การศึกษาไทยที่ใจอยากเห็น


ในชีวิตปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่า ข่าวสารจากสื่อต่างๆเข้าหาเราได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งเราเองก็สามารถเข้าหาสื่อต่างๆได้ง่ายด้วยเช่นกัน บางครั้ง  เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลในลักษณะไหน แต่เราเลือกที่จะ “ไว้ใจ” หรือ “เชื่อ” ข้อมูลต่างๆได้ และในขณะเดียวกัน เราก็เลือกที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้รับอันนำมาซึ่งประโยชน์สุข ซึ่งความไม่เบียดเบียนกันได้อีกเช่นกัน

ซึ่งการเลือกดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ กับความรู้ คุณธรรมที่สั่งสมมาตั้งแต่วัยเด็ก ฯลฯ

สำหรับการศึกษาเพื่อเด็กไทยในปี 2020 ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เพื่อให้เด็กรู้ทันข่าวสารสามารถคัดกรองสาระ ทั้งจากสิ่งที่ตนตั้งใจจะสื่อ และจากสิ่งที่ตนรับได้ การศึกษาจึงควรเน้นที่ความสุขแบบประสาน อันเกิดจากการให้ กระบวนการคิด และ หลักสันโดษ

เนื่องจากเมื่อมีความปรารถนาที่จะให้ จึงมีการขวนขวายกระทำเพื่อการให้ เมื่อผู้รับได้รับผลนั้น ย่อมเป็นสุข เมื่อเห็นผู้รับเป็นสุข ผู้ให้ก็ย่อมสุขตาม อีกทั้งเมื่อปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กระบวนการคิดจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กันและกัน

การสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น จัดเป็นการไม่สันโดษในกุศลธรรม ส่วนการสันโดษในอกุศลธรรมนั้น คือการกระทำในทางที่ตรงกันข้าม ก็นำมาซึ่งความสุขได้เช่นกัน เช่น สุขใจที่สามารถหักห้ามใจจากการกระทำที่ไม่ดีได้สำเร็จ

ซึ่งหลักความสันโดษนี้ ย่อมนำมาซึ่งความอิ่มใจเป็นนิจ อันทำชีวิตมีความสุขเป็นให้พื้นฐาน

ความสุขชนิดนี้ต่างจากการได้ เพราะเมื่อมีผู้ได้ ก็ย่อมมีผู้เสีย อันนำไปสู่การมองผู้อื่นอยากหวาดระแวง เพราะผู้อื่นก็ต้องการได้เช่นกัน จนถึงมองเป็นคู่แข่งเพราะการแย่งชิง กระทั่งมองเป็นเหยื่อในที่สุด ซึ่งสุดท้าย ย่อมนำไปสู่การเบียดเบียนกัน อันเป็นอีกสาเหตุที่สร้างความไม่สงบสุขในสังคม

เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมกระบวนการคิดของผู้อื่นได้ จึงควรสร้างทักษะการคิดแก่เด็ก เพื่อให้รู้ทันการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น เช่น รู้ทันภาพยนตร์โฆษณา ไม่ตกเป็นเหยื่อการหาผลประโยชน์ของผู้ผลิต ด้วยการรู้จักคุณค่าแท้ (ประโยชน์ที่ได้อย่างแท้จริง) คุณค่าเทียม (คุณค่าอื่นที่ไม่ใช่ประโยชน์โดยตรง เช่น ความหรูหรา โก้เก๋ เป็นต้น) รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้ (สันโดษ) จนไม่กระวนกระวายเพราะข่าวสารจนเกินไป

และควรสอนสิ่งเหล่านี้แก่เด็กตั้งแต่วันอนุบาล เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน 7 – 8 ปีไปแล้ว เด็กย่อมสร้างกฎเกณฑ์ของตนเองขึ้นมาจากประสบการณ์และการสั่งสอนของผู้ใหญ่แล้ว โดยการสอนผ่านนิทาน หรือ การวาดภาพ

เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้เขียนปรารถนาจะเห็นในการศึกษาของเด็กไทย

 

หมายเลขบันทึก: 493440เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ควรสอนสิ่งเหล่านี้แก่เด็กตั้งแต่วันอนุบาล เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน 7 – 8 ปีไปแล้ว เด็กย่อมสร้างกฎเกณฑ์ของตนเองขึ้นมาจากประสบการณ์และการสั่งสอนของผู้ใหญ่แล้ว ... เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ ทำให้คิดถึง ผู้ป่วย ซึ่งนักศึกษาสะท้อนอย่างอัศจรรย์ใจ ว่าทำไมเขา "ไม่ทุกข์" แม้ร่างพิการแต่กำเนิดค่ะ

ขอบคุณความเห็นจากคุณหมอ ป. ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมา และดอกไม้จากท่านที่ฝากร่องรอยไว้ด้วยค่ะ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา ไม่เคยผิดหวังครับ สำหรับการเข้ามาอ่านข้อเขียนของพี่ สิ่งที่ได้รับคือ ข้อคิด และความสงบ อย่างลึกซึ้ง ครานี้ว่าด้วยเรื่องของเด็กได้แง่คิดอีกรูปแบบหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณคุณบินหลาดงค่ะ

ที่แวะมาฝากความเห็นไว้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท