Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์


โครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

 

สวัสดีลูกศิษย์และชาว  Blog  ทุกท่าน

          วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 มูลนิธิฯได้จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)เพื่อเก็บข้อมูลโครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”  ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเน้นบริบทเรื่องการท่องเที่ยวเละกีฬาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย จังหวัดนคราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และ สุรินทร์

       จึงนำข้อมูลต่างๆมา share กัน เเละอยากให้ทุกท่านร่วมออกความคิดเห็นผ่าน blog นี้ ครับ

                                       จีระ หงส์ลดารมภ์

.............................................................

ติดตามสาระสำคัญของ Focus Group ที่ผ่านมา

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493727

Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรีhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/493394

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492836

สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490673

.............................................................

ภาพบรรยากาศ

หมายเลขบันทึก: 493727เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ธวัช บุญครองเกียรติ
           อยากจะ share ด้วย แต่ไม่มีข้อมูลวิจัย แต่ดูรายชื่อจังหวัดแล้วเป็นโซนอีสานใต้ น่าจะทำทั้งภาคอีสานจะดีกว่า จะได้บูรณาการทุกจังหวัดในภาคอีสาน แหล่งท่องเที่ยวภาคอีสานมีมากทุกจังหวัด และมีเส้นทางเชื่อมประเทศจีน ลาว เวียตนาม และกัมพูชาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สามารถเชื่อมโยงการท่องเทียวและกีฬาได้


                                                                                             ธวัช บุญครองเกียรติ
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการท่องเที่ยวเวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ  ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

จุดเด่น

  • ภาพรวมการท่องเที่ยวมีความพร้อม เส้นทางคมนาคมสะดวก
  • การประสานงานของเขาพนมรุ้งยังไม่มีความพร้อมเท่าทีควร
  • มีสนามไอโมบาย ที่มีชื่อเสียง
  • แหล่งดูงาน ทางภาครัฐเข้าไปสนับสนุนแต่ไม่ต่อเนื่อง

 

ในส่วนการวิเคราะห์ ศักยภาพ เชื่อมโยงกับกลุ่มนครราชสีมา ชัยภูมิ  และบุรีรัมย์

การวิเคราะห์ SWOT

  • มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง มีแหล่งอารยธรรมขอม มีร่องรอยภูเขาไฟที่ดับแล้วถึง 6 แห่ง สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
  • มีพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทย มีห้วยจระเข้
  • มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ มีหลายวัฒนธรรม โยงถึงความเป็นอยู่วิถีชีวิต
  • มีภูมิปัญญาหลากหลาย มีแพทย์แผนไทย มีปราชญ์ชาวบ้าน
  • มีสนามฟุตบอลที่ทันสมัย และสวยงามที่สุดในประเทศ คือ ไอโมบาย มีการเปิดให้นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมได้
  • การท่องเที่ยวแบ่งเป็น

1. ธรรมชาติสร้าง การท่องเที่ยว ลาว เขมร พม่า เป็นลักษณะการชื่นชมธรรมชาติ มีการอนุรักษ์ไว้ ไม่ทำลาย  ควรศึกษาอย่างประเทศอื่น

2 .บรรพบุรุษ สร้างไว้ให้ อย่างเสียมเรียบ เงินไหลเข้าการท่องเที่ยวอย่างมาก

3. สร้างขึ้นมาใหม่ เช่น บึงฉวาก ปรากฎว่าในปัจจุบันคนรู้จักมากกว่าบึงบรเพ็ด

 

  • บุรีรัมย์มีสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างให้ แต่คนบุรีรัมย์ไม่มีสิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อดักการท่องเที่ยวให้อยู่กับเรามากที่สุด  ตัวอย่างเช่น พระพุทธประโคนชัย มีแหล่งดูนก น่าจะทำเป็นแหล่งศึกษา มีคนแนะนำข้อมูลต่าง ๆ  สรุปคือ บุรีรัมย์ น่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ได้
  • แหล่งดูนกที่ใหญ่มากคือ ชัยภูมิที่อำเภอโคนสาน
  • การท่องเที่ยวบุรีรัมย์ อยากโชว์ให้ประเทศไทยอยู่ใต้มหาสมุทรมา 220 ล้านปี มีหลุมหินที่เกิดจากการกัดเซาะน้ำทะเล
  • อำเภอบ้านกรวดมีเตาเผา ส่งไปขายที่สุโขทัย สามารถเป็นแหล่งดึงดูดได้ทีเดียว
  • ใต้ดินเจอตระกันเหล็กจำนวนมาก จึงทำให้อยากพิสูจน์ว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรมกันแน่  คิดว่าน่าจะมีวิธีการหาแร่เหล็กไปทำเครื่องใช้ไม้สอย น่าจะมีการรู้วิธีทำมาเมื่อ 700-800 ปีแล้ว อยากให้มีการตระกันแร่เหล็ก  ให้มีนักวิชาการแสดงองค์ความรู้เหล่านี้  สามารถทำเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้ เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวให้บุรีรัมย์ดีขึ้น
  • สโลแกน เมืองปราสาทหิน มีปราสาทหินมากกว่า 60 แห่ง มีภูเขาไฟ 6 ลูก แต่ละลูกมีลักษณะเด่นเฉพาะ เช่นการปะทุซ้ำซ้อนในปากปล่อง มีผ้าไหมสวย มีวิถีชีวิตการทอผ้า
  • รวยวัฒนธรรม บุรีรัมย์เป็นจังหวัดเดียวในภาคอีสานที่หาอัตลักษณ์ไม่ได้  มี 40 % พูดเขมร 20 % พูดลาว 20% พูดไทยโคราช นางรอง มีส่วย มี...  คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงดูวัฒนธรรมจะไปดูที่สุรินทร์มากกว่า
  • มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์  และโบราณคดี เช่นปราสาทขอม  นักโบราณคดีแบ่งกลุ่มปราสาทขอม เป็นโบราณสถานที่ มีเทวสถาน มีที่เก็บศพ โรงพยาบาล ที่พักคนเดินทาง บุรีรัมย์ มีครบหมด เว้นแต่ที่เก็บศพสามารถดูได้ที่นครวัด  สรุปคือเราสามารถพาทัวร์ดูปราสาทได้  พนมรุ้งไม่แพ้นครวัด แพ้อย่างเดียวที่ความใหญ่
  • บุรีรัมย์ มีแหล่งตัดหิน มี 3,000 กว่าไร่ สามารถเห็นขั้นตอนการตัดหินทุกขั้นตอน ว่าทำอย่างไร ถึงไปทำปราสาท ถ้าสามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวได้ ทำให้การท่องเที่ยวขายได้ครบวงจร
  • เตาเผาเซรามิก บุรีรัมย์ เป็นรุ่นแรก เก่ามากกว่า 3,500 ปี   รุ่นแรกมีนักค้าของเก่า

มี แหล่งสแลกแร่ คือบ้านโนนพาลัย

สรุปคือ แง่โบราณคดี บุรีรัมย์จะมีครบทุกอย่าง

  • แง่ทางเกษตร มีแหล่งวัฒนธรรม มีปราชญ์ชาวบ้าน เช่นครูบาสุทธินันท์ พ่อผาย มีแพทย์แผนไทยที่ตรวจได้ทุกโรค
  • มีหมอดูต่าง ๆ เยอะ
  • มีทัวร์กินของอร่อยที่บุรีรัมย์
  • มีทัวร์วัด บุรีรัมย์มีวัดที่มีครูบาอาจารย์ที่ดีมาก มีวัดทุ่งโพธิ์ กับวัดป่าเขาน้อย
  • ปี 2511-2525 อ.บ้านกรวด เป็นสนามสู้รบทางการเมือง มีค่าย  มีครัวอาหารป่า มีแหล่งอยู่อาศัยของทหารป่า สงครามมีความรุนแรงไม่แพ้พิษณุโลก แต่จุดสนใจทางการเมืองกลับไปอยู่ที่ภาคเหนือ ทั้งความจริง ปัญหาทางการเมืองที่บุรีรัมย์ มีความเข้มข้นมาก  ควรทำเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ อ.ประคำ มีอนุสรณ์สถาน 2 สหาย  สามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกที่ตกทอดได้
  • โรงเรียนมีชัยพัฒนา มีกลุ่มฝรั่งเยอะ ถ้าจะพัฒนาภาษาอังกฤษก็มาติดต่อได้
  • Community Base Tourism  มีกลุ่มชาวสิงคโปร์มาอยู่เป็นเดือน มีมาจาก Singapore Management University และ.... มีการส่งนักศึกษามาร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้าน 
  • ตัวอย่างจากอำเภอนางรอง สถิติห้องพักมี 500-600 ห้อง ลูกค้ามาได้อย่างไร และผู้ประกอบการอยู่ได้อย่างไร

-          สืบเนื่องจากการคมนาคมในประเทศสะดวกมาก  มีเส้นทางมาสีคิ้ว ส่งไปอุบลฯ เข้าเวียดนาม ลาว

-          เดินทางมาสระบุรี สามารถมาปากช่อง สามารถมาถึงอำเภอนางรอง มีร้านอาหารขนาดใหญ่ระดับโรงแรม มีร้านขาหมูระดับประเทศ มีก๋วยเตี๋ยวเจ้าดังมาก

-          สรุปคือการคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกจากข้างนอกสามารถส่งเสริมให้อำเภอนางรองเกิดขึ้นได้

-          อ.นางรอง ไปดงดินแดน อ.สอยดาว  สู่จันทบุรี ตราด ไหลลงทะเลตะวันออก ถ้าทำถนนเส้นนี้ให้ดี มีเส้นมุ่งสู่ทะเลได้ง่าย ทำให้บุรีรัมย์เป็นเมืองที่คนอยากมา

-          มีธุรกิจเพื่อสังคม รายได้ไปสนับสนุนกับพื้นที่ในชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำในบุรีรัมย์ แบ่งเป็น 4 แบบ

1.ระหว่างประเทศ มีที่หนองคาย

2.ระดับประเทศมีที่ บึงจรเข้ อุทยานลำน้ำมาตร  มีแหล่งให้นักท่องเที่ยวมาดูนกในเขตพื้นที่ห้ามล่า เป็นลักษณะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  มีการสร้างศาลาดูนก

3. ระดับชาติ

4. มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีแหล่งต้นน้ำ และมีเขตช้างป่า มีอุทยานแห่งชาติบางปะยา

มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว Long Stay มีชาวสวิสเข้ามาดูแหล่งท่องเที่ยว สำหรับประเทศเขา ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

การท่องเที่ยวชุมชน

-          ที่ชุมชนหนองตาเข้ม  มีคนจากหงสา ประเทศลาว เข้ามาดูงาน มีพักที่พนมรุ้งบุรี แล้วเข้ามาที่หมู่บ้าน อยากให้มีการท่องเที่ยวชุมชนขยายไปหมู่บ้านอื่นบ้าง   มีดูเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การดูเรื่องแนวคิดและแนวปฏิบัติของชุมชน

จุดเด่น

-          ชุมชนหนองตะเข้ม มีอนุสาวรีย์บรรพบุรุษสร้างในหมู่บ้าน

-          วิถีชีวิตชุมชน มีคนจากลาว และกัมพูชามาดู และเรียนรู้การประกอบอาชีพ วิถีชีวิตที่คนอาศัยอยู่กับครอบครัว ไม่ออกไปทำอาชีพข้างนอก

-          มีกลุ่มอาชีพ มีสถาบันการเงินของหมู่บ้าน มีคนแนะนำชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยง

ชุมชนหนองตาไก้

  • มีไหมเปลือก ไม่เหมือนที่อื่น สามารถไปทำผ้าปูโต๊ะ ผ้าพันคอเป็นต้น

อาหาร

  • การทำโรงงานริสกีฮาลาลฟู้ดส์ มีแนวทางที่จะพัฒนาร้านอาหารเวียดนามและอาหารไทย สู่ตลาดโลก มีแนวคิดทำครัวเปิดสอนอาหารสุขภาพ เน้นการทำให้ครบวงจร มีแนวคิดแต่งร้านอาหารตามเอกลักษณ์ของชาวบุรีรัมย์  เช่นแต่งเป็นลักษณะเขาพนมรุ้งเป็นต้น

จุดอ่อน

  • บุรีรัมย์เป็นเมืองติดอันดับเกือบจนสุดในประเทศ ทำอย่างไรถึงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
  • ไม่มีการประชาสัมพันธ์ หรือการตลาดที่ดี
  • ขาดบุคลากรที่มีความรู้  คนที่ทำงานเป็นไกด์จริง ๆ เป็นครู ทำงานไกด์เป็นไซด์รายเฉย ๆ
  • การพัฒนาคมนาคม ใช้วิธีการเช่าเหมาเอา ไม่สามารถควบคุมได้ มีการคอรัปชั่นเกิดขึ้น
  • ภาครัฐ บุรีรัมย์เป็นเมืองที่ใช้ผู้ว่าฯ เปลือง นโยบายของผู้ว่าฯ แต่ละคนไม่ต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่นการกำหนดวันแต่ละปีของเขาพนมรุ้งไม่รู้ล่วงหน้าเกิน 6 เดือน รูปแบบการทำงานเป็นลักษณะการทำตามนาย
  • ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของบุรีรัมย์ ขาดจินตนาการ และสร้างความเป็นเลิศให้กับตนเอง  ส่วนใหญ่หวังแค่ให้อยู่ได้ก็พอ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ประทับใจ ตัวอย่างเช่น อาหารต้องปรับปรุง แต่โรงแรมเริ่มดีขึ้น
  • แต่ก่อนบุรีรัมย์จนสุด  แต่ปัจจุบันมีเขยฝรั่งมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มดีขึ้น
  • คนบุรีรัมย์ แท้ ๆ ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ และที่อื่น ส่วนคนในปัจจุบันเป็นคนมาจากที่อื่น
  • ในอดีตการท่องเที่ยวภาคอีสานถูกละเลยเนื่องจากไปมุ่งที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกมากเกินไป แต่ปัจจุบันราคาที่ดินในอีสานขึ้นมาก
  • การติดที่กฎระเบียบข้าราชการมากเกินไป

 

ข้อเสนอแนะ

  • ทำอย่างไรที่นักท่องเที่ยวไม่ว่าจากต่างประเทศหรือในประเทศจะเข้าถึงข้อมูลที่นำเสนอในข้อดีของบุรีรัมย์
  • การพัฒนาขีดความสามารถทำอย่างไรถึงเชื่อมโยงกับการตลาดที่เข้ามา
  • บุรีรัมย์เป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีด่านข้ามแดนถาวรกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำอย่างไรถึงจะเปิดได้   อย่างเช่น การเดินทางจากช่องสายตะกู ไปเสียมเรียบ ศรีโสภณ ถ้าเปิดช่องเดินทางนี้ จะเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านคือเขมร เป็นการเดินทางตามรอยปราสาทที่ดี
  • เสนอให้การท่องเที่ยวบุรีรัมย์ควรมีตำนาน เช่นบุรีรัมย์ตำน้ำกิน ถ้าถามประวัติศาสตร์บุรีรัมย์ต้องไปถามอาจารย์วันดี  แต่ก่อนบุรีรัมย์มีความแห้งแล้งมาก ต้องเอาดินที่อยู่ใกล้น้ำมาตำ แล้วมาทำน้ำกิน  ทำไมถึงต้องตำน้ำกิน เป็นสิ่งที่น่าสนใจ  (โดยสภาพของดิน เป็นดินทราย ไม่เก็บน้ำ ช่วงหน้าแล้ง ดินจะแห้ง  คนโบราณจะเอาดินคลุกกับโคลนตะกอนแล้วมาฝนตำน้ำกิน)
  • การมีพิพิธภัณฑ์เมืองเช่นสุพรรณบุรี ซึ่งสามารถเสนอได้ทุกเรื่อง เช่นบุรีรัมย์ตำน้ำกินเป็นต้น
  • ให้อีสานมี แบรนด์ทางการท่องเที่ยวมากกว่านี้ มี Benchmark ใกล้เคียงกับโลกคืออะไร เช่น Blue Elephant
  • สร้างการกระจายรายได้ให้อีสานพึ่งตนเองได้
  • การทำทุนมนุษย์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่าทำอย่างกระจัดกระจาย
  • เน้นการพัฒนาคนในวงการการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง จุดอ่อนคืออะไร และจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร
  • การทำ Story ของอีสานไปเผยแพร่ทั่วโลกให้สนใจ
  • ต้องนำความเป็นเลิศ ไปบวกกับความรู้ใหม่ๆ
  • การทำการตลาดให้ดูที่ Customer
  • สมาคมท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นแล้วเป็นนิติบุคคล ให้ราชการเข้ามาเสริม เป็นที่ปรึกษาได้หรือไม่ สามารถปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวเสริมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น  มีโครงสร้างที่ชัดเจน แล้วราชการมาแนะนำได้หรือไม่
  • ส่วนกลางมีสมาคมที่เข้มแข็งสามารถรวมกลุ่มกันและกดดันรัฐบาลได้
  • ภาคธุรกิจเป็นตัวนำ และรัฐสนับสนุน

 

การพัฒนาขีดความสามารถ

  1. โรงแรม อยู่ในเกณฑ์ดี มีความเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว พนักงานเป็นคนในพื้นที่  ขาดแคลนหลักสูตรพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับตลาด  ไม่มีมาตรฐานและใบรับรองคุณภาพมาตรฐานของ AEC  ควรเน้นเรื่องการพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ
  2. ธุรกิจนำเที่ยว จุดแข็งคือโอกาสคมนาคม และศักยภาพของธุรกิจ รถนำเที่ยวถือได้ว่าเมืองไทยเป็นอันดับหนึ่ง  แต่สิ่งที่ขาดคือพนักงานขับรถไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ขาดการสื่อสารกับปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ให้ดูตัวอย่างในยุโรป พนักงานขับรถสามารถทำพิธีการผ่านแดนได้เลย ไม่ต้องใช้ Tour Leader
  3. ของฝาก ของที่ระลึก  การเข้าถึง สินค้าที่วางขายตามร้านต่าง ๆ แหล่งผลิตอยู่ที่แหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ ทำอย่างไรถึงส่งถึงการตลาดได้

 

การคุกคามเมื่อเข้าสู่ AEC

  • สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากคือความยั่งยืน จากการรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน
  • การพูดเรื่องศักยภาพการแข่งขันต้องเป็นระยะยาว
  • ใน 3 ปีข้างหน้า มีคนจากหลายหลายประเทศเข้าสู่เรา แต่เราพร้อมหรือยัง  การประชาสัมพันธ์มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อย่าอิงกระแสการเมืองมากเกินไป  ต้องรู้จักใช้ของดีให้เต็มที่  
  •  

 

โอกาสเมื่อเข้าสู่ AEC

  • การท่องเที่ยวอนาคตที่ประสบความสำเร็จไม่ควรกระจุกตัวในเมืองใหญ่ ๆ
  • ภูมิศาสตร์ในบุรีรัมย์เปิดกว้าง ดังนั้นควรรวมตัวและช่วยเหลือกันให้มากที่สุด
  • การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน
  • การสร้างมาตรฐานเพื่อแข่งกับ AEC
  • การผนึกพลังรวมกันในอาเซียน ใช้ตลาดเดียวให้วัฒนธรรมต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามาแล้วสร้างมูลค่าเพิ่มให้เรา

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวในกลุ่ม AEC

  1. การเมืองไม่นิ่ง  อย่างเช่นปี 2540 จะปรับให้วังน้ำเขียวเป็นแหล่งโอโซนของโลก แต่ปัจจุบันทำไม่ได้
  2. เส้นทาง มีจากสระบุรี – หนองคาย ผ่านถนนมิตรภาพ นับว่าเส้นทางดี แต่ถ้าเส้นทางรองรังจากนางรองไปถึงปราสาท ถึงอุบลราชธานี การพัฒนาทางยังไม่ดีเท่าที่ควร

 

แนวทางการพัฒนาของราชการควรพัฒนาเพื่อสร้างความเชื่อมโยงได้อย่างไร

  • มีการพัฒนาเส้นทางตามแนวอารยธรรมขอม – การเปิดด่านการค้าผ่อนปรนมีความจำกัดอยู่ ถ้าเปิดด่านที่สายตะโก สามารถเชื่อมโยงอารยธรรมขอมได้แน่นอน  แต่ปัจจุบันมีด่านช่องจอง ก็สามารถเสริมได้บ้าง
  • แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม  คนในพื้นที่ไม่สามารถให้ข้อมูลในการบริการการท่องเที่ยว
  • ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องการเชื่อมโยงกับสิ่งท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่น ๆ เพียงแต่ขาดบุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือ คนในท้องถิ่น ภาครัฐจะเข้าไปสนับสนุนอย่างไร สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มจังหวัด นครชัยบุรี ได้
  • ให้ภาคเอกชน ภาคผู้ประกอบการท่องเที่ยวเป็นตัวหลักในการบริหารจัดการ ส่วนราชการจะเป็นส่วนสนับสนุน

 

แนวทางการพัฒนาของส่วนสถาบันการศึกษา

  1. การพัฒนาคน หรือผู้ประกอบการ เน้นเรื่องการปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  การสร้างเครือข่ายของชุมชนให้เข้มแข็ง
  2. ทักษะ การรู้ประวัติศาสตร์  การสื่อสาร ช่องทางไอซีที เช่นการทำท่องเที่ยวออนไลน์
  3. การเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
  4. การประชาสัมพันธ์สื่อให้มีการยอมรับ และวางจุดยุทธศาสตร์ของบุรีรัมย์ที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากที่อื่น

 

ข้อจำกัด 

  1. กฎหมาย พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  ทำให้คนในท้องถิ่นบางครั้งที่มีความรู้แท้จริง ไม่สามารถเผยแพร่ความรู้ได้ คนที่เผยแพร่ได้มีแค่มัคคุเทศก์เท่านั้น

-          ทางแก้ให้มัคคุเทศก์ทุกจังหวัดรวมตัวกันตั้งเป็นสภาวิชาชีพ และกำหนดกติกาเอง

-          แก้กฎหมายตรงนี้บ้าง จะให้ชาวบ้านสามารถแนะนำได้

-          ป้องกันมัคคุเทศก์เถื่อน และการทำผิด ราชการเลยมีการควบคุมตรงนี้

 

จุดเด่นการเชื่อมโยงในภาคต.อ.เฉียงเหนือ

  1. เส้นทางอารยธรรมขอม มีปราสาทหิน
  2. ภูเขาไฟ และการปะทุซ้ำซ้อน
  3. การเป็นเมืองใต้มหาสมุทรเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำต้น ๆ ของประเทศ
  4. มีแหล่งท่องเที่ยวดูนกที่ทุ่งกระมัง มีแหล่งทางนิเวศเยอะมาก
  5. เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า มีตาพระยา เป็นมรดกโลก
  6. ปราสาทหิน มีทุกอย่างครบ  ยกเว้นที่เก็บศพ สามารถสร้างความเชื่อมโยงในประเทศกัมพูชาได้
  7. มีแหล่งตัดหิน 3,000 กว่าไร่
  8. มีตระกันเหล็ก สามารถทำการศึกษาเป็นแหล่งอารยธรรมเหล็กที่สร้างได้
  9. มีประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองที่ควรรื้อฟื้นและอนุรักษ์

10. มีอดีต มีตำนานเช่นบุรีรัมย์ ตำน้ำกิน สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้

11. มีภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่ครบวงจร เช่น ผ้าไหมสวย มีไหมเปลือกต่างจากที่อื่น (ส่งศิลปาชีพ 1 คันรถ)  การทำผ้าที่ทำจากโปรตีนไหมสามารถเล่นกีฬาได้ เป็นผ้านาโน

12. มีดนตรีที่เด่น เช่น มโหรีเขมร

13. อาหารอร่อย มีนวัตกรรมใหม่ เช่น อาหารเวียดนามฮาลาล

14. วิถีพุทธเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจชุมชน อาชีพที่ยั่งยืน

15. มีวิถีชุมชน วัฒนธรรมสูง

16. มีการท่องเที่ยว Long stay

17. มีตลาดนัดเช้าเย็น มีการเปิดครัวทำอาหารสุขภาพ

18. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ มีคนเวียดนามน้อย แต่ที่เยอะจะมีที่หนองคาย

19. การอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น เช่นแกงชะเงย

20. มีของที่สร้างใหม่และมีคุณภาพ เช่น พระพุทธประโคนชัย  จริง ๆ พระพุทธเมตตาพนมรุ้ง และไสยนิกาย

21. มีศูนย์ดูนก ในการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิต ทำให้ดีขึ้น มีธุรกิจเพื่อชุมชน

22. เส้นทางการเชื่อมโยงท่องเที่ยวดีเป็นบางส่วน สามารถเชื่อมโยงไปในภาคต่าง ๆ ได้

23. การเปิดด่านถาวรยังไม่มีใช้ที่ช่องจอมไปก่อน

24. ที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกดีขึ้นเรื่อย ๆ

25. สินค้าโอทอป หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มีมากแต่ขาดการส่งเสริมการตลาด ขาดนวัตกรรมที่หลากหลาย

26. คน หรือทุนมนุษย์ มีจุดเด่นเยอะ แต่ขาดการเชื่อมโยง และภาษา 

27. สามารถทำการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม เช่น กัมพูชา ลาว จีน เวียดนาม

28. ขาดความรู้ด้านการนำเที่ยว

29. ขาดไอที

30. ขาดจินตนาการ

31. ขาดองค์ความรู้รอบด้าน รู้แต่ในงาน ขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการ กระบวนทัศน์ เรียนรู้ ทำเครือข่ายให้เข้มแข็ง การสร้างมูลค่าเพิ่ม

32. แบรนด์ของอีสานอยากให้คนเข้าใจมากกว่านี้ สินค้าดีแต่แบรนด์ไม่ชัดเจน

33. ขาดการประชาสัมพันธ์

34. เสริมความรู้ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ

 

สิ่งที่ขาดและต้องการองค์ความรู้

1.ขาด Story และความร้อยเรียง Impact ไม่โดน  สามารถใช้ Multimedia เสริมได้ ,ทำหนังสืออ้างอิงในระดับนานาชาติ

2. มีแหล่งอารยธรรม และปราชญ์ชาวบ้าน ควรมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น เช่นโอสถสถาน

3. ขาดจินตนาการ และก้าวสู่ความเป็นเลิศ

4. ขาดความต่อเนื่องของภาครัฐ

5. ขาดการประชาสัมพันธ์และการตลาด

6. ขาดแคลนไกด์ และไกด์ที่มีคุณภาพ

7. อาหารต้องมีการปรับปรุง

8. ขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ และแหล่งท่องเที่ยวใหม่

9. การเมืองไม่นิ่ง

10. ขาดด่านถาวร

11. ขาดการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

12. ขาดการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเร่งด่วน  เช่น พัฒนคนขับรถให้พูดภาษาได้

13. ขาดมาตรฐาน AEC อย่างเป็นรูปธรรม

14. ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง  ขาดศูนย์กลาง

15. ขาดพิพิธภัณฑ์เมือง

16. มีที่พักพอหรือไม่สำหรับจีนเข้ามา 130 ล้านคน

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการกีฬาเวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ  ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

เกริ่นนำวัตถุประสงค์ทางกีฬา

  • กีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  กีฬา เชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ ความมั่งคง และวัฒนธรรม
  • มองกีฬากับ AEC แต่กีฬาก็เข้าถึงประเทศไทยมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว
  • การทำวิจัยครั้งนี้อยากเน้นการกระทบกับโครงสร้างความสมดุลของมนุษย์
  • กีฬา กับธุรกิจการกีฬา
  1. อุตสาหกรรมการกีฬาในประเทศไทย เช่น Grand spot ,FBT ,รองเท้า Nike ,ไม้กอล์ฟ  ถ้าทำกีฬาให้ฉลาดจะกระทบเศรษฐกิจได้ แสน ๆ ล้าน
  2. Wellness Fitness + Spa
  • กีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  อยากให้เน้นกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของการทูตภาคประชาชน
  • อยากให้มีการแลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์การกีฬามากขึ้น  อนาคตอาจมี Sport Academy ขึ้นในประเทศไทย
  • กีฬาควรอยู่ในส่วนหลักของประเทศ อยากให้สังคมมีความพร้อมในส่วนต่าง ๆ

 

 

ให้แต่ละท่านคิดตัวละครในวงการกีฬา

  1. 1.      สมาคมกีฬา

ปัญหา

เต็มไปด้วยมาเฟีย ไม่มีความโปร่งใสในการดูแลสมาคมกีฬา กฎระเบียบดูแลโดยสมาคมโลก เช่น บอล บาส ขึ้นกับ FIFA , FIBA

ทุนมนุษย์ในภาคการกีฬา

  1. ข้าราชการ อยากให้เน้นเรื่องการพัฒนาภาษา อาชีพ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
  2. Sport Entrepreneur  ตัวอย่างการจัดกอล์ฟในเอเชียคนกินหัวคิวคือสิงคโปร์  ไทยจัด SEA GAME และ Asian Game เก่งมาก
  3. ยุทธศาสตร์การกีฬา เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา การวิจัย สุขภาพ

สรุปคือให้มองอาเซียนก่อน แล้วเราค่อยไปแก้แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ

 

ประเภทของกีฬา

  1. กีฬาเพื่ออาชีพ
  2. กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
  3. กีฬาพื้นบ้าน (วัฒนธรรมร่วมใน AEC)

การเตรียมความพร้อม

  1. Sport      Tourism มีหรือไม่ การรองรับมีความพร้อมหรือไม่
  2. มีไอโมบาย      เชื่อมโยงได้หรือไม่
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเป็นอย่างไร      เช่น เสื้อผ้า รองเท้า สนามกีฬา อุตสาหกรรมกีฬา การวิจัยพัฒนา
  4. บุคลากรการกีฬา      มีนักจัดการ มี Sport Management ,Sport Medicine, บุคลากรทางการกีฬา,นักวิจัย

ภาพรวมทางการกีฬา

  • กีฬาที่ก.การท่องเที่ยวกีฬา. มีกีฬาพื้นฐาน กีฬามวลชน กีฬาเป็นเลิศ กีฬาอาชีพ
  • กีฬาพื้นฐาน และกีฬามวลชน มีกรมพลศึกษารับผิดชอบ แต่ไม่มีพื้นที่จึงมอบให้ ก.การท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดควบคุม
  • กีฬาเป็นเลิศ และอาชีพ มอบให้ กกท.  มีผู้รับผิดชอบโดยตรงของพื้นที่แต่ละจังหวัด

ข้อจำกัด

  1. มีข้อจำกัดด้านการจัดการแข่งขัน      สนาม และสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา สนามไอโมบายเป็นของเอกชน      ถ้าภาครัฐใช้ไม่สามารถใช้ได้       ควรเน้นเรื่องการพัฒนาสนามกีฬา และโรงยิมของภาครัฐ      ให้มีความพร้อมและได้มาตรฐานมากกว่านี้
  2. ราชภัฏมีสนาม      แต่ถ้าใช้ต้องมีค่าใช้จ่าย
  3. ไม่มีอุปกรณ์ของวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ได้รับการสนับสนุน      เช่น การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
  4. ระบบการศึกษาของไทย      ไม่ส่งเสริมการกีฬาให้เด็ก

 

ขีดความสามารถการบริหารจัดการ

บุคลากรมีความเพียงพอหรือไม่  และคุณภาพเป็นอย่างไร

-          น่าจะใช้ได้เพียงพอเรื่องการให้บริการ  อย่างการพัฒนากีฬาพื้นฐาน และกีฬามวลชน  คนที่มาทำส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างจากกรมพลศึกษามาทำ แต่ปัญหาคือการขาดความมั่งคงในรายได้

-          วิทยาศาสตร์การกีฬา  และครูพลศึกษา มีน้อยลง ทำให้แนวคิดการส่งเสริมกีฬาพื้นฐานไปได้ไม่ค่อยดี เนื่องจากคนที่ทำมีน้อยลง

-          ความมั่นคงคนจบสายกีฬา ไม่มีการรองรับที่ชัดเจน เส้นทางความก้าวหน้ายังไม่มี

-          บุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬามีการกระจายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ และจบแล้วไม่ตกงาน

-          อยากให้มีการจัดระบบการเรียนการสอนอย่างโรงเรียนกีฬาที่จีน ให้มีความเก่งทั้งกีฬา และวิชาการด้วย

-          ขาดการให้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการกีฬาในทุกระดับ

การเพิ่มศักยภาพทางบุคลากรต้องการอะไรบ้าง

-          ส่วนกลางให้การส่งเสริมจำนวนมากมีส่งเรียน ดร.หลายคน

-          คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

-          วิทยาศาสตร์การกีฬามีความสัมพันธ์ถึงการลงพื้นที่ในชุมชน ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพสู่ชุมชนได้อย่างดี

-          จังหวัดใดที่มีวิทยาศาสตร์การกีฬาจะมีความพร้อมไม่มีปัญหา  แต่จังหวัดที่ไม่มียังคงเป็นความต้องการอยู่ และควรมีการลงในท้องถิ่น

-          ควรมีการสนับสนุนวิทยาศาสตร์การกีฬาให้ครบทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด

อุปกรณ์ทางกีฬา

-          ยังขาดอยู่ต้องรองบประมาณจากส่วนกลางกลับเข้ามา

-          สถาบันพลศึกษาที่อุดร ชัยภูมิ อุปกรณ์น่าจะมี

-          มีโรงเรียนกีฬาที่อุบล ขอนแก่น

-          วิทยาศาสตร์การกีฬาของสถาบันการศึกษามหาสารคาม มีความพร้อมมาก ได้งบฯ มาเกือบ 20 ล้าน

-          มีที่อุดร มหาสารคาม ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาในภาคอีสาน

-          อุปกรณ์ยังไม่มีความก้าวหน้า

การเตรียมความพร้อมของท้องถิ่น

-          เตรียมตัวให้พร้อมถ้าส่วนกลางส่งอุปกรณ์ทางกีฬามา

จุดอ่อนของกระทรวงฯ

-          มีแค่นโยบายกีฬาทั่วไปยังไม่เป็นยุทธศาสตร์

-          วิทยาศาสตร์การกีฬาต้องพัฒนาหลายเรื่อง เช่นการกระจายโอกาสไปสู่จุดต่าง ๆ

-          การสร้างให้คนสนใจกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย  เน้นเรื่องสุขภาพ ส่งเสริมให้คนไม่ต้องไปหาหมอ

-          การเตรียมคนในสังคมยังไม่มีความพร้อม พื้นฐานของไทยยังไม่ดีพอ  ขึ้นอยู่กับบางสมาคมฯ ที่เอาเงินเข้าไป

-          มีทิศทางสู่การกีฬาระดับสูง

ส่วน กกท.

-          เด็กเล่นกีฬามาแล้วแต่ไปมหาวิทยาลัยโดน Retire ออก กกท.กำลังส่งเสริมกีฬามืออาชีพ ส่งเสริมกีฬาให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้  เมื่อสังคมมองเห็น พ่อแม่ให้การสนับสนุน มีแนวทางเป็นไปได้ จะทำให้เด็กสนใจมากขึ้น

-          ข้อจำกัดคือ บุคลากรน้อย เป็นลูกจ้าง ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ถ้าคนที่รักกีฬาจริงจะทำ แต่คนโดยทั่วไปรู้สึกเพียงแค่ทำตามหน้าที่

-          อุปกรณ์การกีฬาได้งบมาน้อย ถูกโอนไปให้ท้องถิ่น อย่างสนามกีฬาก็ถูกถ่ายโอนไปท้องถิ่น ต้องมีงบในการปรับปรุง

สิ่งที่ต้องทำคือ

  1. ส่งเสริมระดับพื้นฐาน ให้คนเล่นกีฬามากขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีตัวเลือกเยอะ ให้ดูตัวอย่างคนเล่นกีฬาในประเทศจีน 
  2. ภาคไหนต้องการให้ขอวิทยาศาสตร์การกีฬาไปที่ภาค 5 โคราช

ลักษณะการทำงานของกกท.

-             กกท. ทำงานร่วมกับสมาคมกีฬาจังหวัด ถ้าสมาคมไหนเข้าไปก็จะได้รับการส่งเสริม เช่น โคราช สกลนคร (มีศูนย์ฝึกกีฬาจักรยาน)  บุรีรัมย์ เด็กสนใจจากไอโมบาย

-             กีฬาเชื่อมโยงไปอาเซียน มีประเทศเพื่อนบ้านเล่นกอล์ฟ แล้วครอบครัวมีการเชื่อมโยงไปในเรื่องการท่องเที่ยวต่าง ๆ

สนามกอล์ฟ

มีที่ หนองคาย โคราช ขอนแก่น  จะมีฤดูกาลที่เกาหลีมาฝึกที่สนามกอล์ฟ

การพัฒนาประสิทธิภาพของสนามกอล์ฟ

-                                  เน้นเรื่องการบริการ

-                                  ต้องมีการดูแลรักษา และบำรุงตลอด

-                                  พัฒนาบุคลากรดูแลสนามกอล์ฟ

 

โรงเรียนกีฬา มีที่ไหนบ้าง

-                                  การเรียนที่โรงเรียนกีฬามีจุดชัยของเด็กที่เรียนหรือไม่ มีการรองรับหรือไม่

-          การให้ทุนนักกีฬาในการเรียนที่มหาวิทยาลัย มีตัวอย่างรับนักเรียนทุนกีฬาแต่ต้องเป็นระดับชาติ

-          จำนวนนักศึกษามีเพิ่มขึ้นเมื่อมีช่องทางในการรองรับ  แต่บางที่เมื่อไม่มีการรองรับอาจทำให้ช่องทางของโรงเรียนกีฬาน้อยไป

-          หลักสูตรการศึกษาต้องมีการรวมพลังจากส่วนต่าง ๆ  ครูพลศึกษาในยุคใหม่ต้องบวกปัญญาและวิธีการสอนเข้าไปด้วย ก.การท่องเที่ยวและกีฬา ต้องมีการผนึกกำลังเอาคนที่เป็นนักกีฬามืออาชีพจากที่อื่น ๆ มาใช้

-          คณบดีคณะพลศึกษา ต้องการให้มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างในอังกฤษเช่นเรียนถึง บ่าย 2 โมงครึ่ง ก็มาเล่นรักบี้เป็นต้น

-          กีฬาอยู่ที่การปลูกฝัง มากกว่า ไม่ใช่มองว่าไม่เก่ง กระทรวงฯ ต้องเป็นตัวส่งเสริมกีฬาให้มีชีวิตที่สมดุล

การพัฒนาบุคลากรทางการกีฬาควรเริ่มต้นที่จุดไหน

กลุ่มเป้าหมายที่จะทำด้านกีฬาเป็นอย่างไร

-          สถาบันพลศึกษา ตั้งศูนย์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 7 แห่ง อย่างมหาสารคามส่งเสริม มวยปล้ำ ยกน้ำหนัก ยิงปืน มีการวางรากฐานโดยทำกับโรงเรียนกีฬาโคราช ให้โรงเรียนสร้างเด็กขึ้นมา แล้วทางสถาบันพลศึกษารับต่อ   สนับสนุนโดย  การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มีการส่งเสริมมากขึ้น

-                                  ศักยภาพกีฬาของความเป็นเลิศน่าจะสู้ได้

-                                  การสนับสนุนทางด้านกีฬา มีการร่วมมือกับจังหวัดอื่นเช่นโคราช

-          อบจ.  สังเกตเห็นว่าการออกกำลังกายในช่วงเย็น เห็นเด็ก 2 กลุ่มคือกลุ่มเด็กที่เรียนหนังสือ และเด็กไม่เรียนหนังสือ จึงมาคิดว่ากลุ่มเด็กที่ไม่เรียนหนังสือสามารถส่งเสริมทางด้านการกีฬาและให้มีสถาบันยอมรับแทนได้หรือไม่  มีงบประมาณตรงนี้ได้ สามารถระบุชื่อได้เลย

-          กศน. เป็นปัญหาของมหาวิทยาลัยมากเนื่องจากไม่มีการสอนจริงจัง  ขอเพิ่มเติมทำการเรียนการสอนให้เด็กเล่นกีฬาเป็น และเล่นกีฬาเก่ง

-          นักกีฬาอาชีพ  สังเกตว่าถ้าเก่งมากจะเสมือนดารา มีคนอยากทำตามแบบอย่าง เป็นนักกีฬาอาชีพได้ มีรายได้  หมายความว่านักกีฬามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์คนให้ดำเนินตามแบบอย่างได้

-          สถานศึกษา รับครูพลศึกษาที่มีจิตวิญญาณด้านการกีฬาอย่างแท้จริง  สร้างเครือข่ายโดยไม่พึ่งระบบของราชการมากเกินไป  กีฬาช่วยทำให้คนมีคุณภาพได้อย่างไร

-          หอการค้า ธุรกิจการกีฬา ในท้องถิ่นมีร้านค้าทำอุปกรณ์กีฬาอยู่แล้ว มีทุกอำเภอ  แต่ไม่ได้โดดเด่นเท่าที่ควร มีบางส่วนที่นำเข้ามาจากส่วนกลางอย่างแกรนด์สปอร์ต หรือ FBT  ต้องสร้างแบรนด์ และสร้างอาชีพให้กับชุมชน

-          การจัดการแข่งขันการกีฬา จะมีเสื้อและอุปกรณ์การกีฬาอยู่แล้ว ถ้าเป็น Match ใหญ่ ๆ จะใช้เสื้อสปอนเซอร์ มีการซื้อแบรนด์

-          กระทรวงสาธารณสุข ควรพัฒนา กีฬาเพื่อสุขภาพ มีโปรแกรมช่วยส่งเสริมทางด้านกีฬาแล้วให้สุขภาพดี ลดการป่วย

-          จริยธรรมทางการกีฬา  ส่งเสริมไม่ให้คนเล่นกีฬาเพื่อพนัน

-          การออกกำลังกาย  อาจมีการทำภารกิจประจำวันก็นับว่าเป็นการออกกำลังกายได้ เช่นทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้

-          การท่องเที่ยวเชิงกีฬา  เอกชนทำมีฟุตบอลยูไนเต็ด มีระบบชัดเจน มีการฝึกนักกีฬาในต่างประเทศ มี Academy  การเชื่อมความร่วมมือในกลุ่ม AEC โดยใช้กีฬาเป็นตัวเชื่อมไปสู่การท่องเที่ยว  การจัด Organize ด้านกีฬา

-          กีฬาพื้นบ้าน เช่น มวยไทย กระบี่กระบอง ตะกร้อ เป็นจุดขายของไทย เราต้องรู้จักช่วยในการบูรณาการการแข่งขันทางด้านนี้ในกลุ่ม AEC  ควรมีการส่งเสริมการเรียนการสอนตั้งแต่โรงเรียน  อย่างมวยไทยมีการทำค่ายมวยไทยให้คนมาเรียนเพิ่มเติม เป็นต้น น่าจะมีการจัดการแสดงกีฬาพื้นบ้าน และเผยแพร่ไปทั่วโลก

ภาพรวมของกีฬาไทย

-          มียุทธศาสตร์กีฬาชาติ แต่ไม่ได้มีการเผยแพร่ และนำมาปฏิบัติจริง  ควรนำมาสู่เป้าหมายหลัก

-             ขาดงบประมาณในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์กีฬาชาติให้เป็นรูปธรรม

-             ขาดการส่งเสริมเรื่องสุขภาพของประชาชน

สิ่งที่ควรดำเนินการ

  1. ควรทำ Roadmap ในการนำมาเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ
  2. ทำ  Blue Print มาตรฐานในแต่ละระดับเช่น การ ทำ Bid book  เป็นคู่มือฯ  Blue Print เรื่องการแบ่งงานที่ชัดเจน  มีการบูรณาการใครเป็น Center  หางบประมาณในการสนับสนุน
  • การจัดทำพื้นที่กระจายบุคลากรอย่างทั่วถึง
  • การพัฒนาสนามกีฬาท้องถิ่น  ช่วยเยาวชน และผู้สูงอายุ
  • การขยายการเชื่อมโยงของสถานศึกษา หรือบูรณาการเข้าด้วยกัน
  • กีฬาเพื่อสุขภาพ
  • การส่งเสริมในทุก ๆ ด้าน
  • การให้ความรู้ในการออกกำลังกาย
  • การปรับปรุงทัศนคติ เช่นการทำงานบ้าน และรดน้ำต้นไม้ก็คือการออกกำลังกาย
  • การทำหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศ
  • การแก้ปัญหาเรื่องขวัญและกำลังใจของบุคลากร
  • การสร้างจริยธรรมการกีฬา เพื่อลดปัญหาด้านการพนัน
  • การดึงเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้มีศักยภาพที่ถูกซ่อนไว้ด้วยกีฬา   มีห้องกีฬา มีสถาบัน มีอาชีพรองรับ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำการศึกษานอกระบบคู่ขนานไปก่อน
  1. สถานที่ เช่นบุรีรัมย์มีความพร้อม
  2. บุคลากรทางกีฬากระจุกตัว ต้องสร้างอาชีพรองรับ ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เห็น
  3. นวัตกรรมให้กีฬาของภาคสู้เขาได้ คือการแยกกีฬาพื้นบ้าน ในแต่ละท้องถิ่นหาจุดเด่นขึ้นมา
  4. สร้างนักกีฬาให้มีมูลค่าเพิ่ม แก้ปัญหาเยาวชน อาชญากรรม คนไม่ทิ้งถิ่น

 

การทำ Sport Tourism

  • ในภาคอีสานไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด แต่โคราชอาจมีความชัดเจน เช่นสนามกอล์ฟ บุรีรัมย์ มีสนามฟุตบอล ทำเป็นการท่องเที่ยวชมกีฬาในสนามได้
  • ขอนแก่น ยังไม่มีความพร้อม

การพัฒนากีฬาอาชีพ

  • ใช้กีฬาเป็นเครื่องมือเชื่อม AEC สร้างความสัมพันธ์ทางการกีฬา เช่น ให้เด็ก AEC มาเรียนที่ภาคอีสาน

กลุ่มเป้าหมาย

  1. สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา
  2. อบท.
  3. สถาบันการศึกษา
  4. เขตพื้นที่การศึกษาทุกระดับ
  5. ครูพลศึกษา
  6. การสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ เช่นชุมชน
  7. เอกชน สภาอุตสาหกรรม หอการค้าต่าง ๆ  ยกตัวอย่างเรื่อง การทำ Souvenir ต่าง ๆ กระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่นได้หรือไม่
  8. ภาครัฐ เช่น กระทรวง กกท.
  9. สมาคมกีฬา

10. ผู้นำชุมชน

11. สภาวัฒนธรรม  สำหรับกีฬาพื้นบ้าน เช่น มีกีฬาแข่งเรือยาว  ว่าวอีสาน กีฬาชนไก่ (จุดอ่อนเป็นเรื่องการพนัน)

การประชาสัมพันธ์กีฬาในจังหวัด

  • ทุกจังหวัดมีเรื่องฟุตบอล มีการทำโฆษณา และถ่ายทอดให้อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มุ่งที่สโมสรเป็นหลัก
  • สื่อไม่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
  • บุรีรัมย์ไม่มีศักยภาพในการทำทางด้านโปรโมทไอที น่าจะมีการโปรโมทครอบคลุมให้ทุกสื่อ เพราะอินเตอร์เนตสำคัญที่สุด
  • ททท. มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Brochure เป็น Event ของ Sport Tourism
  • ทักษะเรื่องภาษาของคนที่เกี่ยวข้องด้าน AEC ในภาพรวมยังขาด
  • ทักษะเรื่องไอทียังขาด
  • การนำองค์ความรู้ไปสู่ความคิดสร้างสรรค์
  • มีศูนย์ไอซีทีชุมชน ในการประชาสัมพันธ์และนำเสนอข้อมูล
  • กระทรวงฯ ควรเป็นศูนย์รวมในการหาข้อมูล ทางการกีฬาได้เลย หรืออาจมอบให้สมาคมท่องเที่ยว
  • การทำงานให้ชุมชนตื่นตัว ขาดตัวเชื่อม ขาดความต่อเนื่อง ขาดการบริหารจัดการ และการใส่องค์ความรู้เข้าไป
  • เอาคุณมีชัยเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากให้การสนับสนุนเต็มที่และมีเงินเยอะ  หาเจ้าภาพทางด้านเงินทุน แล้วเชิญมามีส่วนร่วม เพียงแต่ภาคธุรกิจต้องมีความสามัคคีจริง ๆ เอาคนทำงานตั้งกลุ่มเป็นกรรมการ  เอาภาครัฐเป็นส่วนร่วม ถ้าเอกชนมีความเข้มแข็งดึงเอกชนมีส่วนร่วม  มีมูลนิธิฯ เข้ามาช่วยด้วย ให้เข้าไปคุยกับคุณธนากรก่อน ดึงฝ่ายชุมชนมาสนับสนุนด้านนโยบายได้ ไม่ใช่แค่เกิดสมาคมขึ้นมา  ตัวอย่าง การทำงานที่บุรีรัมย์ ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีอะไรรองรับ เลยรวมตัวจดทะเบียนเป็นสมาคมฯ เพื่อไปคุยอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับทางจังหวัด

 


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท