ให้อาหารน้อง(หมา แมว)-ระวังท้องเราเสีย


.
สำนักข่าว wsj ตีพิมพ์เรื่อง 'Dog food linked to salmonella infections in 14 people' = อาหารน้อง(หมา แมว ฯลฯ)มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซาลโมเนลลา(ทำให้ท้องเสีย ไข้ ปวดท้อง สูญเสียน้ำ-เกลือแร่จนอาจช็อคได้) 14 ราย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
FDA (คณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐฯ) รายงานว่า คนที่ป่วยไม่ได้แย่งอาหารน้องๆ (หมา แมว ฯลฯ) ไปกิน ทว่า... มีการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารสัตว์
.
เหตุการณ์นี้เกิดกระจายกันใน 9 รัฐ, ในจำนวนคนไข้ 14 ราย - พบป่วยหนักจนต้องเข้านอนเป็นคนไข้ใน 5 ราย, มีการสอบสวนหาต้นตอ และพบว่าอยู่ในอาหารสัตว์ โดยตรวจพบทั้งในถุงอาหารที่ยังไม่ได้เปิด และถุงที่เปิดแล้ว
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ การเตรียมอาหารให้น้องๆ หรือการเก็บอึ (อุจจาระ) ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อที่มือ และเข้าสู่ร่างกายตอนกินอาหาร-ดื่มน้ำ
.
เมื่อน้องๆ (หมา แมว ฯลฯ) ได้รับเชื้อนี้เข้าไป, จะถ่ายอุจจาระที่มีเชื้อปนออกมา 4-6 สัปดาห์
.
CDC รายงานว่า เชื้อซาลโมเนลลาทำให้เกิดท้องเสีย ไข้ ปวดเกร็งในท้องเป็นพักๆ ส่วนใหญ่จะมีอาการ 4-7 วัน คนไข้ส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา
การกินน้ำละลายผงเกลือแร่ (ORS) ให้เร็วที่สุด และกินทดแทนไปเรื่อยๆ จนหาย (อย่างน้อย = ปริมาณอุจจาระ + ปัสสาวะที่ออกมา) เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ-เกลือแร่
.
เรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับโรคท้องเสียติดเชื้อได้แก่ การกินยาที่ทำให้หยุดถ่าย ซึ่งจะทำให้เชื้อตกค้างในร่างกายนานขึ้น เพิ่มจำนวนขึ้น และอาจหลุดรอดเข้าสู่กระแสเลือดได้
.
ถ้ากินน้ำละลายผงเกลือแร่ (ORS) ได้มากพอ, ร่างกายจะขับเชื้อขับพิษออกได้เร็วขึ้น ทำให้โอกาสอยู่รอดปลอดภัยสูงขึ้นมาก
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบเชื้อซาลโมเนลลาในสัตว์เลี้ยงหลายชนิด เช่น เต่า ฯลฯ และพบเชื้อฝีหนองในสัตว์เลี้ยง หรือที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงในน้องๆ (หมา แมว)
.
คำแนะนำทั่วไป คือ ให้ล้างมือด้วยสบู่หลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์เลี้ยง ให้อาหาร หรือทำความสะอาดบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ และที่สำคัญ... ไม่พาน้องๆ ไปนอนบนที่นอน หรือเตียง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 12 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 497136เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท