บันทึกถึงดวงดาว 10


เป็นงานเขียนใน"วิทยาจารย์"(คุรุสภา)นิตยสารที่ไม่ไ้ด้วางจำหน่ายในท้องตลาด ขอนำมาเผยแพร่ครับ อาจจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาบ้างไม่มากก็น้อย-(ขอสละสิทธิ์ในการรับรางวัลใดๆ ครับเพราะเป็นงานที่พิมพ์เผยแพร่แล้ว--ปณิธิ)

บันทึกถึงดวงดาว ๑๐

กระท่อมดาริกา

น้องดาวที่รัก

                            I  เป็น โรคลิ้น หัวใจรั่ว               

                    พึ่งรู้ตัว ว่าอาการ ขั้นโคม่า        

                    วันนี้ อ่อนแรง แลอ่อนล้า                       

                    ไม่รู้ว่า สิ้นลม ล้มวันใด         

                            ไม่มีใคร พยาบาล สมานแผล                  

                     เห็นก็แต่ มิ่งมิตร พิสมัย         

                     มาช่วยอุด รูรั่ว ให้หัวใจ                         

                    คนไข้ ICU รอเยียวยา

                             YOU – SEE - I เป็นอย่างไร I ไม่รู้

                    แต่ว่า I – SEE - YOU - YOU มีค่า

                   YOU –SEE - I อาจเฉยเฉย และเย็นชา

                    I- SEE- YOU - I ประหม่า I หน้าแดง

                              ขอน้ำใจ สักหยาด มาราดรด               

                    มาไล่โศก กำสรด ลด - เหือดแห้ง

                   พอให้ I มีพลัง มีเรี่ยวแรง                               

                   ฤๅจะแกล้ง  ทิ้งให้ตาย...ตามใจ YOU         

     บันทึกฉบับนี้พี่เขียนกลอนให้น้องดาวอ่านก่อนเลยล่ะ เป็นกลอนที่ใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทย เน้นความสนุกสนานเป็นหลักอาจจะไม่เหมาะสมนักกับฉันทลักษณ์ไทย แต่วันนี้พี่ลอง  “บูรณาการ” ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแต่งเป็นกลอน เผื่อว่าน้องดาวอ่านแล้วจะได้รู้ว่าพี่คิดถึงน้องดาวมากมายขนาดจะเข้าห้อง ICU อยู่แล้ว

    พูดถึงการบูรณาการวิชาภาษาไทยกับวิชาอื่น ๆ   พี่คิดว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยเพียงแต่ว่าอย่าบูรณาการเนื้อหาวิชาอื่นสับสนปนเปไปหมด จนลืมนึกถึงจุดประสงค์หลักว่าเรากำลังสอนเนื้อหาวิชาใด พูดง่าย ๆ ก็คือต้องประเมินด้วยว่าเมื่อนำเนื้อหาหลากหลายวิชามาสอนแล้วสุดท้ายนักเรียนจะรู้อะไร แค่ไหน ในเนื้อหาวิชาที่เราสอน

     วันนี้   พี่จะเล่าเรื่องที่พี่ลองบูรณาการคณิตศาสตร์กับภาษาไทยให้น้องดาวอ่านสักหน่อย  ผิด-ถูก น้องดาวติติงพี่ได้เลย   พี่นำวิชา “หมอดู” ที่หลายคนรู้เคยเล่นมาแล้ว   ให้นักเรียนลองทำดังนี้


กิจกรรมคำนวณหาเนื้อคู่



“หมอดูคู่หมอเดา”

  1. วันอาทิตย์แทนเลข 1 / วันจันทร์แทนเลข 2 ….

  2. เดือนมกราคมแทนเลข 1 / เดือนกุมภาพันธ์แทนเลข 2…

  3. ปีชวดแทนเลข 1 / ปีฉลูแทนเลข 2…(ชวด-ฉลู-ขาล-เถาะ-มะโรง-มะเส็ง-มะเมีย-มะแม-วอก-ระกา-จอ-กุน)

  4. นำตัวเลขทั้ง 3 มาบวกกัน

  5. คูณด้วย 7

  6. แล้วหารด้วย 9

  7. หารลงตัว (0) หรือเหลือเศษเท่าไรให้ดูคำทำนาย

ผลการคำนวณปรากฏว่าข้าพเจ้า ได้เลข.................

คำทำนาย  (เขียนมาด้วย)...................................................................................

.....................................................................................................................

.....................................................................................................................


ตัวอย่างการคำนวณ


             สมมุติว่านักเรียนเกิดวันอาทิตย์ เดือนมกราคม ปีชวดก็จะคำนวณได้ดังนี้

                        1+1+1  ได้ 3

                         คูณด้วย  7  เท่ากับ  21

                         แล้วหารด้วย 9 

                         เหลือเศษ  3

                         ดูคำทำนาย เลข 3 ได้เลย


           นักเรียนตั้งใจทำกิจกรรมนี้มาก ใครที่คิดไม่คล่องก็จะพยายามคิดหรือไม่ก็ให้เพื่อนช่วย ซึ่งพี่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ผลจากที่นักเรียนทำกิจกรรม    ทำให้พี่รู้ว่า บางคนเก่งในการคำนวณ แต่บางคนหารและหาเลขเศษที่จะไปดูคำทำนายไม่ได้  (สำหรับคำทำนาย พี่ยังไม่บอกน้องดาวหรอก ถ้าอยากรู้ต้องส่งข่าวคราวไปให้พี่รู้ก่อนถึงจะส่งมาให้)

         แค่นี้ ไม่พอ พี่ยังให้นักเรียนออกไปเขียนบนกระดานว่า ใครมีเลขเหมือนกัน (แสดงว่าคำทำนายต้องเหมือนกัน) อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากนั้นพี่ให้นักเรียนสรุปดังนี้


         1. สรุปการคำนวณหาเนื้อคู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่...จำนวนนักเรียนทั้งหมด...คน

1.1         เนื้อคู่เลข 0  จำนวนทั้งหมด.....คน  คิดเป็นร้อยละ.....

1.2         เนื้อคู่เลข 1  จำนวนทั้งหมด.....คน  คิดเป็นร้อยละ.....

1.3         เนื้อคู่เลข 2  จำนวนทั้งหมด.....คน  คิดเป็นร้อยละ.....

1.4         ………..(จนถึงเนื้อคู่เลข 9)..................

         2. จำนวนเนื้อคู่ที่เป็นเลขเดียวกันมากที่สุดคือเลข............

         3. นักเรียนคิดว่าคำทำนายจะเป็นจริงหรือไม่ พร้อมบอกเหตุผลประกอบ 2 ข้อ

ตอบ........................................................................................................

...............................................................................................................


           ถ้าพี่สอนคณิตศาสตร์ พี่อาจจะให้นักเรียนสรุปเป็นกราฟ ระบายสีให้สวยงามได้อีก  น้องดาวจะเห็นได้ว่า แม้เป็นวิชาภาษาไทย    แต่เราสามารถนำเนื้อหาวิชาอื่น ๆ มาเชื่อมโยงเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้ให้นักเรียนของเราได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย   ไม่แยกส่วน   เป็นความรู้แบบองค์รวมแต่ปลายทางอยู่ที่ภาษาไทยดังที่เราตั้งจุดประสงค์ไว้ และทั้งนี้หมายรวมถึงนักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข ไม่เครียด ไม่เป็นวิชาการมากนัก ได้ทั้งสาระและบันเทิงควบคู่กันไป

            ถ้าไม่เชื่อ ลองกลับไปอ่านกลอนข้างต้นอีกรอบหนึ่งก็ได้นะ

รักและคิดถึง

      พี่ดิน

...............................................

(วิทยาจารย์ มกราคม 2554)

คำสำคัญ (Tags): #ดาวดวงที่ 10
หมายเลขบันทึก: 491713เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาอ่านบทกลอน ไม่ผิดหวังจริง ๆ ค่ะ

อ่านไปยิ้มไป  555555+ คริ คริ

ก็ได้กลอนสมัยใหม่..น่ารักดีค่ะ

ชอบกลอนบูรณาการของอาจารย์มากๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ เรื่องดีดีที่แบ่งปันมาให้อ่าน ครบรสเลย

ฝันดีค่ะอาจารย์ :)

  • ขอบคุณBlank ครู ป.1 และBlank ...ปริม pirimarj.
  • สำหรับกำลังใจที่มีให้เสมอมาครับ
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท