มองความสุขทั้งสามด้วยความเป็นกลาง


พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสุข เพราะจิตใจที่มีความสุขเป็นพื้นฐาน ย่อมตั้งมั่น มีภาวะพร้อมที่จะทำงานเพื่อการพัฒนาทั้งทางคุณภาพชีวิต และ ทางปัญญาต่อไป

พุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความสุข เช่น ความสุขจากฌาน (ฌานสุขนี้ ยังจัดเป็นความสุขระดับเวทนา เนื่องจากเป็นความสุขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ จึงมีลักษณะร่วมกับกามสุขคือ สุขเวทนา) ความสุขจากกาม เช่น สุขจากการได้เสพ การแสวงหาด้วยความชอบธรรม เป็นต้น

แต่สอนให้มองความสุขเหล่านี้ตรงตามความเป็นจริง

สำหรับความสุขที่เกิดจากกามสุข ควรมองให้เห็นว่าแม้จะเป็นความสุขที่เจือไว้ด้วยโทษ เป็นความสุขที่มีคุณน้อย มีโทษมาก และควรทราบว่า นอกจากกามสุขแล้ว ยังมีสุขที่เลิศกว่าอีกหลายระดับ ซึ่งสามารถจัดสุขทั้งหมดได้เป็น กามสุข ฌานสุข และ นิพพานสุข เราควรพยายามให้ได้รู้จักสุขที่เลิศกว่ากามสุขนี้บ้าง

แต่อย่างไรก็ดี กามสุข กลับเป็นความสุขที่สำคัญของคนส่วนใหญ่ของสังคม

เกี่ยวกับท่าทีต่อความสุขทั้งสามนั้น พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายไว้ดังนี้

อย่างไรก็ตาม กามสุขนั้น ถึงแม้จะมีส่วนเสีย มีจุดอ่อน มีข้อด้อยข้อบกพร่องอย่างไร มันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง และเป็นความสุขที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ ยิ่งในเมื่อมันมีศักยภาพที่จะก่อทุกข์ภัยขยายผลโทษผลร้ายออกไป ทั้งแก่ชีวิตและสังคม ก็ยิ่งต้องเอาใจใส่ที่จะป้องกันและแก้ปัญหา รวมแล้วก็คือเป็นเรื่องที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี พร้อมกับการที่จะต้องคอยปลุกเตือนให้คนไม่ลืมที่จะพัฒนาตนให้ก้าวหน้าสู่ความสุขที่สูงขึ้น

กามสุขนั้น เมื่อบริหารจัดการให้ดี ก็เป็นประโยชน์สุขสำคัญ ที่จำเป็นในขั้นพื้นฐาน ทั้งที่ยังเป็นของขาดพร่องแหว่งอย่างนี้แหละ ก็ยังเป็นคุณที่ดีแก่ชีวิต และขยายออกไปให้เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่สังคม ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ยิ่งกว่านั้น ก็จะเป็นฐานที่ค้ำจุนสนับสนุนในการพัฒนาตนให้ก้าวหน้าสู่ความสุขที่สูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ พอจัดเป็นระบบ จึงปรากฏว่า ท่านจัดกามสุขที่บริหารจัดการได้ดีนั้น เป็นคุณค่า เป็นประโยชน์ที่เป็นจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือเป็น อัตถะ อย่างหนึ่ง โดยเป็นอัตถะ คือประโยชน์ที่พึงมุ่งหมาย หรือที่พึงลุถึงให้ได้ เป็นขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลกันว่า ประโยชน์ปัจจุบัน คือ ประโยชน์ขั้นตาเห็น ที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า มองเห็นได้ประจักษ์ ก็คือกามสุข หรือ สุขทางวัตถุ ที่พึ่งพาอามิสนี่เอง

ประโยชน์ขั้นตาเห็น เป็นปัจจุบัน หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถะนี้ ซึ่งเป็นความสุขในระดับรูปธรรม เกี่ยวข้องกับวัตถุ สิ่งเสพ ของบริโภค และ การอยู่ร่วมกัน การจัดความสัมพันธ์ให้ดีงามเกื้อกูล ว่าโดยสรุป ก็ได้แก่

-การขยันหมั่นเพียรประกอบกิจการงาน ทำมาหาเลี้ยงชีพ ให้มีทรัพย์สินเงินทองเลี้ยงตัวเลี้ยงครอบครัวและคนนความดูแลรับผิดชอบเป็นอย่างน้อย ให้ทุกคนอิ่มเอมเป็นสุข

-การมีความสัมพันธ์ที่ดีงามในสังคม อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี มีสถานะเป็นทียอมรับนับถือ ตลอดจนพรั่งพร้อมด้วยเกียรติยศ อิสริยยศ และบริวารยศ

-การมีครอบครัวที่ผาสุก ดำรงรักษาตระกูลวงศ์ให้เป็นแบบอย่าง เป็นที่นับถือ เอื้อประโยชน์สุขแก่สังคม และ

-การดูแลร่างกาย บริหารสุขภาพ เช่น รู้จักการประมาณในการบริโภค กินพอดี ให้อยู่สบายไร้โรค แข็งแรงสมบูรณ์

ส่วนความสุขประณีตอันเป็นอิสระข้างในที่เป็นไทแก่ตน จำพวกนิรามิสสุขนั้น ก็เป็นอัตถะ คือประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของชีวิต สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง หรือ เป็นอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า สัมปรายิกัตถะ แปลกันว่า ประโยชน์เบื้องหน้า คือ ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น ได้แก่ ลึกลงไปข้างใน อยู่ในใจ ก็เลยตาเห็นไป หรือ ลับไปข้างหน้า ในชีวิตข้างหน้า ในอนาคต ก็เลยตาเห็น เป็นภาวะที่ไม่ปรากฏต่อหน้า มองเห็นประจักษ์แก่ตาไม่ได้

ตัวอย่างเช่น ในฝ่ายทิฏฐธัมมิกัตถะ คนมีของกิน เสพ บริโภค พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ถือกันว่ามีความสุข ก็มองเห็นชัดอยู่ แต่ในฝ่ายสัมปรายิกัตถะ คนไปช่วยคนอื่นให้เขาพ้นทุกข์มา แสนจะปลาบปลื้มใจมีความสุข หรือ มีศรัทธาที่ดื่มด่ำซาบซึ้งในความดี มีความสุขสงบเย็น อย่างนี้ก็เลยสายตาเข้าไปข้างใน ไม่มีใครมองเห็น และความสุขที่มากับความดีอย่างนี้ มีผลต่อไปถึงชาติภพข้างหน้า ก็เลยสายตา มองไม่เห็นอีก จึงเป็นสัมปรายิกัตถะ

ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น เป็นของล้ำลึกเลยตา หรือสัมปรายิกัตถะนี้ ในความหมายอย่างกว้างๆ ก็รวมความสุขอย่างประณีตอิสระภายในทุกอย่าง ตั้งแต่ความสุขจากความมีศรัทธา ความมีศีลดีงาม สุขจากสมาธิ สุขจากฌาน ฯลฯ จนแม้กระทั่งนิพพานสุข ดังนั้น ในที่ทั่วๆไปในพระสูตรทั้งหลาย จะกล่าวถึงอัตถะเพียง ๒ อย่าง คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ และ สัมปรายิกัตถะ ซึ่งก็เหมาะที่จะพูดสอนชาวบ้านทั่วไป พูดแค่ความสุขที่เขาคุ้นอยู่กับตัว และอีกอย่าง ก็คือความสุขที่เลยจากนั้นไป ก็จะพูดกันง่ายหน่อย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้า ๑๐๓๙ -๑๐๔๐

หมายเลขบันทึก: 495165เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

**^____^**

 

กามสุขนั้น เมื่อบริหารจัดการให้ดี ก็เป็นประโยชน์สุขสำคัญ ที่จำเป็นในขั้นพื้นฐาน ทั้งที่ยังเป็นของขาดพร่องแหว่งอย่างนี้แหละ ก็ยังเป็นคุณที่ดีแก่ชีวิต และขยายออกไปให้เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่สังคม ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ยิ่งกว่านั้น ก็จะเป็นฐานที่ค้ำจุนสนับสนุนในการพัฒนาตนให้ก้าวหน้าสู่ความสุขที่สูงขึ้น


สาธุด่ะ

สำหรับหนังสือ "พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย" เป็นหนังสือที่พระพรหมคุณาภรณ์ ได้ปรับปรุงจากหนังสือ "พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ" อันเป็นผลงานที่เปรียบเสมือนเพชรน้ำเอกในวงการหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาของท่านเองอีกต่อหนึ่ง จนมีความหนาถึงกว่า 1,300 หน้า

ท่านที่สนใจสามารถขอรับได้ฟรีที่วัดญานเวศกวัน ถ. พุทธมลฑลสาย 4, จ.นครปฐมค่ะ

ความสุขจากฌาน ==> ฌานสุขนี้ ยังจัดเป็นความสุขระดับเวทนา เนื่องจากเป็นความสุขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ จึงมีลักษณะร่วมกับกามสุข

กามสุขคือ สุขเวทนา==> ความสุขจากกาม เช่น สุขจากการได้เสพการแสวงหาด้วยความชอบธรรม  

1. กามสุข

2. ฌานสุข 

3. นิพพานสุข


             ขอบคุณมากนะคะ "ความสุข" ที่นำมามอบให้



  • ชอบทั้ง 4 ข้อนี้เลยครับพี่
  • การขยันหมั่นเพียรประกอบกิจการงาน ทำมาหาเลี้ยงชีพ ให้มีทรัพย์สินเงินทองเลี้ยงตัวเลี้ยงครอบครัวและคนนความดูแลรับผิดชอบเป็นอย่างน้อย ให้ทุกคนอิ่มเอมเป็นสุข

    -การมีความสัมพันธ์ที่ดีงามในสังคม อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี มีสถานะเป็นทียอมรับนับถือ ตลอดจนพรั่งพร้อมด้วยเกียรติยศ อิสริยยศ และบริวารยศ

    -การมีครอบครัวที่ผาสุก ดำรงรักษาตระกูลวงศ์ให้เป็นแบบอย่าง เป็นที่นับถือ เอื้อประโยชน์สุขแก่สังคม และ

    -การดูแลร่างกาย บริหารสุขภาพ 

    ที่ที่ไม่ค่อยได้ทำคือข้อสุดท้าย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลยครับ...

มาน้อมรับคำสอนให้มองความสุขเหล่านี้ตรงตามความเป็นจริงค่ะ

ขอบคุณธรรมะที่กรุณานำมาแบ่งปันค่ะคุณพี่

สุข สงบในบ่ายวันเสาร์ค่ะ:)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท