ไบโอดีเซลอาจจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าแก็สโซฮอล์


ผลงานวิจัยล่าสุด ได้ลงความเห็นว่าในสงครามของการผลิตเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ไบโอดีเซลนั้นดูจะมีชัยเหนือ เอทาทอล แต่อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงทั้งสองชนิดก็ยังไม่สามารถลดปริมาณความต้องการใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมได้มากมายนัก

แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) คือน้ำมันเบนซินที่นำมาผสมกับเอทานอล (หรือที่เรียกว่าการ blending) เพื่อทดแทนสาร MTBE (Methyl tert-butyl ether) ซึ่งเป็นสารเพิ่มค่าออกเทนให้กับน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เนื่องจาก มีการวิจัยพบว่า MTBE เป็นสารเคมีที่ทำให้น้ำใต้ดินเป็นพิษ จึงมีการรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้สาร MTBE ผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ได้ยกเลิกการใช้สาร MTBE แล้วเช่นในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา

ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนที่จะยกเลิกการใส่สาร MTBE ลงในน้ำมันเบนซิน 95 โดยจะเปลี่ยนเป็นน้ำมันแก๊ซโซฮอล 95 แทน โดยกำหนดการที่วางไว้คือจะเปลี่ยนเป็น แก๊ซโซฮอล 95 ทั้งประเทศภายในปี 2550 และจะตามมาด้วยน้ำมันแก๊ซโซฮอล 91 ต่อไป

วัตถุดิบหลักของประเทศไทยที่ใช้ในการผลิตเอทานอลได้แก่ กากน้ำตาล และ มันสำปะหลัง แต่ในสหรัฐอเมริกานั้น เอทานอลส่วนใหญ่จะผลิตจากข้าวโพด

สำหรับไบโอดีเซลนั้น คือ นำน้ำมันดีเซลปกติผสม (หรือ blending) กับน้ำมันที่สกัดจากพืช ซึ่งในประเทศไทยพืชที่นิยมนำมาสกัดน้ำมัน ได้แก่ปาล์มน้ำมัน และต้นสบู่ดำ แต่สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น ไบโอดีเซลจะผลิตจากการผสมน้ำมันที่สกัดจากถั่วเหลือง (soybean)

ทั้งเอทานอล และ ไบโอดีเซล ต่างก็เป็นพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อว่าการหันมาใช้เชื้อเพลิงทั้งสองชนิดนี้แทนน้ำมันธรรมดาจะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เนื่องจาก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ จะถูกพืชที่ใช้ในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้ดูดซับเอาไป

แต่การผลิตน้ำมันทั้งสองชนิดก็ใช้เชื้อเพลิงปริมาณมากเช่นกัน เนื่องจากการปลูก และเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้น้ำมัน การผลิตยาฆ่าแมลงและปุ๋ย รวมไปถึงขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซลและเอทานอลด้วย สำหรับกลุ่มที่มีความเห็นตรงข้ามถึงกับบอกว่า การใช้ทั้งไบโอดีเซลและแก็สโซฮอล์ อาจไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อคิดรวมกระบวนการผลิตทั้งหมดแล้ว

เพื่อที่จะให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ ดร. เดวิด ทิลแมน นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยมิเนโซตา ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ ผู้ร่วมงาน ได้คำนวณต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่ต้องใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งสองชนิดนี้ ซึ่งผลปรากฏว่า เอทานอลที่ผลิตจากข้าวโพดนั้น ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจริง แต่น้อยกว่าน้ำมันเบนซินปกติเพียงแค่ 12% เท่านั้น

ในขณะที่ไบโอดีเซลที่ผลิตจากถั่วเหลืองสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 41% เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ ต้องผ่านการกลั่น ซึ่งใช้พลังงานมากนั่นเอง รวมทั้งปริมาณปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ใช้ในการปลูกถั่วเหลืองนั้นน้อยกว่าที่ใช้ในการปลูกข้าวโพดอีกด้วย ทำให้ไบโอดีเซลจากข้าวโพดดูมีภาษีดีกว่าสำหรับเชื้อเพลิงที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แต่จากการคำนวณ ต่อให้นำข้าวโพดและถั่วเหลืองทั้งหมดที่ปลูกในสหรัฐมาผลิต เอทานอล และไบโอดีเซล จะสามารถทดแทนได้เพียงไม่ถึง 5% ของความต้องการใช้น้ำมันทั้งหมดของสหรัฐ ซึ่งถ้านำมาใช้จริง ๆ ก็คงจะเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างมากแน่นอน

เดวิด ทิลแมนกล่าวว่าพืชทั้งสองชนิดคงเป็นแค่ส่วนน้อยในการผลิตเชื้อเพลิง เพราะการนำเอาพืชที่เป็นแหล่งอาหาร และมีน้อยอยู่แล้วมาทำเป็นเชื้อเพลิง คงไม่ดีในระยะยาวแน่นอน พร้อมทั้งเสนอว่าควรผลิตเอทานอลโดยใช้ cellulose ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืชที่ไม่ใช่แหล่งอาหาร เช่น หญ้า หรือ ต้นไม้อื่น ๆ เป็นสารตั้งต้นในการผลิต ซึ่งจะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก

ขณะนี้ในสหรัฐกำลังมีโครงการร่วมจากหลาย ๆ สถาบันวิจัยโดย Joint Genome Institute เพื่อทำการถอดรหัสพันธุกรรมของพืชสองชนิดที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการผลิตเอทานอลในอานาคต คือหญ้า switchgrass และมันสำปะหลัง (casava) เพื่อหาทางทำให้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมลดต่ำลงจากการปรับปรุงพันธุกรรมของพืชทั้งสองชนิด

งานวิจัยลักษณะนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบ ในการผลิตทั้งเอทานอล และไบโอดีเซลของไทยนั้น ต่างจากของสหรัฐอเมริกา เพื่อดูแนวโน้มว่าต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตทั้งเอทานอลและ ไบโอดีเซลนั้น คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มาหรือไม่

ข่าวจากที่มา

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49402เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 02:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้ความรู้รอบตัวในเรื่องของเชื้อเพลิงดีขึ้นค่ะ
ใช้อย่างประหยัด....ช่วยๆกันดีที่สุดค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท