ขยายเครือข่าย ... ร่วมด้วยช่วยกัน ให้ สว. ฟันดี ภาคอีสาน (4) กระบวนการ เรียนรู้ เรียนลัด การจัดกิจกรรมฯ


 

อาจารย์ธนชัย อาจหาญ จัดกระบวนการเพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้ การจัดกิจกรรมในเรื่องของการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของหน่วยงานต้นแบบ จนถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการของจังหวัด ที่พอจะประมวลขั้นตอนได้ ก็คือ

เริ่มจาก การนำเสนอประสบการณ์ของพื้นที่ที่ทำกิจกรรมได้เป็นรูปธรรม 9 พื้นที่ ตั้งแต่ ระดับชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จนเห็นได้ว่า แต่ละที่ มีการทำกิจกรรมกันอย่างหลากหลาย ... นี่คือ การจัดเวทีการเรียนรู้ ที่เป็นการเรียนลัด เรียนลัดที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ ทำให้รู้ได้ว่า ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร วิธีการทำทำอย่างไร ถ้าจะไปทำ มีข้อจำกัด ข้อสังเกตเรื่องอะไรบ้าง

ลำดับต่อมา เป็นกิจกรรมกลุ่ม เริ่มต้นจากการทำความรู้จักกัน และต่อด้วย ให้รู้จัก เรื่องของความแตกต่าง โดยดูเรื่องรูปทรง (สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม วงกลม) เรื่องของงู (งูเลื้อยซิกแซก งูเลื้อยตรง งูแผ่แม่เบี้ย และงูพันบนต้นไม้) นำไปสู่เรื่องของการทำให้เห็นว่า ถ้าเรากลับไปทำเรื่องของชมรม เรื่องของการรวมกลุ่ม สำคัญที่สุดก็คือ เวลาต่างคนต่างมา ความคิดเห็น ความชอบ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าเราไม่เข้าใจ จะว่ากันไป ว่ากันมา และคิดว่า ตัวเองดีคนเดียว แต่ถ้าเราเห็นว่า แต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน นี่คือความชอบ เป็นความแตกต่าง เขาก็มีเหตุผล เพราะฉะนั้น บางครั้ง ถ้าเรามองแค่หน้า ดูแค่รูปร่าง จะไปบอกว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เลย ไม่ได้ เพราะพอฟังเหตุผลแล้ว ... มันไม่ใช่ ... การอยู่ร่วมกัน จึงต้องรู้จักอุปนิสัย ต้องเข้าใจกันก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาในการทำงานร่วมกัน

หลังจากนั้น ก็จะเห็นว่า ทุกคนมีคุณค่า อยู่ในตัวของตัวเอง เพียงแต่ว่า เรารู้หรือไม่ และหยิบมาใช้อย่างไร นี่เป็นการสร้างความยอมรับ ในเรื่องของการมาร่วมกลุ่ม รู้จักกันแล้ว มาทำกิจกรรมร่วมกัน ในเรื่องของการตั้งชื่อกลุ่ม การตั้งกติกาเพื่อการมาอยู่ร่วมกัน มีข้อตกลงที่ทุกคนต้องเห็นด้วย

หลังจากนั้น เป็นเรื่องของการแบ่งบทบาทหน้าที่ ใครเป็นประธาน ใครเป็นรอง ใครเป็นเลขา ใครทำหน้าที่เรื่องอะไร ซึ่งสรุปได้ว่า เรื่องของการแบ่งบทบาทมีสองทาง คือ เรื่องของบทบาท และเรื่องของหน้าที่ ที่มีปัญหา คือ บางคนทำแต่บทบาท คือ จัดการคนอื่นหมด แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ ... บางคนใช้แต่หน้าที่ ไม่ได้แสดงบทบาท ทำไปโดยไม่สนใจกัน ปัญหาก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การทำหน้าที่และบทบาท จะต้องทำควบคู่กันไป ต้องรู้ด้วยว่า บทบาทของตัวเองอะไร หน้าที่ของตัวเองคืออะไร

ต่อด้วย การจับคู่กัน ทำเรื่องของการสำรวจ เรื่องของความสำเร็จ ว่าแต่ละคนในกลุ่ม สมาชิกมีความสำเร็จเรื่องอะไร นี่คือ ต้นทุนที่เราต้องรู้ ก็จะเป็นต้นทุนให้เราทำต่อไปได้ เขามีความสามารถเรื่องอะไร เราก็จะรู้ว่า พลังของเราที่ใช้ในการขับเคลื่อน เรามีคนที่สามารถเรื่องอะไร จะได้ใช้ให้ถูกประโยชน์ และสุดท้าย เวลาเราทำกิจกรรมไปข้างหน้า เราต้องมีการวางแผนว่าเราจะทำอะไร นั่นคือ การวางเป้าหมายที่จะทำ

นำมาสู่ กิจกรรมนำเสนอ ที่อาจารย์ธนชัยได้สรุปไว้ว่า

  1. สิ่งที่นำมาติดอยู่รอบๆ ห้องนี้ คือ สิ่งที่ท่านได้เนรมิตขึ้นมาติดข้างฝา แต่สำคัญที่สุด คือ สิ่งเหล่านี้ มันมีความเป็นมาอัศจรรย์ เป็นสิ่งที่ระดมออกมาจากคนภายในกลุ่ม ทุกคนร่วมกันคิด ทุกคนช่วยกันทำ เรียกว่า เป็นการระเบิดจากภายใน เป็นความสำเร็จที่ทุกคนมีส่วนร่วม
  2. การนำเสนอกิจกรรม แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกันเลย  และก็ไม่ได้ลอกแบบกันด้วย นี่คือความสามารถพิเศษ ที่ใช้ความสามารถของคนที่อยู่ในกลุ่ม ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การทำในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุ เรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกัน แต่เราสามารถรับรู้แล้วไปพัฒนาในรูปแบบที่เราคิดว่า เหมาะสมกับคนที่อยู่ในกลุ่ม ในชุมชนของเรา
  3. ผมเห็นว่า มีสามคำ ที่เราไปทำอะไร เราก็จะได้สามคำนี้ หนึ่ง คือ บอกว่า การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก พอมาทำเสร็จ
    - หลายคนร้อง "อ๋อ"คำแรกก็คือ “อ๋อ” แสดงว่า เริ่มรู้แล้ว
    - แต่ถ้ามาเที่ยวหน้า มีการจัดประชุมอีก แล้วมาฟัง แต่ปรากฎว่า คนมาคุยก็คุยเรื่องเดิม กิจกรรมก็เป็นแบบเดิมๆ คำที่จะพูดออกมา คือ “เหรอ” เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะทำแล้วมาคุย มันต้องไม่ทำเรื่องเดิม มันต้องเกิดปรากฎการณ์ใหม่ ที่เรียกว่า สิ่งใหม่ๆ หรือทางวิชาการเรียกว่า นวัตกรรม
    - แต่ถ้ามาคุยกันเที่ยวหน้า ต้องได้คำนี้ คือ “เฮ้ย มีอย่างนี้ด้วยเหรอ” เหมือนกับที่ได้ฟังมาว่า ตอนนี้ หลายตำบลทั่วประเทศ ในชมรมผู้สูงอายุทำเฉพาะผู้สูงอายุไม่ได้ ต้องทำไปทุกกลุ่ม ตอนนี้มองว่า อนาคตผู้สูงอายุจะมากขึ้น เหตุผลที่เขาทำเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน เหตุผลที่ทำไมผู้สูงอายุต้องมารวมกลุ่มกัน เรื่องของความมั่นคง เรื่องของผู้สูงอายุ ต่อไปความมั่นคงจะอยู่รอด เราก็ต้องมารวมกลุ่มกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ

มีตัวอย่าง ... "อ๋อ เหรอ เฮ้ย มีแบบนี้ด้วยหรือ" จากเรื่องเล่า

หลายๆ ที่ที่ทำเรื่องกองทุนสวัสดิการ หลายที่มีการทำกองทุนวันละบาท แล้วเขาคิดกันว่า ถ้าทำเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ ก็จะทำให้คนคิดในเรื่องของการเอาเหมือนเดิม แต่การทำกองทุนวันละบาท แล้วเงินก้อนนั้น ใครเดือดร้อน ก็ไปช่วย เขาก็จะจัดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าสมาชิกมีลูกเกิด ก็จะผูกแขนทำขวัญ ค่าโรงพยาบาลของแม่ เรื่องของการเจ็บ ใครเข้าโรงพยาบาลก็เป็นค่านอนโรงพยาบาล ถ้าใครสมทบเกิน 10 ปีขึ้นไป เขาก็จะเป็นเงินบำนาญ ให้เดือนละ 300 ถ้าใครตายก็จะมีเงินให้ … ล่าสุดเขาบอกว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นเรื่องธรรมดา ใครก็ทำได้

ผมไปดูกองทุนที่นครพนม ... เขาทำกองทุนสวัสดิการ ทำเรื่อง ควายออกลูก ให้สวัสดิการเลย … ผมก็หันกลับไปทันที "เฮ้ย …" และเขาก็ไม่ได้มีเรื่องเดียวนะ จะมีควายออกลูก ปลูกผักสวนครัว และไปเป็นทหาร

3 เรื่องนี้ เขาทำต่อจากเกิดแก่เจ็บตาย ... แล้วยังไง สวัสดิการคนก็ยังไม่พออยู่แล้ว แล้วยังไปจัดเรื่องควายออกลูก เขาก็บอกว่า ในชุมชนของเขา ตอนนี้มีปัญหาเรื่องของการซื้อปุ๋ยเคมี เขาก็เลยส่งเสริม ใครที่มีเงื่อนไขว่า ต่อไปครอบครัวไหนที่เลี้ยงควาย แล้วมีควายออกลูก เขาให้เลย 1,500 บาท ให้กับเจ้าของควาย ทำให้เกิดการส่งเสริมการเลี้ยงควาย และเอาขี้ควายไปทำปุ๋ย

เรื่องผักสวนครัว ก็คือ ถ้าบ้านไหนปลูกผักสวนครัว เกิน 6 ชนิด กรรมการไปสำรวจแล้วให้เลย ไปเดือนละ 100 บาท … น่าสนใจ

และทำต่อ ถ้าลูกชายบ้านไหนไปเป็นทหาร เขาให้ 2,000 บาท

นี่คือวิธึคิดแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม คนอื่นจะคิด เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ที่นี่ทำเรื่องของการคิดลึกไปจากนั้น

ล่าสุดเขากำลังจะประกาศ สิ้นเดือนนี้ออกมาใหม่ แม่คนไหนที่คลอดลูกแล้ว น้ำหนักเกืน 3,000 กรัม ให้อีก 1,000 ละ 100 บาท เพราะว่าถ้าแม่จะได้ แม่ก็ต้องบำรุงลูก ดูแลสุขภาพลูก นี่เป็นเงื่อนไข แต่ถ้าบอกว่า … ถ้าอายุต่ำกว่า 20 ไม่ให้ เขาก็ไปลดเรื่องเด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เขาคิดดี นี่ก็คือ นวัตกรรมใหม่ๆ

รวมเรื่อง ขยายเครือข่าย ... ร่วมด้วยช่วยกัน ให้ สว. ฟันดี

 

หมายเลขบันทึก: 493283เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เห็นภาพแล้วมีความสุข
  • คิดถึงไปช่วยตอนทำงานของ สว กับแม่หมอ

เรียนคุณหมอนนท์ หากชุมชนเข้าใจสุขภาวะชุมชน ทุนในชุมชนที่ค้นพบ ทั้ง กองทุนสุขภาพตำบล กองทุนทันตกรรม กองทุนแม่ กองทุนหมู่บ้าน กองทุนเกษตรกร และกองทุนสวัสดิการ มาร่วมคุยกัน แล้วยิบเงินก้นถุงกองทุนมารวมกัน จัดทำฟันเทียมให้คนทั้งหมู่บ้านได้ ที่สำคัญกองทุนสวัสดิการชุมชน คนทำสวัสดิการ ต้องคิดก้าวให้พ้นจาก สวัสดิการพื้นฐาน เกิด / แก่ / เจ็บ / ตาย /เฝ้าไข้ / นอนโรงพยาบาล / ทุนการศึกษา ต้องก้าวมาเป็นหุ้นส่วนลงทุนทางสังคม เพื่อสุขภาพ ซึ่งเรื่องนี้ที่พัทลุงผมกำลังขายความคิด หากเป็นเช่นนั้น ฟันเทียมไม่ต้องรองบประมาณจากทางการ

  • Blank
  • พ่อลูกชาย ซำบายดีบ่
  • อย่าลืม เข้ามากรมอนามัย แวะมาหากันบ้างนะคะ
  • Blank
  • เห็นแววว่า สว. เมืองลุง จะมีสุขภาพ สุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างแน่นอนเลยนะคะ
  • ต้องขอบคุณ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- และทีม ค่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท