ตายเเล้ว....เราจะทำอย่างไรดี ( อะไร อย่างไร เมื่อคนไข้มาตายตอนเราลงเยี่ยมบ้าน)


เยี่ยมบ้าน

        วันนี้เป็นวันศุกร์ และตามโปรแกรมของทีมหน่วยการุณรักษ์ของเราก็จะมีโปรแกรมออกเยี่ยมบ้านคนไข้ระยะท้ายที่อยู่ในความดูแล และวันนี้ฉันกับปา เราแบ่งสายกันออกเยี่ยมบ้านเป็นสองสายและเยี่ยมกันคนละสองราย เราเริ่ม conference กับนักศึกษาพยาบาลหลักสูตร Basic Certificate Course Palliative Care Nursing(BCCPN รุ่น2) กันตั้งแต่เช้า เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจคุณเเม่ไม่สบาย  เสร็จก็ประมาณ 11 โมงและงานของเราหลังจาก conference ก็คือแยกย้ายกันไปดูแลคนไข้ร่วมกับนักศึกษา ฉันวิ่งไปช่วยพี่เล็กในการนำทำ family meeting  สำหรับครอบครัวนี้เราจะปรึกษาหารือร่วมกับครอบครัวเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคและการวางแผนดูแลในระยะท้าย การพูดคุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงปกติคนที่ทำหน้าที่นี้คืออาจารย์หมอศรีเวียงแต่ช่วงนี้อาจารย์ติดภารกิจ ฉันกับปลาต้องทำหน้าที่นี้แทนอาจารย์ รวมทั้งช่วยกันสอนนักศึกษาด้วย ช่วงบ่ายฉันได้รับข่าวดีจากพี่แจง เภสัชกรในทีมของเรา แจ้งว่ายาแก้ปวดเข้าโรงพยาบาลทุกตัวแล้วหลังจากที่เราประสบปัญหาขาดแคลนยามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ฉันดีใจมากรีบโทรหาคนไข้ที่กำลังรอฟังข่าวดีนี้เช่นกัน และบริหารจัดการเบิกยาทันที

        เสร็จแล้วจึงได้โทรหาพี่กุ้งแห้ง พี่หน่อย พี่ตุ๋ย เพื่อจะลงเยี่ยมบ้าน สำหรับคนไข้รายนี้เป็นคนไข้ในความดูแลของนักศึกษาพี่กุ้งเเห้ง เราวางแผนว่า อาการไม่สุขสบายยังมีไม่มาก คนไข้ยังเดินเข้าห้องน้ำได้ แต่มีบ่นหายใจไม่อิ่ม ยังไม่มีแผลกดทับ คนดูแลที่บ้านคือภรรยา คนไข้อายุ 74 ปีแล้วป่วยด้วยโรคมะเร็งตับระยะท้าย ยังไงก็ไม่มาโรงพยาบาล การจัดการอาการจึงคิดกันว่าเราจะไป start morphine ชนิดกิน คาดเพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่ม เมื่อไปถึงบ้านเห็นคนไข้เเล้วจะเรียนปรึกษาอาจารย์อีกครั้งถึงขนาดยาที่จะใช้  เราก็เตรียมคิดคำนวนไปกันในใจไว้แล้ว เมื่อไปถึงภาพที่เห็นคือคุณตานอนร้องครวญคราง บอกว่าท้องเสีย คุณยายก็ดูสีหน้ากังวลเพราะถ่ายตลอดคุณ เเต่คุณตายังสื่อสารกับพวกเราได้ “บ่ยังดอกคุณหมอ’’ ซึ่งหมายถึงคงไม่รอดแล้ว และเรียกหาลูกสาวตลอดเวลา “หายใจบ่อิ่ม” คืออีกประโยคหนึ่งที่คุณตาบอกถึงอาการไม่สุขสบาย   

พี่กุ้งแห้ง พี่ตุ๋ยช่วยกันจัดท่าหัวสูงเพื่อช่วยอาการหายใจไม่อิ่มดีขึ้นคุณตายังบอกเราได้ว่า O.K. ส่วนพี่หน่อยก็คุยกับคุณยาย

ภาพเเรกที่เราเห็นคุณตา มีคุณยายดูแลอยู่ไม่ห่าง 

 

ฉันคิดวิธีจัดการอาการเป็นเบื้องต้นนั่นก็คือเปลี่ยนแผนทุกอย่างที่วางไว้ คือ

1. ต้องเริ่มยามอร์ฟีน ชนิดฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มของคุณตา

2. ต้องกลับเข้าไปที่โรงพยาบาลใหม่เพื่อเบิกยา และ เตรียมเครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องปั๊มยาชนิดเคลื่อนที่ได้ นำมาใช้ให้ยาต่อเนื่องที่บ้าน (syringe driver) และรีบโทรหาอาจารย์ เพื่อ confirm ขนาดของยาและมียาอะไรที่จะเบิกเพิ่ม พร้อมทั้งในใจคิดว่าใครจะเบิกยาให้ อาจารย์ให้ไปหาอาจารย์หมอเอื้อมแข แต่ว่าเกรงใจจัง เลยตัดสินใจว่าจะไปหาอาจารย์หมอกระติ๊บซึ่งเมื่อโทรหา อาจารย์ก็ยินดี จึงรีบโทรบอกลูกสาวที่เป็นพยาบาลวิ่งไปเบิกยารอ แล้วฉันก็มารออยู่ที่หน่วยเพื่อเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ให้พร้อม ขณะนั่งรอฉันก็ปิ๊ง idea ว่าน่าจะเตรียมเรื่องพิธีกรรมด้วยเผื่อจะพาคุณตาทำบุญ และพาลูกและภรรยาแกขอขมา ฉันจึงติดเทียนไปด้วย 5 คู่พร้อมกับฝ้ายผูกแขนที่ได้มาจากการไปใส่บาตรเช้านี้และรีบโทรนิมนต์พระอาจารย์เอนก พระจิตอาสาที่มาช่วยทีมของเราอย่างต่อเนื่องด้วยใจที่มุ่งมั่น เเละท่านก็ไม่ขัดข้อง เมื่อทุกอย่างพร้อม ฉันโทรหาน้องนิว และอ้อย พยาบาลที่มาเรียนหลักสูตร BCCPN รุ่นที่ 2 ซึ่งทั้งสองคนกลับหอแล้ว แต่น้องไม่ปฏิเสธที่จะไปร่วมบุญกับฉันในครั้งนี้ เราไปถึงบ้านคุณตาประมาณสี่โมงเย็นพร้อมยาดังนี้

  1. มอร์ฟินชนิดฉีด เเละ sterile water 

  2. ยา midazolam สำหรับฉีดเวลาคุณตามีกระสับกระส่าย

  3. ยา 1 เปอร์เซนต์ อโทรปีนชนิดหยอดตา เเต่นำมาใช้หยอดปากเพื่อให้เสมหะของผู้ป่วยระยะท้ายเเห้ง ทำให้ไม่ต้องดูดเสมหะทำให้คุณตาเจ็บ

  4. syringe ขนาด 20 ซีซี สายต่อ extension 

  5. เข็มปีกผีเสื้อสำหรับเเทงชั้นใต้ผิวหนัง พร้อม alchohol

 เมื่อไปถึงเราสามคนเเบ่งหน้าที่กันทำอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องบอก โดยน้องนิวประจำที่เตรียมยา  ส่วนอ้อยเตรียมเครื่องผลิตออกซิเจน เเละฉันเเต่งขัน 5 เพื่อทำพิธีขอขมา พระอาจารยเอนกมาถึงพร้อมกับที่พวกเรามาถึง

            

                          ภาพประทับใจเมื่อไปถึงบ้าน

 

คุณตานอนหลับหรือเปล่าน้อ ทำไมเงียบจัง เสียงพวกเราถามคุณยาย 

คงเหนื่อยคุณยายบอก เมื่อกี๊พึ่งหงุดหงิด ร้องบอกให้ช่างมาซ่อมไฟ คงเหนื่อย

เเต่ทันทีที่อ้อยจะไปต่อออกซิเจน พวกเราก็ต้องหันมองหน้ากัน เมื่ออ้อยตะโกนมาว่าคุณตาไม่หายใจ คลำชีพจรไม่ได้ ฉันรีบเข้าไปช่วยอ้อยคลำชีพจรตรง Femoral เเละ ดู chest ไม่ move เเล้ว confirm รูม่านตาก็ขยายเเละไม่มีปฏิกิรยาต่อเเสง คุณตา จากไปเเล้ว ฉันหันไปบอกลูกสาวเเละคุณยาย ทุกคนอยู่ในอาการตระหนกตกใจ ทำอะไรไม่ถูก เมื่อตั้งสติได้ทุกคนก็เเบ่งหน้าที่กันอีกครั้ง

 

                  นิวกับอ้อยช่วยกันอาบน้ำคุณตา 

ส่วนฉันประสาน EMS เพื่อหาข้อมูลเรื่องการมาวินิจฉัยยืนยันว่าคุณตาเสียชีวิตเเล้ว เเละโทรหาปาพยายาบาลร่วมทีมเพื่อขอคำปรึกษา ได้ความว่าให้ไปตามผู้นำชุมชนมา เเต่พอไปตามเเล้วชุมชนนี้เขาไม่มา จึงเลือกวิธีที่สองคือไปขอใบรับรองจากเเพทย์ที่ดูแลครั้งล่าสุด เพื่อจะเเจ้งตายให้ทันภายใน 24 ชั่วโมง  จากนั้นเราจึงเริ่มพิธีสวดบังสุกุลตาย  ขอขมาคุณตา เเละถวายสังฆทาน

 

 

                            พระอาจารย์ทำพิธีขออโหสิกรรม

                                           พิธีกรวดน้ำรับพร 

เมื่อทำพิธีเสร็จ โลงเย็นก็มาถึงพอดี เราเเนะนำครอบครัวว่าไม่ต้องฉีดฟอร์มาลิน เเต่ใส่เป็นโลงเย็นเเทนเเละเราก็นั่งอยู่เป็นเพื่อน ช่วยครอบครัววางเเผน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร การ์ดเชิญ ของชำร่วย สถานที่สวดอภิธรรม เเม้กระทั่งโทรเเจ้งที่ทำงานของลูกสาวให้กระจายข่าวการจากไปไปยังผู้ที่รักใคร่รู้จัก 

 

 

 รอยยิ้มอิ่มบุญพยาบาลอ้อยกับพยาบาลนิว เรากลับถึงหน่วยประมาณ1 ทุ่ม เพื่อนำอุปกรณ์ที่ยืมไปเเล้วไม่ได้ใช้ขึ้นไปเก็บเเละไปทานข้าว วันนี้ฉันกลับถึงบ้าน สองทุ่ม เเต่ก็รู้สึกประทับใจกับงานที่ทำวันนี้ อิ่มบุญค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #home visit
หมายเลขบันทึก: 494746เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

I can see here how nurses can become more than just carers for the sick. They can be healers for the people in community.

I salute your team.

Thank you for cheer me and our team up. To day, I felt very proud and happy with our activity to day. I would like to say a big thank you for this patients who make me felt good.I learned a lot form him.

บทความนี้มีคุณค่ามากค่ะ ถ่ายทอดประสบการณ์ดูแลผู้ป่วย Palliative ที่บ้านที่ก้าวหน้าของศรีนครินทร์ ทั้งความสามารถในการทำ family meeting, subcutaneous medication ยอดเยี่ยมและขออนุญาตแชร์ใน FB นะค่ะ

นี้คือ จึดหลัก "คนไข้" เป็นศุูนย์กลาง จริงๆๆ ทำงานให้ดีที่สุด ทำด้วยใจจริงๆๆ ส่วนผลออกมาอย่างไร เราเต็มที่กับงาน = OK

เป็นพยาบาล ==> "บานออกมาจากใจ" นะคะ

ขอบคุณนะคะ บทความดีดีนี้นะคะ

  • เห็นภาพพยาบาลที่พยาบาลทั้งร่างกาย จิตใจ และจิต วิญญานผู้ป่วยเลยค่ะ
  • เป็นงานที่ได้สร้างบุญกุศลให้ตนเองอยู่ตลอดเวลาเลยนะคะ

ช่วยชีวิต จนถึงที่สุด ด้วยจิตวิญญาณ ของพยาบาล...ขณะทีี่อ่านบันทึก ญาตฺิที่ รพ.ศรีนครินทร โทร แจ้ง อาการคนป่วยหนัก แล้ว...แต่ในภาพเห็นแล้ว อบอุ่นใจแทน ญาติ และผู้ป่วย เพ่ิงไปเยี่ยมเมื่อ พฤหัสฯที่แล้ว สวัสดีครับ

ด้วยหัวใจและความรักจริงๆ ครับ

ÄÄÄÄ...เห็นแล้ว..ยังอยาก..(....)..ที่บ้าน..อย่างนี้จัง..."ขอให้..คุณตาจงสู่ซึ่งสุขคติ..." ยายธี..

ขอบคุณอาจารย์หมอเเต้นะคะที่เห็นว่าบันทึกนี้มีคุณค่า ยินดีเลยค่ะที่จะ share อาจารย์สบายดีนะคะ เเละขอบคุณที่เเวะมาเป็นกำลังใจ เรื่องเล่าใน gotoknow ยังมีค่าเสมอนะคะทุกบันทึก ของทุกๆคน เพราะว่าคิดถึงจึงเเวะมาบันทึก

พี่ศิลา นานเลยนะคะไม่ได้เจอกันที่นี่ ขอบคุณที่ยังรักกันค่ะ เเละไม่ลืมน้องกุ้งนางค่ะ

เป็นไปได้ค่ะยายธี ที่บ้านท่ามกลางคนที่เรารักน่าจะดีที่สุดนะคะ เราก็พยายามกระตุ้นให้ครอบครัวเเละตอบสนองให้คนไข้ได้กลับไปใช้ชีวิตช่วงท้ายที่บ้านค่ะ

ขอเอาไปรวบรวมไว้ที่นี่ครับ

http://www.gotoknow.org/posts/594249

ยินดีค่ะอาจารย์เต็ม ว้าว

ชื่นชมทีมพยาบาลทุกท่าน ทำหน้าที่ได้ดีสมศักดิ์ศรีในการช่วยเหลือเยียวยาดูแลผู้ป่วยและครอบครัวจนนาทีสุดท้าย

ต้องสมัครเข้าโครงการนี้ยังไงคะ อยากทราบเป็นข้อมูลค่ะ


สมัคร เพื่อเข้ามาใช้บริการ หรือ มาเป็นจิตอาสานะคะ ศูนย์การุณรักษ์เรา ตั้งอยู่ที่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ค่ะ ติดต่อ0844099935ค่ะคุณอัญชิษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท