาธารณะ ตลอดจนด้านมลภาวะทางเสียง มลพิษทางอากาศ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม มีกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก

5. พัฒนากฏระเบียบให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เราต้องแก้ไข ปรับปรุง กำหนดกฎเกณฑ์ให้เมาะสมกับปัจจบัน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หมั่นตรวจตราการปฏิบัติงานด้วยความรัดกุม ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร รวมถึงการรณรงรค์ให้ตระหนักถึงความไม่ประมาท การปลอดภัยไว้ก่อน การปฏิบัติงานครบถ้วนสมบูรณ์ตามวิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในคู่มือการปฏิบัติงาน ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขและถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติงานให้เป็นปัจจุบันมาแล้วว่าเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความปลอดภัย อย่างเคร่งครัด

6. บ่งชี้อันตรายต่ออากาศยาน(Identify Hazard To Aircraft) และบ่งชี้สภาวะที่ไม่ปลอดภัย (Identify Unsafe Condition) จะดำเนินการตรวจวิเคราะห์สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออากาศยาน ขณะขับเคลื่อนบนภาคพื้น ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด เพื่อบ่งชี้สิ่งต่างๆ เพื่อจะได้แก้ไข หรือนำไปประเมินความเสี่ยง กำหนดมาตรการ วิธีปฏิบัติเพิ่มเติม ทุกทางที่จะลดความเสี่ยงด้านการบินให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยโดยเท่าเทียมกัน ด้วยความมั่นใจว่า มีข้าราชการกรมการบินพลเรือน ช่วยกำกับดูแลความปลอดภัยในด้านการบินอย่างรัดกุมเข้มงวดที่สุด

7. การรับรองสนามบิน (Aerodrome Certification) พัฒนาขั้นตอน วิธีการและเครื่องมือการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยสนามบิน อย่างมีขั้นตอนแบบแผนการตรวจที่มาตรฐานสากล โดยที่ชาวบ้านจะต้องดำรงชีพอยู่อย่างมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ในระดับที่มีความมั่นใจสูง คือไม่ต้องกังวลใจ ทุกข์ใจ คอยระแวดระวัง ในเรื่องการเดินทางๆเครื่องบิน....

8.การกำกับดูแลที่เข้มงวด การตรวจสอบเพื่อหาความเสี่ยงและประเมิน จัดการ เพิ่มาตรการ แก้ไขปรับปรุง คน อุปกรณ์ เครื่องจักร ขั้นตอนปฏิบัติงาน และเงื่อนไขเกี่ยวข้อง มีรูปแบบอันตรายแบบ ที่มองเห็นได้ และแบบซ่อนเร้น (Model Of Latent And Active Failures7) มีรายละเอียดความผิดพลาดจากมนุษย์ 4 ระดับ ได้แก่

8.1 อิทธิพลขององค์กร เช่น การบริหาร บรรยากาศการทำงานภายในองค์กร และกระบวนการระบบปฏิบัติขององค์กร ซึ่งรวมถึงการจำกัดเวลา ปริมาณผลงาน มาตรฐานงาน ค่าตอบแทน ข้อกำหนดขั้นตอนปฏิบัติ และการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น

8.2 การกำกับดูแลที่ไม่ปลอดภัย เช่น การกำกับดูแล ที่ไม่เพียงพอวางแผนการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม แก้ปัญหาข้อขัดข้องที่ไม่ถูกจุด และขาดการกำกับดูแล หรือกำกับดูแลไม่ถูกวิธี

8.3 สภาพเงื่อนไขที่เสริมให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย เช่น สภาพเงื่อนไขของผู้ปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือของผู้ปฏิบัติมีการฝึกที่ยังไม่ได้มาตรฐาน

8.4 การกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ เช่น การกระทำของนักบิน ลูกเรือ ช่างอากาศ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เจ้าหน้าที่ลานจอดท่าอากาศยาน ฯลฯ มีการกระทำที่ผิดพลาด หรือกระทำโดยฝ่าฝืนกฎเกณฑ์การปฏิบัติ

..... ถ้ารู้รายละเอียดความเสี่ยงแต่เนิ่นก่อนเกิดเหตุ แบบนี้พวกเราข้าราชการกรมการบินพลเรือน ก็ควรที่จะทำหน้าที่ของพ่อหลวงให้ดีที่สุด เพื่อพสกนิกรของพ่อ จะได้ดำรงชีพอยู่ด้วยความสุข ความร่มเย็น ไพร่ฟ้าหน้าใสแล....

อ้างอิง ที่มาข้อ 8.1-8.4 คุณณัฐวุฒิ ศิลาโชติ

:http://www.gotoknow.org/posts/292153


......การปฏิบัติภาคพื้นต้องให้ชัด
มาตรการจัดให้เพิ่มเติมที่ขาด
จัดให้มีกราวนด์คอนโทรลเพื่อนำพา
พาให้ตรงหลุมจอดให้ปลอดภัย
.......ระยะต่อระยะห่างต้องตรวจเข้ม
ที่ต้องเน้นคือระวังการสับสน
เครื่องหมายจัดชัดเจนให้คงทน
ให้เพิ่มจนแน่ชัดจัดให้มี

.......เรื่องป้ายบอกป้ายทางสัญลักษณ์
เร่งต้องจัดงบประมาณด่วนเร็วจี๋
ในเมื่อบ่อยที่เกิดโลว์visibility
ก็ต้องตรวจตรากันถี่จี้ให้ทำ
.......การปรับปรุงอะไรในไซต์งาน
ล้วนต้องมีคำถามความจริงแก้
กายภาพแก้ด้วยขั้นตอนก่อนดีแท้
เพราะแก้เร็วทันทีหนีความเสี่ยง

.......การกำกับด้วยคู่มือสนามบิน
เป็นกระบวนการกลไกไม่ไขสือ
วิธีชัดขั้นตอนปฏิบัติในคู่มือ
ถ่ายทอดสื่อให้เข้าใจในทุกคน
.......วิธีใหม่เกณฑ์ใหม่ๆของICAO
ต้องปรับลงทุกด้านตั้งงบหา
จัดลำดับกำหนดเสร็จคาดหวังว่า
ประเมินมาว่าต้องเสร็จในกี่เดือน

......อีกระบบsmsต้องเดินหน้า
เร่งจัดหามาตรการทุกยามว่าง
ออกไปดูไปตรวจสถาพจริงทุกโมงยาม
เฝ้าหาถามกูรูมีชี้ให้จริง
......อย่าแบกปัญหามีหนี้ในอก
งานสนามบินรับผิดชอบแค่คนเดียวไม่ได้
ทุกส่วนสรรพ พะกำลังแบ่งกันไป
ร่วมมือไซร้ปัญหามาปัญญามี
.....ชี้จุดอ่อนจุดบกพร่องจุดควรปรับปรุง
ไม่ด่วนสรุปเขาอาจปรับปรุงไปแล้วไม่เวิร์ก
เปิดโอกาสให้อธิบายไม่แชเชือน
จุดอ่อนแอปรากฎทีที่เหตุตรง
......ฝากน้องๆผองเพื่อนพี่มีแต่ให้
ให้ความปลอดภัยแก่กันและกันล้วนดีแน่
ชี้จุดอ่อนนี่เพื่อนดีนี่สิแคร์
ชี้จุดแก้แนะนำทางประสบการณ์มี
.......เอาปัญหาลงจากบ่าไว้บนโต๊ะ
ตรวจเอกสารsmsน่าตระหนกระดมคิด
เร่งมาตรการขั้นตอนปฏิบัติดีที่สุดในชีวิต
จงเตรียมได้อย่างที่คิดจะนอนหลับสบาย
......เพราะปัญหาประชาชนทุกคนควรได้รับ
แก้ไขอย่างดีที่สุดกับทุกท่าน
ถ้าทำได้เรานอนสดับตรับฟังธรรม
คิดทุกวันวิธีคุ้มครองประชาชน
....ทำทุกอย่างทำทุกทีที่ทำได้
ทำทุกอย่างด้วยใจเราปรารถนา
ทำทุกอย่างให้ดีสมราคา
ทำทุกสิ่งอันมีค่ากับทุกคน
.....ด้วยหลักการเหตุผลผ่อนปรนได้
มุ่งผลสำฤทธิ์ด้วยนั้นเป็นกำไร
นิติธรรมนำมาใช้ให้งานเดิน......
....ทำทุกสิ่งที่เราคิดว่าดีให้เร็วเห็นผลลัพธ์และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสิ่งนี้จะเป็นน้ำเลี้ยงจิตใจและเป็นสิ่งที่ประชาชนยอมรับได้เมื่อเกิดอะไรขึ้นก็ตาม-แด่ชาวสนามบินและผู้(ถูกกำหนดให้มาทำหน้าที่)ตรวจสอบฯ
โสตถิทัศน์ฯ๒๕๕๙

...................................................................................................................

......งานที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตชาวบ้าน ต้องคิดให้จริงจัง พูดให้จริงจัง ทำให้จริงจัง ด้วยสำนึกรับผิดชอบสาธารณะ จะต้องซีเรียส ตระหนัก คิดทุกขณะจิต ว่าหากช้าไป วิจิกิจฉาสงสัยในหลักการเมื่อไร เห็นจะเสียหายต่อสังคมทุกขณะไม่ทันการณ์เป็นแน่ ....

.......จึงขอให้ช่วยเร่งคิดเร่งทำเพื่อคุ้มครองผู็บริโภค หากความเสี่ยงยังไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยหลักการถึงที่สุด ผู้รับผิดชอบจะต้องไม่ยอมปล่อยให้เป็นกับดักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน - ตรวจสนามบินสุวรรณภูมิภาคกลางคืน(Night Inspection)

....................................................................................................................


หมายเลขบันทึก: 498679เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท