นั่งนานกี่นาที,เสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน+ขาบวม


.
สำนักข่าว Dailymail ตีพิมพ์เรื่อง 'Lunchtime health risk: How that quick sandwich at your desk can double risk of DVT' = "ความเสี่ยงสุขภาพมื้อเที่ยง: แซนด์วิชจานด่วนที่โต๊ะทำงานเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน 2 เท่าได้อย่างไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ทำในมือโปร (professionals) หรือผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น พยาบาล หมอ ทนายความ ฯลฯ อายุ 21-30 ปี และนักเล่นวิดีโอเกมส์อายุ 16-21 ปี 1,000 คน
.
กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในออฟฟิซ 3/4 ของทั้งหมดนั่งกินข้าวเที่ยงที่โต๊ะทำงาน, นักเล่นเกมส์ 9/10 ของทั้งหมดเล่นเกมส์ติดต่อกันนานกว่า 90 นาที โดยไม่มีช่วงพัก (เบรค / break)
.
ผลการศึกษาพบว่า การนั่งนิ่งๆ นาน 90 นาที = 1.5 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา (ด้านหลังข้อเข่า - ตรงข้อพับ) ลดลง 50%
.
การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง, อ.ดร.ริเชิร์ด เบียสเลย์ และคณะ จากสถาบันวิจัยการแพทย์ นิวซีแลนด์ ทำการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างคนที่กินข้าวเที่ยงที่โต๊ะทำงานเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน หรือการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (ส่วนใหญ่เกิดในกล้ามเนื้อน่อง) เพิ่มขึ้น 2.2 เท่า
.
ดร.เบียสเลย์ กล่าวว่า คนที่นั่งๆ นอนๆ ไม่เคลื่อนไหว และไม่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพิ่มเสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด
อังกฤษ (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทย มีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (deep vein thrombosis / DVT) กว่า 60,000 ราย/ปี
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ การนั่งนิ่งนานๆ ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง เพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก เช่น หลอดเลือดดำในกล้ามเนื้อน่อง ฯลฯ มากขึ้น
.
ระดับน้ำตาล-ไขมัน-โคเลสเตอรอล-โปรตีน-เกลือแร่ในเลือดมักจะเพิ่มขึ้นหลังอาหาร ทำให้เลือดมีความข้นหนืดสูงขึ้น, เมื่อรวมกับการนั่งนิ่งนานๆ จะเพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด
.
ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจหลุดลอยไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดส่วนต่างๆ เช่น ปอด สมอง ฯลฯ ได้
.
การฝึกนิสัยไม่นั่งนิ่งนานๆ เช่น เหยียด-งอข้อเท้า, เหยียดงอข้อเข่า ฯลฯ เป็นพักๆ, การดื่มน้ำให้มากพอตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน การพักหรือเบรคทุกๆ 1-1.5 ชั่วโมง เพื่อเดินไปมา เข้าห้องน้ำ ล้างมือ ดื่มน้ำ มีส่วนช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้
.
ถ้าจำเป็นต้องกินข้าวที่โต๊ะทำงาน... การยืนกิน หรือการเดินช้าๆ หลังอาหาร (ไม่ใช่เดินเร็วหลังอาหาร) แบบที่โบราณเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร" น่าจะช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้ในระดับหนึ่ง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 498428เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท