CoPs ด้านการวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์


CoPs ด้านการวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

COPs  ด้านการวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

 

  1. อาจารย์ธนัณชัย  สิงห์มาตย์             คณะวิทยาการจัดการ
  2. อาจารย์วัชรา  ไชยตะมาตย์              คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. อาจารย์นภาพร  เวชกามา                คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  4. อาจารย์เกศจิตต์  ขามคุลา               คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  5. อาจารย์บัณฑิต  สวัสดี                    คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  6. อาจารย์จิรกฤต  รองชัย                   สำนักวิเทศสัมพันธ์ฯ            

 

การวิจัยเรื่องที่ 1

เรื่องเล่าจากการวิจัยในชุมชน กลุ่มเกษตรทำนานาใส่ อำเภอกุดชุม  จังหวัดยโสธร “จากการลงพื้นที่

ศึกษาชุมชนสิ่งที่ได้กลับมามีมากมาย แต่สิ่งที่เราให้กับชุมชนไปมีอะไรบ้าง ?” นี่คือคำถามที่เราให้ฐานะ

นักวิจัยยังคงคิดอยู่เสมอ

        จากการวิจัย ทำให้ตัวดิฉันเองได้เรียนรู้ กิจกรรม การดำเนินงาน และความต้องการของสมาชิก ที่

สามารถและเปลี่ยนระหว่างทีม ดังนั้นจากการวิจัยในครั้งนี้สิ่งที่ดิฉันสามารถได้หลักคิดจากการวิจัยของ

ชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างดี ที่เป็นหลักคิดให้เกษตกร เปลี่ยนแปลงการผลิตทาง

การเกษตรโดยมี

 

หลักคิดที่ได้

-          เกษตรกรในชุมชนต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตทางการเกษตร ให้เป็นเกษตรยั่งยืนที่มีการผลิตหลากหลาย และไม่ใช้สารพิษและสารเคมี สร้างกระบวนการกลุ่ม เพื่อการเรียนรู้สู่การแก้ปัญหาชุม

 

แนวทางการบริหารจัดการ

-          เน้นเรื่องประโยชน์ของสมาชิก และการจ้างงานในชุมชน มากกว่ากำไรสูงสุด

-          ยึดความเสียสละ และชื่อสัตย์

-          มีสวัสดิการให้คนทำงาน สมาชิก และชุมชน

-          การดำเนินการจะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการผลิตแบบยั่งยืน

 

วิจัยเรื่องที่  2

การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ : เทคนิคการตัดแต่งกิ่งมะเขือเทศ

 

  1. ในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศทั่วไปจะปลูกมะเขือเทศแบบไร่ โดยเมื่อปลูกไปแล้วไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ และการเกิดโรคแมลงค่อนข้างมาก ดังนั้นนักวิจัยจึงหาวิธีการจัดการที่ถูกต้อง สามารถเพิ่มผลผลิตและป้องกันกระบวนการเกิดโรคที่เกิดกับมะเขือเทศ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิค การจัดการการตัดแต่งมะเขือเทศ (สายพันธุ์เลื้อย) เข้ามา โดยการตัดแต่งกิ่ง /ช่อผลจะช่วยเพิ่มผลผลิต และป้องกันการเกิดโรคและแหล่งอาศัยของศัตรูมะเขือเทศ

 

ขั้นตอน

-          ไว้กิ่ง main 2 กิ่ง

-          ตัดแต่งใบล้างจนถึงง่ามแรก

-          ตัดแต่งช่อดอกแรก

-          ตัดแต่งและไว้ช่อผล 7-10 ช่อ

-          สำหรับมะเขือเทศพันธ์เลื้อยควรไว้ช่อดอก 7-10 ดอก ปลายช่อดอกให้ตัดทิ้ง

 

       เรื่องที่ 3   อาหาร GI ต่ำ

     อาหาร GI ต่ำ คืออาหารที่มีค่าดัชนีนน้ำตาลต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลแบ่งเป็น 3ระดับ คือ น้อยกว่า 55 เป็นอาหาร GI ต่ำ 55-69 เป็นอาหาร GI ปานกลางมากว่าหรือเท่ากับ 70 เป็นอาหาร GI สูงอาหารต่ำเช่น ผักผลไม้ ชนิดต่างๆ(ยกเว้นผลไม้ที่รสหวานมาก) ถั่วชนิดต่างๆ นม โยเกิร์ต อาหาร GI สูงเช่นข้าวขาว ขนมปังขาว

    ค่า GI ของอาหารมีประโยชน์อย่างไร?   ค่าGI ของอาหารใช้ในการวางแผนการบริโภคอาหารสำหรับบุคคลทั่วไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อรักษาระดับสมดุลของน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานอาหารนั้นๆ  ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

   แนวคิดในการนำไปใช้ในการวิจัย สามารถนำแนวคิดนี้ไปพัฒนากระบวนการแปรรูบอาหารประเภทแป้งเพื่อลดค่า GI ของอาหารชนิดนั้นๆ  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 498077เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท