เทคนิคการดูแลรักษาเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า


น้อยหน่าในอดีตถือเป็นไม้ผลที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคถือเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมชมชอบอยู่มากพอสมควร ถึงแม้ในปัจจุบันอาจจะไม่ถูกปากเยาวชนคนรุ่นใหม่มากนักเพราะมีสิ่งอื่นทดแทนให้เลือกบริโภคอย่างมากมายหลากหลายชนิด
น้อยหน่าผลไม้ไทยที่ทรงคุณค่าและยังคงได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคอย่างไม่เสื่อมคลาย ซึ่งมีการปลูกมากที่สุดอยู่ที่กลางดง อำเภอปากช่อง โดยยังได้มีการจัดงานที่เกี่ยวกับน้อยหน่าอยู่ขณะนี้ด้วยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.  - 10 ก.ค. 2555  มีชื่องานว่า "งานน้อยหน่าและของดีเมืองปากช่องประจำปี 2555" ณ ศูนย์การค้าตลาดจักรปากช่อง ใครที่สนใจจะไปเที่ยวชมก็ขอเชิญนะครับ

น้อยหน่าในอดีตถือเป็นไม้ผลที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคถือเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมชมชอบอยู่มากพอสมควร ถึงแม้ในปัจจุบันอาจจะไม่ถูกปากเยาวชนคนรุ่นใหม่มากนักเพราะมีสิ่งอื่นทดแทนให้เลือกบริโภคอย่างมากมายหลากหลายชนิด จึงทำให้มะม่วง น้อยหน่า มังคุด ละมุด พุทรา ค่อยๆจางห่างหายไปจากหน้าบ้านหลังบ้านของเกษตรกรไทยลงไปทีละน้อย

ส่วนปัญหาในเรื่องโรคแมลงของน้อยหน่าที่เห็นเด่นชัดจะเป็นเรื่องของเพลี้ยแป้งที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงจนผลแห้งเหี่ยวและมีเชื้อราฉวยโอกาสเข้าทำลายซ้ำเติมอีกทีทำให้ผลเน่าดำหรือบางพื้นที่เรียกว่าโรค มัมมี่ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงมาจากเชื้อราฟัยท็อฟทอร่า ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ทั้งไตรโคเดอร์ม่าและบีเอสพลายแก้ว ส่วนเพลี้ยแป้งนั้นจะต้องศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของเขาสักหน่อยคือทำการรบแบบรู้เขารู้เรา จึงจะรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งได้

โดยจุดแข็งของเพลี้ยแป้งคือผงฝุ่นหนาสีขาวที่ห่อหุ้มปกคลุมผลน้อยหน่า เปรียบเหมือนการทาแป้งไว้ที่ก้นเด็กแล้วหยดน้ำลงไปจะไม่เปียกชื้นที่ก้น แต่น้ำจะไหลลื่นผ่านเลยไป ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อฉีดพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งที่เกาะกันเป็นกลุ่มหนาแน่นตัวยาส่วนใหญ่ก็จะไม่สัมผัสกับตัวเพลี้ยจึงทำให้เพลี้ยไม่ตายหรือใช้สารเคมีนั้นๆไม่ได้ผล เทคนิคคือจะต้องใช้สารเปียกใบจำพวกน้ำยาล้างจานเข้ามาช่วยและใช้อาวุธชีวภาพ (จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยทริปโตฝาจ)ที่ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นจี้ให้โดนตัวขอเพียงให้สปอร์ตกค้างอยู่ที่กิ่งก้านใบและผลของน้อยหน่าเป็นอันเพียง สารเปียกใบจะช่วยให้สปอร์ของทริปโตฝาจเกาะติดแน่นและค่อยๆแบ่งตัวสร้างจำนวนมากขึ้นขยายตัวออกไปทำลายเพลี้ยแป้งจนหมดภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 492729เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ที่บ้านน้อยหน่ากำลังออกพอดี ไม่มาก ๒-๓ ต้น สังเกตเห็น แป้งขาว ๆ จะทดลองใช้ แต่ที่ต้นมะละกอ พริก ใต้ใบ มากมายเลยทีเดียว ทำให้ใบเหี่ยวและตายในที่สุด กำจัดแบบเดียวกับน้อยหน่าหรือเปล่าครับ

ขอบคุณสำหรับเทคนิคที่ดีๆครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท