R2R “จากงานประจำสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 ปี 2555


R2R ช่วยผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ PDCA หรือ CQI เป็นเครื่องมือในงาน routine อยู่แล้ว พยายามก้าวข้าม ขยับฐานะ เพิ่มความน่าเชื่อถือของงานให้เป็นงานวิจัย

10-12 กรกฎาคม 2555  R2R “จากงานประจำสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 ใน Theme วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร ณ ห้องประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี

ผู้เขียนเข้าร่วมในฐานะ Notetaker จากการแนะนำของ ศ.สมบูรณ์ เทียนทอง เจ้านายของผู้เขียน การเข้าฟังบางส่วนของผู้เขียนจึงถูกวางกรอบไว้แล้ว

 

(ภาพนี้ถ่ายร่วมกับ ศ.สมบูรณ์ เทียนทอง และพี่แก้ว คุณอุบล จ๋วงพานิช)

...

 

เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร โดย

-      เป็นการสร้างสรรค์งาน จากข้อมูลงานประจำสู่การแก้ปัญหาด้วยงานวิจัย

-      ช่วยแก้ไขงานเชิงระบบได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

-      ใช้การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

-      เกิดได้ทุกระดับ

-      เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ข้อมูลในงานวิจัย ได้เป็นผู้วิจัยและสามารถนำวิจัยที่ได้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานตนเอง

-      ผู้ปฏิบัติเลือกใช้วิธีการที่ดีที่สุดแก้ไขปัญหา

-      การนำข้อสงสัยปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ สหสาขาวิชาชีพ หรือต่างหน่วยงาน ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

-      การทบทวนความรู้ใหม่ๆทำให้ได้ข้อมูลวิชาการที่ทันสมัย

-      เป็นการพัฒนาคน เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะคน

-      เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ

 

 

-      การใช้กระบวนการคุณภาพช่วยให้การแก้ปัญหาครบวงจรมากขึ้น

-      มองครบวงจรโดยมองว่าปัญหานั้นๆเกี่ยวข้องกับใคร ใครบ้างที่มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหานั้น มองการแก้ไขอย่างครอบคลุม

-      ทำคนเดียวไม่ได้ ความสำเร็จเป็นผลของทุกคนในทีม ทำแล้วสนุกเพราะได้คำตอบ ได้ผลแล้วอยากต่อยอด อยากชักชวนให้ผู้อื่นทำต่อ เกิดการเรียนรู้

...

 

สำหรับผู้เขียน

ในระยะแรกของ R2R เมื่อ 5 ปีก่อน หลังผลงานที่ผู้เขียนมีส่วนร่วมได้รับรางวัล ผู้เขียนเคยตาลุกวาวในฐานะผู้ปฏิบัติที่เข้าใจว่า R2R จะเป็นงานวิจัยที่น่าจะทำได้ ไม่ยุ่งยากเหมือนที่เคยมีประสบการณ์ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยยังเสียเวลาถึง 2 ปีกว่าจะได้ผล นานไปหน่อยกับการรอคอยนำผลมาใช้ จึงหวังไปว่าอย่างน้อยที่สุดขั้นตอนและกระบวนการต่างๆในการขอทำวิจัยก็น่าจะลดลง

 

 

แต่ก็พบคำตอบในปัจจุบันว่า R2R ก็ยังคืองานวิจัยอยู่นั่นเอง ยังคงต้องใช้กระบวนการวิจัยหาคำตอบ... เพียงแต่เน้นการเลือกโจทย์วิจัยที่เป็นปัญหาจากงานประจำ ความต่างน่าจะอยู่ที่ตัวผู้ทำวิจัยมากกว่า ผู้วิจัยจากเดิมเป็น พชท. พจบ. หรือนักศึกษา ป.โท ที่หวังเพียงได้ผลงานส่งอาจารย์แล้วกลับต้นสังกัด เปลี่ยนเป็นผู้วิจัยในพื้นที่เอง ที่สามารถทำให้ผลงานของตนมีคุณค่ามากขึ้นด้วยการนำกลับไปใช้จริง

 

 

 

ข้อสงสัยของนักวิชาการทั้งหลาย ที่มองงานวิจัยแบบ R2R ว่ามีระดับต่ำ จึงไม่น่าจะถูกต้องซะทั้งหมด เวที R2R เป็นเสมือนเวทีพี่เลี้ยง ช่วยผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ PDCA หรือ CQI เป็นเครื่องมือในงาน routine อยู่แล้ว พยายามก้าวข้าม ขยับฐานะ เพิ่มความน่าเชื่อถือของงานให้เป็นงานวิจัย

 

 

 (ภาพบน: ได้ถ่ายภาพกับพ่อครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ภาพล่าง: ทีม G2K ค่ะ)

 

กลุ่มผู้วิจัยในเวทีนี้จึงมีช่องว่างระหว่างกันค่อนข้างมาก นับตั้งแต่นักวิจัยระดับชาติจนถึงนักวิจัยน้องใหม่ การนำเครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ KM มาใช้ในเวทีนี้จึงดูดีมาก นักวิจัยมีโอกาสได้มาพบกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กัน

 

 

สำหรับผู้เขียนแล้ว ความรู้สึกอึดอัดที่เรียกว่า “เหม็นงานวิจัย” ดูจะน้อยลงกว่าเมื่อ 5 ปีก่อน เพราะเผลออีท่าไหนไม่ทราบก็เอาตัวลงไปคลุกโดยไม่ตั้งใจ ซะงั้น... และนับวันก็ดูเหมือนว่าจะจมลงไปในงานวิจัยทุกที... ทุกที...

 

หมายเลขบันทึก: 496148เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจัง อย่างน้อยก็ได้เปลี่ยนทัศนคติ

มองว่าการวิจัยหน้างาน เป็นการพัฒนางานและพัฒนาคนด้วยนะคะ

ปีหน้าเราคงเห็นงานวิจัยดีดี จาก รพ ศรีนครินทร์

ขอบคุณพี่ติ๋วค่ะ ที่นำภาพบรรยากาศมาให้ชม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท