ดูงาน hospice : ๑. Houston Hospice (๒๑ พ.ค. ๕๕)


 

          HoustonHospiceก่อตั้งปี 1980 เป็นองค์กรที่ community-based  และเป็นสมาชิกของTexas Medical Center  นี่คือหลักการใหญ่สำหรับ “มหิดลพฤฒาสถาน”(MahidolHospice)    คือต้องเน้นการใช้ชุมชนเป็นฐาน  และเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่มุ่งกำไร  รวมทั้งเป็นองค์กรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของ CHAP(Community Health Accreditation Progrma)

 

         ข้างบนนั้นผมบันทึกหลังอ่านเว็บไซต์ของ Houston Hospiceโดยยังไม่ได้ไปดูงาน

 

          หลังไปดูงานแล้วพบว่าสถานที่เล็กกว่าที่คิดไว้   คือรับผู้ป่วยได้เพียง ๒๒ คน   แต่ที่เราไปเห็นเป็น ๑ ใน ๔hospice ในสังกัด Houston Hospice  และบริการผู้ป่วยในเช่นนี้เป็นเพียงส่วนน้อยของบริการ คือเพียงร้อยละ๘.๕ ของบริการทั้งหมดเท่านั้น    อีกร้อยละ ๕๔.๕เป็นบริการที่บ้าน   และร้อยละ ๓๗ เป็นผู้ป่วย OPDหรือdaycare

 

        เราใช้เวลาดูงานและรับฟังคำอธิบายตั้งแต่ ๙ น. จนเกือบ ๑๖ น.อย่างสนุกสนานและมีไมตรีต่อกัน  ตัวช่วยคือคุณหญิงจำนงศรีรู้จัก Marion Wilson ผู้ก่อตั้ง New AgeHospice ที่ต่อมารวมตัวกับอีก hospice หนึ่ง กลายเป็น HoustonHospice   ทำให้ทาง Houston Hospiceเตรียมต้อนรับและให้ความรู้แก่ทีมดูงานอย่างดีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย  แถมยังเลี้ยงอาหารเที่ยงแก่คณะของเราเสียอีกโดยสั่งอาหารไทยเอามาเลี้ยงที่ห้องประชุม

 

               อีกตัวชูโรงคือวิดีทัศน์ที่ทางอาศรมศิลป์เตรียมทำไปนำเสนอแนวความคิดของเราว่าจะทำอะไรอย่างไร  แสดงความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของพวกเรา   และแผนที่เสนอโดยสถาบันอาศรมศิลป์ก็สร้างความประทับใจแก่ทีมงานของHouston Hospice มาก

 

           ผมค้นด้วยGoogle โชคดีไปพบหนังสือ Restorative Gardens : Healing Landscapeที่ตั้งแต่หน้า ๘๕ - ๘๖เล่าการก่อตั้ง Hospice of the Texas Medical Center เล่าเรื่องที่Marion Wilson ริเริ่มก่อตั้ง hospice นี้ อ่านได้ที่นี่ เป็นส่วนของตัวอย่างหนังสือที่เขาให้อ่านฟรี  ใครอยากอ่านทั้งหมดต้องซื้อ

 

          เรื่องราวของของMarion Wilson ที่ความเศร้าโศกจากการสูญเสียคนที่ตนรักคนแล้วคนเล่ากลายเป็นพลังแรงบันดาลใจอันแรงกล้าให้หาทางดำเนินการชักชวนผู้คนก่อตั้ง hospice  เริ่มจากการที่ตนเองเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย  ทำให้ผมเห็นว่าพลังแรงบันดาลใจอันแรงกล้า (ไม่ใช่ความรู้)เป็นจุดเริ่มต้นของความสร้างสรรค์  ผมเปรียบเทียบกับแรงบันดาลใจของคุณหญิงจำนงศรี

 

         การมาดูงานคราวนี้ ทำให้ผมได้ทำความเข้าใจบริการ 3อย่างซึ่งสัมพันธ์ต่อเนื่องกันคือ  (1)บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (geriatric care)   (2)การดูแลเพื่อประทังอาการ (palliative care)   และ (3)การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminal care)   บริการhospice คือการบริการส่วนที่ 3 นี้  เป็นบริการที่แตกต่างจากโรงพยาบาลที่เน้นการช่วยชีวิต   แต่hospice เน้นการดูแลให้ชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติแต่ช่วยลดความทุกข์ทรมาน  ให้ระยะสุดท้ายของชีวิตมีคุณภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

          ทีมดูงานของเราท่านหนึ่งถามว่ามีเครื่องช่วยหายใจหรือไม่  คำตอบคือผู้ป่วยที่ตัดสินใจย้ายมาที่นี่จะเอาเครื่องช่วยหายใจออกแล้ว(เพราะเครื่องช่วยหายใจเป็นการยื้อชีวิตหรือยืดการตาย)    บริการของ hospice ไม่ยืด (หรือหด)ชีวิต   ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยหนีการตาย 

 

         ผมมาได้ความรู้ว่า hospice care เอาใจใส่ผู้ป่วยที่กำลังจากไป พอๆกับญาติหรือสมาชิกในครอบครัวผู้ที่จะมีชีวิตต่อไปแต่จะต้องเผชิญความเครียดหรือความสูญเสีย   ทาง Houston Hospice เขาให้ multidisciplinary teamมาประชุมปรึกษาหารือกรณีศึกษาให้เราฟัง ๓ ราย  ทีมสหวิชาชีพเหล่านี้ได้แก่ หัวหน้าพยาบาล  ศาสนาจารย์ หัวหน้าฝ่ายบริหารความเครียด  นักสังคมสงเคราะห์  แพทย์ และหัวหน้าอาสาสมัครทำให้เราเข้าใจรายละเอียดของความเครียดของญาติ  เช่นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายรายหนึ่ง เป็นผู้ชายอายุ ๕๔  พ่อแม่ผลัดกันมานอนเฝ้า ภรรยามาไม่ได้และรู้สึกกังวลว่าจะถูกพ่อแม่และญาติของสามีตำหนิว่าไม่สนใจสามีที่กำลังใกล้ตาย  โดยที่ภรรยามีงานต้องรับผิดชอบมาก  และเพิ่งได้รับการจ้างงานถาวรจึงต้องแสดงความรับผิดชอบต่องานมากเป็นพิเศษ  เป็นหน้าที่ของนักบริหารความเครียดและนักสังคมสงเคราะห์ที่จะหาทางบันเทาความเครียดของภรรยา

 

         การติดตามดูแลช่วยเหลือญาติหลังผู้ป่วยตายนี้ เขาทำเป็นระยะๆ ไปจนถึง๑๓ เดือนหลังการตาย 

 

         จุดเด่นของที่นี่คือสวนที่ร่มรื่นสวยงามมีต้นโอ๊คอายุกว่าร้อยปี  ห้องพักมีหน้าต่างเห็นสวนหรือเปิดออกสู่สวนให้ผู้ป่วยออกไปเดินได้   จุดสำคัญของ hospiceคือต้องทำให้บรรยากาศคล้ายบ้านอย่างที่สุดรวมทั้งให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติ 

 

         เขาบอกว่าในฮุสตันมี hospice ถึง ๘๐ แห่ง   ขนาดของ HoustonHospice ๒๒ ห้องนี้ถือว่าใหญ่  เขามีชื่อเสียงถึงขนาดต้องจองและรอคิว   ว่าบางวันเขามีคนเข้าอยู่ถึง ๒๔ คน  และบริการบางอย่างเขาก็เชิญคนข้างนอกมาดำเนินการเช่นเคยมีผู้ป่วยต้องการพระทางพุทธศาสนามาสวด เขาก็ติดต่อให้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ พ.ค. ๕๕

บนเครื่องบินจากโตรอนโต้ไปซานฟรานซิสโก

 

 อาคาร

 


 

  ตรงทางเข้าอาคาร


 

 ภายในสวนอันร่มรื่นสวยงาม ให้ความสงบทางใจ


 

โบสถ์ของ hospiceให้ความรู้สึกสงบและเป็นธรรมชาติดีมาก


 

ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับคุณ-- หัวหน้าอาสาสมัครในสวน

 


 

ห้องผู้ป่วยคล้ายในโรงพยาบาล


 

 ห้องสำหรับครอบครัว


 

 ที่ทำงานของพยาบาล


 

 

 ห้องอาหารสำหรับผู้ป่วยและญาติ


 

ป้ายทองเหลืองจารึกชื่อนี้เป็นส่วนหนึ่งของการระดมเงินบริจาคมีแผ่นจารึกอีกหลายแบบ


 

 

 ทีมงาน ๖ คนกำลังประชุมปรึกษาหารือทีมสหวิชาชีพให้เราชมเพื่อเรียนรู้วิธีทำงาน


 

 

 

 ผู้ชายเป็นผู้อำนวยการ คนผู้หญิงเป็นหมอที่เชี่ยวชาญด้านpalliative care


 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 492415เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2018 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประวัติศาสตร์ ความเป็นไป เป็นมา นะคะ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีมาก้ลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท