ถ้วยฟู
นางสาว อาทิตยา ขจรรุ่งโรจน์

73 ผลงานวิจัย รองรับวิกฤติพลังงานในอนาคต


ท่ามกลางยุคน้ำมันแพงบวกรวมกับสภาวะตีบตันทางการเมือง ส่งผลให้ทุกหย่อมหญ้าในประเทศไทยต่างได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจก ันถ้วนหน้า แต่ทุกฝ่ายต่างไม่นิ่งนอนใจ ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงนั้น กำลังเร่งรุดที่จะพาประเทศฝ่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจให้รอดพ้น

ทั้งนี้ปัญหาพลังงา น ถือเป็นอีกหนึ่งวิกฤตการณ์ใหญ่ที่น่าหวั่นเกรง เพราะราคาที่ถีบตัวสูงขึ้นๆ ส่งผลกระทบถึงให้การคมนาคม และภาคอุตสาหกรรมรายใหญ่จนถึงระดับรายย่อยให้มีการลงทุนที่สูงข ึ้นเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าวิกฤตนี้ ก็คือการหมดไปของพลังงาน

“พลังงานทดแทน” จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีสำหรับในวิกฤตการณ์เช่นนี ้ ทำให้ แผนการรองรับวิกฤตการณ์ในอนาคตจึงถูกค้นคิดขึ้นมา จากนักศึกษาผู้เป็นกำลังสำคัญของชาติผ่านผลงานวิจัยที่จัดแสดงใ นงาน PCC Annual Research Presentation 2006 ซึ่งภายในงานได้มีการจัดแสดง 73 ผลงานวิจัยที่มีคุณค่า น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมายหลายรูปแบบในสาขาพลังงานทดแ ทน สาขาปิโตรเลี่ยม ปิโตรเคมี และสาขาวิชาโพลิเมอร์

“ อภิชพงศ์ จงวัฒนากฤต” นักศึกษาปริญญาโท สาขาปิโตรเลียม เทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานวิจัย “Catalytic Pyrolysis of Waste Plastics into Valuable Petroleun & pertrochemical product:Effect of residence time & ITQ-Lood-ed Catalysis” กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบไปถึงทุกคน

“ผมเห็นอย่างนี้แล้ วจึงมองไปที่พลังงานทดแทน สำหรับผม ผมมุ่งไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่าถ้าเราเอาขยะทิ้งไว้ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จะเกิดขึ้นแน่นอ น ปัญหาการย่อยสลายของพลาสติกนี่ มันน่าจะหมดไป และคิดว่าอยากทำให้พลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้เป็นพลังงานได้ โดยนำมาการทดลองเข้าห้องแลปแล้วศึกษา โปรเจคของผมก็คือ ทำให้เราสามารถใช้ Gas - oil ได้มากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของภาวะน้ำมันแพงครับ และที่สำคัญทำให้ราคาที่ใช้ถูกลงด้วย จะได้ช่วยลดอัตราการผลิตน้ำมัน”

ส่วน “เฉลิมรัฐ อัครวิทู” นิสิตสาขาปิโตรเคมี วิทยาลัยปีโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าภาวะน้ำมันแพงเช่นนี้ทำให้ทุกคนเริ่มมองหาพลังงานอื่นม าใช้ทดแทน และในฐานะที่เป็นนิสิตที่ร่ำเรียนมาทางด้านปิโตรเคมีก็รู้สึกตร ะหนักเช่นกัน

“แค่วิกฤตน้ำมันแพง ก็ดูจะรุนแรงต่อคนในประเทศไทยแล้ว แต่หากในวันข้างหน้าไม่มีพลังงานล่ะ จะทำอย่างไร ผมจึงมีแนวคิดที่จะทำงานวิจัยศึกษาต่อเนื่อง โดยพัฒนาความสามารถการรองรับปัญหาที่ต่อไปอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยการทำงานวิจัยด้านของ Biogass Perfomming คือ นำของเสียมาผลิตเป็นไฮโดรเจน ซึ่งก็จะสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้ โดยใช้กระแสไฟฟ้าสลับ ทำให้เกิดปฎิกริยาทางเคมีขึ้นมา ก็จะได้ไฮโดรเจน บวก ก๊าซคาร์บอนด์ มอน อ๊อกไซด์
ผมทำการทดลองและพัฒ นามาตลอดระยะ 1 ปี ส่วนถ้านำไปใช้ก็จะสามารถนำไปเป็นพลังงานทดแทนได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงอย่างที่บางประเทศก็นำไฮโดรเจนมา ใช้แทนน้ำมันเพื่อการขับเคลื่อนของรถยนต์แล้ว”

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. นันทยา ยานุเมศ ผู้อำนวยการวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าภาวะน้ำมันราคาแพงเช่นนี้จะต้องพยายามหาหนทางรองรับสภา วะอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“ตามสายงานที่เราทำ คือการผลิตโครงงานวิจัยและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยวัตถุประสงค์ที่อยากให้งานวิจัยที่มีคุณประโยชน์ต่อประเทศไ ด้ถูกนำไปสานต่อ โดยการร่วมมือกันจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สนใจเลือกเรื่องที่สนใจไปปรับปรุงสานต่อให้ใช้ประโยชน์ได้

ตอนนี้เรื่องที่เรา นำเสนอก็มักจะต้องหาให้อยู่ในความสนใจของสังคม ก็คือเรื่องพลังงานทดแทน งานวิจัยทั้ง 73 งานที่เรามีก็จะมีเรื่องของพลังงานทดแทนอยู่ด้วย เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการรองรับสภาวะของประเทศ ถ้าประเทศไม่มีพลังงานทดแทนก็คงไปไม่รอด เหมือนกันกับหลายๆ งานวิจัยที่ช่วยรองรับด้านปัญหาพลังงานในด้านต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดในอนาคต”

สนใจงานวิจัยทั้ง 73 ผลงานได้ที่วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49411เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 05:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท