ขอเลื่อนวิทยฐานะกับโครงการส่งเสริมการอ่านบ้านปากบางนาคราช


ขอเลื่อนวิทยฐานะ

ชื่อผลงาน         :     รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต 

                            ของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

ลักษณะผลงาน  :     การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่

ผู้ประเมิน          :     นางศศิธร  เสริมวิทยวงศ์  ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาแค

ปีพุทธศักราช    :     2554

 

บทคัดย่อ

 

              การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการ  ประเมินปัจจัยของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ ประเมินด้านความพึงพอใจ โดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม ซึ่งเน้นการประเมินดังนี้  คือ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation)  การประเมินด้านปัจจัย (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation)  การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)  การประเมินด้านความพึงพอใจ โครงการ  (Product Evaluation)   ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู ผู้ปกครองเครือข่าย และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช จำนวน  24 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบ สอบถามความคิดเห็น จำนวน 5 ชุด  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการ  พบว่า

1.      ผลการประเมินบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองเครือข่าย และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด พบว่า  อยู่ในระดับมาก ครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นตรงกันว่าตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  นโยบายและเป้าหมายการดำเนินงาน ส่วนผู้ปกครองเครือข่าย มีความคิดเห็นตรงกันว่าตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  วัตถุประสงค์ของโครงการ 

2.  ผลการประเมินปัจจัยของโครงการตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย   และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด พบว่า  อยู่ในระดับมาก ครู ผู้ปกรองเครือข่าย และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นตรงกันว่าตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  วัสดุครุภัณฑ์ 

3.  ผลการประเมินกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด พบว่า  อยู่ในระดับมาก ครู  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นตรงกันว่าตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ การมีส่วนร่วม  ส่วนผู้ปกครองเครือข่าย มีความคิดเห็นว่า  ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ การกำกับติดตาม

4.  ผลการประเมินผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด พบว่า  อยู่ในระดับมาก  เช่นกัน

5.  ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด พบว่า  อยู่ในระดับมาก  เช่นกัน

6.  ผลการประเมินโครงการในภาพรวมตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย  และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พบว่า ประเด็นการประเมินตามทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก  ครู ผู้ปกครองเครือข่าย และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นตรงกันว่าประเด็นการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  ด้านความพึงพอใจของโครงการ

7.  ข้อเสนอแนะตามประเด็นการประเมินของครู  ผู้ปกครองเครือข่าย  และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน  ด้านบริบทของโครงการ  ควรวางแผนด้านการพัฒนาจัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสื่อมัลติมีเดีย   ด้านปัจจัยของโครงการ ควรจัดหางบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนได้สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  การจัดหาโปรแกรมการบริการงานห้องสมุด  ด้านกระบวนการของโครงการ  ควรวางแผนการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบโดยมีการร่วมกันวางแผนระหว่างครู ผู้ปกครองเครือข่าย  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การประชุมคณะกรรมการครูทุกคนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ การวางแผนมีความสอดคล้องตรงกับสภาพความเป็นจริง มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอนและเป็นไปตามกำหนดของระยะเวลา  การดำเนินงานควรได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย มีการกำกับนิเทศติดตามตรวจสอบงานเป็นระยะ  ด้านผลผลิตของโครงการ  ควรมีการดำเนินงานตามโครงการระยะเวลาที่กำหนดและสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน  ด้านความพึงพอใจ  ควรส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ด้วยการอ่านหนังสือมากขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

 

  1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต  ของนักเรียน

โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

  1. เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต  ของนักเรียน

โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

  1. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต ของนักเรียน

โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

  1. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต  ของนักเรียน

โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของโครงการส่งเสริมการอ่านกับห้องสมุดมีชีวิต  ของ

นักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช

หมายเลขบันทึก: 491781เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท