การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_03_KM ผู้อำนวยการอีสานตอนบน


ผมทำ BAR กับตนเองว่า ท้ายของวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่เราจัดกิจกรรม KM ผู้บริหารจากทุกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่อีสานตอนบน (รวมทั้งจากโรงเรียนศูนย์ที่ประชุมกันเมื่อวานนี้ ที่นี่) ผอ.และครูแกนนำขับเคลื่อนที่มาร่วมคราวนี้ จะขยับที่ให้ทีมขับเคลื่อนจาก มมส. มีที่ยืน มีบทบาทหน้าที่ๆ ชัดเจน และอย่างที่จะได้ทำงานอย่างเต็มที่ต่อไป 

ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ ..... ต่อไปนี้เป็น AAR ในภาพรวมก่อนจะนำเสนอรายละเอียดของแต่ละโรงเรียนในบันทึกต่อๆ ไปครับ 

  • ผมเชื่อว่าผมบรรลุความคาดหวังของตนเองดังที่เกริ่นไว้ ซึ่งได้รับความเห็นในทำนองคล้ายกันจาก "ท่านเปา" ทำให้ผมมั่นใจมากขึ้น....ขอบคุณมากครับ 
  • เราได้ "ปัญญาปฏิบัติ" ในหัวเรื่อง "ผู้อำนวยการทำอย่างไรให้โรงเรียนได้เป็นศูนย์?" ของแต่ละโรงเรียนศูนย์ ซึ่งจะเสนอในบันทึกต่อ ไป 
  • เราทราบถึง "ความคาดหวัง"  "ความกังวัล" และ "ผู้ที่ควรเชิญมาช่วย" จากการ BAR ของทั้ง ผอ. และครูแกนนำจากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ครับ 

เมื่อถามว่า ท่านหวังอะไรหรืออยากได้อะไรในวันนี้บ้าง 

     คำตอบมีดังนี้ครับ

    • แนวทางในการพัฒนาสู่การเป็นศูนย์ 
    • ปฏิทินการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
    • การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน
    • กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้ที่โรงเรียน
    • มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง จริงใจ และเป็นมิตรแท้ เป็นที่พึ่งของโรงเรียนใกล้เคียง
    • ทำอย่างไรให้นักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียง 

เมื่อถามว่า ในใจท่านมีสิ่งใด ปัญหาใด ที่ยังกังวลใจหรือหนักใจ 

    คำตอบมีดังนี้ครับ 

    • การกระตุ้นให้บุคลากรในโรงเรียนตระหนักและทำงานเป็นทีม
    • งบประมาณไม่เพียงพอ
    • บุคลากรขาดความรู้และความพร้อม ปัญหาการโยกย้ายบุคลากร 
    • กังวลว่าจะไม่ผ่านการประเมิน
    • บุคลากรมีภาระงานเยอะ มีหน้าที่ๆ ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง
    • การถอดบทเรียนของนักเรียนทุกกลุ่มสาระ (จะสามารถทำได้หรือไม่)
    • กลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายในโรงเรียน และเครือข่ายภายนอกให้เข้มแข็ง 

เมื่อถามว่า ปัจจัยใดหรือใครที่จะช่วยท่านได้ 

    คำตอบมีดังนี้ครับ

    • การจัดอบรมหรือให้ความรู้ใหม่ 
    • พี่เลี้ยง (อาจหมายถึงโรงเรียนพี่เลี้ยง หรือผู้ขับเคลื่อนจาก มมส.) การสะท้อนผลเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น 
    • ความตังใจและความเข้าใจหลัก ปศพพ.
    • เครือข่ายที่เข้มแข็ง
    • มหาวิทยาลัย + ครู + ชุมชนบริเวณพื้นที่ 
    • ผู้รู้ที่ชัดเจนในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์
    • การบริหารจัดการของ ผอ.
    • บุคลากรทุกท่านใน ร.ร. ร่วมใจช่วยกัน 
    • แบบอย่างจากโรงเรียนต้นแบบ

 ก่อนจบบันทึกนี้ ผมตั้งขอสังเกตดังนี้ครับ 

  1. มีโรงเรียนที่ยังต้องการรู้ว่า "แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนศูนย์ ปศพพ. ทำอย่างไร"..... อาจเป็นเพราะแนวทางของโรงเรียนยังไม่ชัดเจน หรืออาจเป็นเพราะ ท่านอยากทราบแนวทางจากโรงเรียนศูนย์ เพื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนของตน....
  2. มีความเห็นที่แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเชื่อว่า ต้องมีการ "เตรียมความพร้อม" เพื่อรับการประเมิน มีความกังวลเรื่องงบประมาณ 
  3. มีแนวคิดของการส่งบุคลากรอบรมใหม่อีกครั้ง แสดงว่าขณะนี้โรงเรียนขาดครูแกนนำ หรืออาจหมายถึง ครูแกนนำไม่มั่นใจว่าจะขับเคลื่อนภายในโรงเรียนได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน 
  4. มีมุมมองว่า การขับเคลื่อน ปศพพ. ในโรงเรียน เป็นภาระเพิ่มเติม หรือภาระงานที่แยกส่วนกับภาระงานอื่นๆ 
  5. มีความคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้ กิจกรรม หรือ แนวทาง หรือวิธีการ ที่จะทำให้นักเรียนเกิดอุปนิสัยพอเพียง.... อาจตีความได้ว่า มีผู้เชื่อว่าการขับเคลื่อน ปศพพ. ที่ได้ผล มีรูปแบบที่ชัดเจน.... 

หรือท่านผู้อ่านคิดว่าอย่างไรครับ

อ.ต๋อย

คำสำคัญ (Tags): #21st century skills#plc#ปศพพ.
หมายเลขบันทึก: 494078เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท