วิสัยทัศน์และผู้นำการเปลี่ยนแปลง


วิสัยทัศน์และผู้นำการเปลี่ยนแปลง

วิสัยทัศน์ (VISION) คือ อะไร
วิสัยทัศน์ คือ การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคต ซึ่งเป็นเป้าหมายในการในการเดินไปสู่อนาคต โดยนำระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึง สิ่งที่อยากเห็นในอนาคต และเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์เกิดจากการคิดโดยใช้ปัญญา ซึ่งอาจจะหมายถึง การสร้างความฝัน และมุ่งมั่นทุกวิถีทางที่จะทาให้ฝันนั้นเป็นจริง (วันนา เมืองจันทร์ 2542 : 9)
วิสัยทัศน์ คือ การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางเชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อด้วยกัน แล้วจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการ จุดมุ่งหมายปลายทางดังกล่าว ต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลัง และมีความเป็นไปได้
สมมติว่า V คือ วิสัยทัศน์ (Vision) I คือ ความฝันในอนาคต (Image) และ A คือ การกระทำ (Action) สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า V = I + A
วิสัยทัศน์ คือ
* สิ่งที่ฝัน
* เกี่ยวกับเรื่องอนาคต
* เป็นเครื่องอกทิศทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
* มีเป้าหมายที่เป็นไปได้
* มีพลัง ท้าทาย และเร่งให้เกิดพฤติกรรมนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์
* กระชับ ชัดเจน ทุกคนเข้าใจตรงกัน
* อกทั้งเส้นทางและเป้าหมาย
สรุปความหมายของวิสัยทัศน์
ถ้าจะกลาวอย่างง่าย วิสัยทัศน์ คือ การมองภาพตลอดแนวของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในวิสัยทัศน์ที่เป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน
ทั้งนี้ เพราะว่า วิสัยทัศน์เป็นผลผลิตของจินตกรรม (Imagineering) หรือความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นญาณหยั่งรู้ เห็นความเป็นไปข้างหน้า จับกระแสความเปลี่ยนแปลงของอนาคตได้ เป็นส่วนหนึ่งของการคิดหน้า (foresight) การคิดหลัง (backsight) และมองเข้าไปข้างในตน (insight)โดยศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่และเปลี่ยนไป ทำให้รู้เท่าทันแนวโน้มของวิวัฒนาการที่จะเกิดขึ้น แล้วใช้วิจารณญาณตัดสินใจปฏิบัติการล่วงหน้า (Proaction) หรือชิงลงมือก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น เพราะได้พบคำตอบที่ถูกต้อง (ภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ดังนั้นภาวะผู้นำจึงอาจสรุปได้ดังนี้
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนซึ่งผู้บริหารทุกคนจะต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมันเป็นสิ่งจำเป็นของผู้บริหารที่มีความสามารถภาวะผู้นำเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นต่อผู้บริหาร แต่ก็มีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อผู้บริหารเช่นเดียวกันทุกองค์กรในสังคมต้องการผู้นำที่ดีไม่ว่าจะเป็นองค์การธุรกิจ รัฐบาล การศึกษา การเมือง การศาสนา เป็นต้น ผู้นำที่มีประสิทธิผลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำที่แข็งกร้าวเสมอไปเพราะภาวะผู้นำแต่ละแบบจะเหมาะกับแต่ละสถานการณ์เท่านั้น ภาวะผู้นำเกิดจากการสร้าง ไม่ใช่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถเรียนรู้กันได้ ถ้าหากบุคคลนั้นๆ มีความสามารถทางภาวะผู้นำอยู่บ้างแล้ว ภาวะผู้นำจะตัดสินใจได้จากมาตรการที่สำคัญ 2 มาตรการ ประการแรกคือ เป้าหมายประสบกับผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประการที่ 2 ผู้นำและสมาชิกพอใจผลงานที่ตัวเองได้ทำไป ซึ่งมาตรการที่สำคัญทั้งสองประการนี้จะสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและในที่สุดก็จะเป็นเครื่องตัดสินประสิทธิผลของภาวะผู้นำ
เมื่อถามว่าการเปลี่ยนแปลงคืออะไร การเปลี่ยนแปลงเป็นข้อเท็จจริงของชีวิตมันเป็นสิ่งใดๆ ที่แตกต่างไปจากสภาพเดิมสิ่งที่เราแน่ใจได้ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อองค์การ การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่การดัดแปลงสิ่งที่เคยทำมาของคนอื่นในอดีตหรือการเอาสิ่งที่เคยปฎิบัติในองค์การมาปฏิบัติใหม่ก็ตามบางครั้งเราต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการเปลี่ยนแปลงจะให้ประสบการณ์ท้าทาย และความตื้นเต้นใหม่ๆแก่ตัวเรา แต่บางครั้งเราก็ต้องการความมั่นคง เพราะความมั่นคงจะให้หลักประกัน ความแน่นอน และการทำนายเหตุการณ์ได้ การเปลี่ยนแปลงมากเกินไปทำให้เกิดความยุ่งเหยิงขึ้น แต่ถ้ามีความมั่นคงมากเกินไปก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้น เราจะเห็นได้ว่าเรามีความต้องการเปลี่ยนแปลง และปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นงานของผู้บริหารก็คือ ดำเนินกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นที่ยอมรับมากที่สุด
จากคำกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง แนวคิดและวิธีการของผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับองค์กรหมู่คณะ ไปจนถึงระดับประเทศและระดับโลก ดังนั้นเมื่อเราต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงมีข้อที่ควรคำนึงดังต่อไปนี้
ประการแรก คือ การมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องแม่นยำเท่านั้น จึงจะนำพาผู้คนไปสู่ความสุขและความสำเร็จได้ ตรงกันข้ามหากวิสัยทัศน์ของผู้นำไม่ชัดเจน ย่อมสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงฉะนั้นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนจึงสำคัญยิ่งสำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ประการที่สอง คือ ทดลองดูก่อนจนมั่นใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงใช่ว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเสมอไป หากมีเรื่องไหนที่ยังไม่มั่นใจ 100% ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องไม่ด่วนตัดสินใจ แต่ควรใช้วิธีทดลองดูก่อนให้มั่นใจจึงก้าวเดินต่อไป นี้คือที่มาของคำว่า “Pilot Project หรือโครงการนำร่อง” คือทดลองดูในกลุ่มเล็กๆก่อน ว่าจะเกิดผลอย่างไร ดีจริงไหมมีส่วนใดที่ต้องปรับแก้ เมื่อวิเคราะห์ปรับปรุงทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้วจึงค่อยขยายผลไปสู่วงกว้างต่อไป นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องคอยมองภาพรวมเพื่อดูแลให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ โดยเมื่อพิจารณารอบด้านแล้ว ต้องชั่งน้ำหนักได้ว่าศักยภาพและความน่าเชื่อถือของตนจะสามารถรับมือกับผลกระทบที่จะตามมาได้มากน้อยแค่ไหน เร็วช้าเพียงใด เพราะการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แม้เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเกิดขึ้นเร็วเกินไปหรือมากเกินไป ผู้ได้รับผลกระทบย่อมไม่สามารถปรับตัว หรือปรับความคิดได้ทันการเปลี่ยนแปลงนั้น ก็อาจสร้างความเสียหายตามมา

คำสำคัญ (Tags): #น่ารัก
หมายเลขบันทึก: 495807เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท