ในช่วงการทำงานวันแรกๆของอาสาสมัครนักกฎหมายประจำคลินิกกฎหมายอุ้มผาง


วันนี้พี่แมวพาไปแนะนำตัวกับนายอำเภอและปลัดอำเภอซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียน ตื่นเต้นและรู้สึกเกร็งๆเพราะดูเป็นทางการมาก แต่ก็ดูว่าท่านเป็นกันเองดี

มาทำงานแต่เช้า ตอนนี้รู้สึกเครื่องร้อน(55555) นั่งจำแนกกรณีศึกษาของผู้มีปัญหาสถานะบุคคลอีกครั้งคราวนี้ใช้เกณฑ์"ที่อยู่"ของเจ้าของปัญหาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกแทนเพราะหลายกรณีศึกษาเป็นคนที่อยู่ในหมู่บ้านหลายแห่งการวางแผนการเดินทางและความเร่งด่วนของแต่ละกรณีน่าจะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น(จริงๆแล้วยังไม่ได้ลงพื้นที่ในหมู่บ้านเลย ฝนตกทุกวันและเกือบทั้งวัน) แม้ว่าชาวบ้านจะมีที่อยู่ในพื้นที่หมู่1,2,3 ของตำบลหนองหลวง แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่าแต่ละบ้านนั้นห่างไกลแค่ไหน อาจเป็นไปได้ที่บางบ้านอาจติดกัน แต่บางบ้านอาจห่างไกลกันเกินกว่าข้อจำกัดในการเดินทางในเรื่องเวลาและการพักผ่อนของชาวบ้านด้วย(ในภาพความคิดของผมก็คืออาจจะต้องเดินทางไปหมู่บ้านช่วงเย็นๆเพราะชาวบ้านอาจจะทำงานตอนกลางวันมีเวลาว่างตอนเย็นๆ)

มีกรณีเร่งด่วนเข้ามาวันนี้สดๆร้อนๆเลยอาจจะต้องไปติดต่อเรื่องงานที่อำเภอเร็วกว่าที่คิดไว้ อยากเห็นการทำงานเกี่ยวกับการยื่นคำร้องตามกฎหมายทะเบียนราษฎรและกฎหมายสัญชาติเร็วๆ พนักงานเจ้าหน้าที่จะพูดอย่างไรจะเป็นแบบทางการหรือว่าแบบเป็นกันเอง อยากรู้ว่าขั้นตอนการปฏิบัติจะเป็นอย่างไรบ้างที่สำคัญจะได้เจอคนที่มีปัญหาทางด้านสถานะบุคคลด้วย(จริงๆแล้ววันนี้เจอคนที่มีปัญหาทางสถานะบุคคลแบบตัวจริงแล้วด้วยคือเป็นกรณีปัญหาเกี่ยวกับการมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองซึ่งกรณีนี้ก็เป็นกรณีเร่งด่วนเหมือนกัน)

ตกบ่ายวันนี้พี่แมวพาไปแนะนำตัวกับนายอำเภอและปลัดอำเภอซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียน ตื่นเต้นและรู้สึกเกร็งๆเพราะดูเป็นทางการมาก แต่ก็ดูว่าท่านเป็นกันเองดี

ไม่รู้ว่าสิ่งใดทำให้มาเจอ”อุ้มผาง”ในฤดูฝน เพราะอยากบอกว่าสถานที่แห่งนี้ ในห้วงเวลานี้สวยงามมาก มองไปทางไหนก็เจอภูเขา ไร่ข้าวโพด ต้นไม้สีเขียวๆ หมอกฝนสีควัน บ้านไม้ ถนนสายเล็กๆที่ชื้นฝน บางเวลาเดินไปตามถนนก็จะเจอชาวบ้านบางคนนุ่งโสร่ง สะพายย่ามเดินสวนกัน ยิ่งในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ชาวบ้านก็จะนุ่งโสร่งหรือนุ่งผ้าถุงกันเต็มไปหมด(ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่สวมใส่ชุดที่เป็นทางการ) เหมือนเป็นอัตลักษณ์และเสน่ห์ของพื้นที่นี้จริงๆ แน่ล่ัะว่าอุ้มผางกว้างใหญ่กว่าที่เราเห็นในตอนนี้แน่ๆ ยังมีพื้นที่อีกหลายพื้นที่ที่เรายังไม่ได้ไปเห็น ไปสัมผัสกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านว่าเขาเป็นอย่างไร แต่ในใจของเราอยากไปเห็นนะ

 

หมายเลขบันทึก: 495119เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หลงรักอุ้มผางให้นานๆ เน้อ ...ส่วนเรื่องการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ปรับแผนได้ตามความเหมาะสมนะคะ ที่สำคัญ ตัวแขกหรือมี่ ที่เป็นตัวเชื่อมสำคัญ น่าจะเป็นอีกตัวแปร ลองเสนอมาค่ะว่า อยากปรับแผนเป็นแบบไหน สู้ๆ เด้อค่ะ

อย่าเพิ่งเบื่อเเล้วกัน อุ้มผางมีอะรัยน่าค้นหาในทุกฤดูกาล แปลกและแตกต่างแต่มีอย่างหนึ่งที่ยังคงเดิม คือ น้ำใจของพวกเขา อยากฟัง อยากอ่าน อยากดูเรื่องราวของบุคคลที่ประสบกับสิทธิทางการเมืองจากน้องโจ้งแล้วล่ะ

กฎหมายชุมชน ==> ช่วยชาวบ้าน .... ลำดับความสำคัญของปัญหา (Set pirority) เป็นความงดงามของการทำงาน ให้ชุมชนนะคะ

ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

วันนี้ ฝนตกที่ท่าพระจันทร์เหมือนกัน และวันนี้ ก็กินทั้งข้าวเที่ยงและข้าวเย็นกับสาวน้อยไร้สัญชาติที่เกิดในรัฐฉาน แต่วันนี้ เธอเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ค่ะ เอาว่า ธรรมศาสตร์ก็มีนักศึกษาไร้สัญชาตินะคะ แต่เราจะสอนให้เธอรักษาโรคไร้สัญชาติให้ตัวเองและครอบครัว เธอชื่อ "ดวงตา"

อ.แหววขอเล่าให้ฟังบ้างค่ะ

  • ดีใจที่ได้อ่านเรื่องจากอุ้มฝาง
  • รออ่านอีกครับ

ขอบคุณทุกคอมเม้น เสมือนเป็นกำลังใจให้ทำงานต่อไป ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท