ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

11 มิถุนา 2555 เหลียวเบิ่งงานที่ผ่านมาของหมอพื้นบ้านอุดร


ตุ้มโฮมเครือข่าย บันทึกภูมิรู้ สำรวจต้นยา อนุรักษ์ฐานทรัพยากร

11 มิถุนา 2555 เหลียวเบิ่งงานที่ผ่านมาของหมอพื้นบ้านอุดร

เราเริ่ม 2548 ก่อตั้ง เคลื่อนงาน ประสานเพื่อน เราทำ 2551 ซอกหาคน ค้นหายา สร้างศรัทธา หาแนวทำ เราจะ 2556 ตุ้มโฮมเครือข่าย บันทึกภูมิรู้ สำรวจต้นยา อนุรักษ์ฐานทรัพยากร (โครงการพัฒนาศักยภาพของหมอพื้นบ้าน) วันนี้ ต้องขอบคุณท่าน สสอ พ่อรองสมชาย พี่วิไล พ่ออำนวย ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดอุดรธานี ขอบคุณ รพสต.ศรีเจริญ ตำบลอ้อมกอ เจ้าของสถานที่ ก่อนอื่นจะขอแนะนำพ่อหมอพื้นบ้านจากตำบล บ้านจันทร์ นาคำ ศรีสุทโธ พ่อหนูนา พ่อทองเดินหมอเป่ากำเริด หมอยาผิดกรรม พ่อวิไล พ่อบุญสวย พ่ออมร ดงดารา ยากระเพาะ พ่อประยู หมอยาไซนัส ริดสีดวง พ่อคำใหม่ หมอยาหมากขาว พ่อรุ่งเรือง หมอเป่า วัด กาง พ่อสถิต นาไหม หมอยาต้ม พ่ออุ้ย ห้วยปลาโด หมอเป่าคลายเส้น พ่อสำอาง หมอถอดหมากไม้ พ่อบุญทัน หมอเป่าจอดดูก พ่อสิน หมอเป่าจอดดูก พ่อผอง หมอยา เภสัชกรรมแผนไทย บ้านม่วง พ่อสวน นาคำ หมอยาดีซ่าน เป่าเสียพิษไฟ พ่อภู ดงวัฒนา หมอเป่าจอดดูก พ่อสำรวย บ้านม่วง หมอยาต้มโรคตับ ตกขาว พ่อน้อย หาญสงคราม นาเจริญ หมอยาแก้ติดเชื้อ พ่อแดง สาขา ดงวัฒนา หมอยาไข้กมากไม้ ถอดหมากไม้ พ่อพูน หมอลำ หมอยาปวดแข้งขา พ่อ หมอนวด อัมพาต ทับเส้น พ่อเคน ลีทองดี หมอยาตกขาว ริดสีดวง พ่อหนูกัน หมอยาต้ม พ่อหนูจี ทองก้อนเบ้า หมอดูมอ หมอยาสมุนไพรแม่ลูกอ่อนกินผิด สารพิษไข้ไก่กือ ขี้ไก่เดือน ดูมอฝ่าตีนฮอดกระหม่อม พ่อสวัสดิ์ โปสาวาด เจ้าพ่อสภายาต้ม นวดแก้เอ็นถอด เอ็นจัง ยาต้มแก้หมากขาว พ่อบุญถม หมอยากระเพาะอาหาร พ่อพะเยาว์ จันทรัพย์ ดงดารา เริ่มเรียนรู้ พ่อบุญมี ประวัติตะ หมอยาแม่ลูกอ่อน พ่อตัน ตุธรรม หมอยากินผิด พ่อกาทอน หมอยากินผิด ยาตับ พ่ออำนวย พลลาภ หมอยาคลายเส้น ขอให้จดสูตรยาบำรุง ยาต้มบำรุงร่างกาย พร้อมชื่อ ส่งให้พ่ออำนวย ถ้าใครมียาฝนก้นครัว แก้กินผิด ยาที่ตัวยาไม่มาก ใช้ไม่ยาก ยาก้นครัว เรามีการพูดคุยเกี่ยวกับการบันทึกภูมิรู้โดยสรุปรูปแบบในการบันทึกการรักษาว่าต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ข้อมูลทั่วไปคนป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่ป่วย วันที่มารักษา อาการที่ทำให้ต้องมา กระบวนการรักษา ยาที่ใช้ กินอย่างไร ใช้นานเท่าไร ผลการรักษา ผายหรือไม่ กี่วันหาย ซึ่งต้องยอมรับว่า ธรรมชาติของคนในชนบทอีสานไม่ถนัดที่จะจดบันทึกอย่างเป็นกิจลักษณะ อย่างไรก็ตามในปี 2553 เป็นต้นมาจากการสนับสนุนของแผนงาน ฯ ทำให้หมอพื้นบ้านค้นพบว่า “หากได้มีการบันทึก จะทำให้ความรู้ที่หมอทำอยู่มีความชัดเจนขึ้น” ประจวบกับในช่วงดังกล่าวนี้มีการประเมินหมอพื้นบ้านซึ่งต้องมีหลักฐานเอกสาร ตรงจุดนี้เองด้วยที่ทำให้หมอพื้นบ้านเห็นความสำคัญของการบันทึกภูมิรู้ วิธีการรักษาของตนเอง การค้นพบนี้ทำให้หมอพื้นบ้านเรียนรู้และพัฒนาการบันทึกการรักษาต่อไป ทั้งนี้ในปี 2554 ได้ทดลองวิเคราะห์ข้อมูลในบันทึกการรักษาของหมอพื้นบ้าน 15 คน จาก 2 ตำบล 2 อำเภอ มีการบันทึกการรักษาไว้ 367 ราย นำมาแยกแยะ 27 ราย มีอาการที่บันทึกไว้ เช่นอาการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ อืดแน่นท้อง ปวดหัว วิงเวียน แสบร้อนในท้อง ไข้ตัวร้อนมาก ไข้หวัด ตัวร้อน ไข้หมากไม้ ปวดขา ไข้ กินก็เจ็บไม่กินก็เจ็บ ปวดขา ตัวร้อน มีตุ่ม ปวดแน่นท้อง ตัวร้อน ปากเป็นแผล มือเท้าเย็น ลมตี กินหน่อไม้ส้มมา ปวดท้องมาก แน่นท้อง แสบท้อง แน่นท้อง หมากขาว ไข้ตัวร้อนมาก ไข้ ผื่นคัน หมากขาว จะเห็นว่าการบันทึกการรักษาของหมอพื้นบ้านเป็นการค้นพบเรื่องเดิมที่ยิ่งใหญ่ของคนในชนบท เป็นการแสดงตัวตน เป็นการแสดงพื้นที่รูปธรรม เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้หมอพื้นบ้านอีสาน รากเหง้าด้านสุขภาพของชนบทจะยังคงคุณค่าที่มีต่อสังคมต่อไป รวมทั้งก้าวต่อไปของพวกเรา คือการ “ตุ้มโฮมเครือข่าย บันทึกภูมิรู้ สำรวจต้นยา อนุรักษ์ฐานทรัพยากร” ปี 2555 เรามีระบบช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะได้อาศัยพี่เลี้ยงของ รพสต.  จะทำอย่างไรให้บรรจุเข้าไว้ในแผนคำของบประมาณของ อบต. ข้อบัญญัติตำบล เราต้องมีธนาคารโครงการ เช่น โครงการประชุม โครงการสำรวจป่า โครงการสวนสมุนไพร ศูนย์เรียนรู้ โครงการเอาป่ามาใส่ถุง

คำสำคัญ (Tags): #หมอพื้นบ้าน
หมายเลขบันทึก: 490955เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท