ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การสร้างอารมณ์ขันในการพูด


ดังนั้น การสร้างอารมณ์ขันในการพูดจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของนักพูด ซึ่งนักพูดแต่ละท่านอาจอ่านตำราการสร้างอารมณ์ขันเล่มเดียวกัน แต่การนำไปใช้ได้ไม่เท่ากัน เพราะทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับการนำเอาทฤษฏีไปปรับใช้ให้เข้ากับ ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง กริยา ภาษา บุคลิกและจังหวะในการพูดของแต่ละบุคคล

การสร้างอารมณ์ขันในการพูด

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                การสร้างอารมณ์ขันในการพูดมีความสำคัญและมีความจำเป็น เป็นอันมากต่อการพูดต่อหน้าที่ชุมชน อารมณ์ขันนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น

                1.ช่วยให้บรรยากาศในการพูดเป็นกันเอง

                2.ช่วยทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย และเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องสนุก

                3.ช่วยในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี

                4.ช่วยสร้างสีสัน สร้างเสน่ห์ในการพูด

                ซึ่งการสร้างอารมณ์ขันเราสามารถสร้างได้หลายวิธี ดังนี้

                1.อ่านหนังสือประเภทขำขัน เช่น หนังสือการ์ตูน  หนังสือตลก หนังสือนิทาน

                2. สังเกต จดจำ นำเอาคำพูด อารมณ์ขันของผู้อื่นมาดัดแปลง ปรับปรุง เพื่อใช้ในการพูด

                3.ควรใช้ภาษา ท่าทาง น้ำเสียง อารมณ์ให้มีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูด

                4.หาเวทีในการพูดให้มากๆ เพื่อฝึกการพูดในการสร้างอารมณ์ขัน

                สำหรับข้อควรระวังในการพูดอารมณ์ขัน คือ

                1.ไม่บอกผู้ฟังว่าวันนี้จะมาพูดเรื่องตลกหรือเรื่องขำขัน

                2.ผู้พูดไม่ควรหัวเราะเสียเองในเวลาที่พูดเรื่องราวขำขัน

                3.ไม่ควรนำเอาเรื่องของ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ขนมธรรมเนียม หรือสิ่งที่ผู้คนเคารพมาพูดล้อเลียน

                4.ไม่ควรพูดจา สองแง่สองง่าม ตลกใต้สะดือ มากจนเกินไป

                ดังนั้น การสร้างอารมณ์ขันในการพูดจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของนักพูด ซึ่งนักพูดแต่ละท่านอาจอ่านตำราการสร้างอารมณ์ขันเล่มเดียวกัน แต่การนำไปใช้ได้ไม่เท่ากัน เพราะทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับการนำเอาทฤษฏีไปปรับใช้ให้เข้ากับ ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง กริยา ภาษา บุคลิกและจังหวะในการพูดของแต่ละบุคคล

หมายเลขบันทึก: 495601เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คาถานักพูด ยิ้มให้เป็น เย็นเข้าไว้ คลายวิตก พกอารมณ์ขัน......ที่เหลือเนื้อหาว่ากันไป

ขอบคุณครับ สำหรับความคิดเห็นที่มาเพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท