รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

สระอัวะ สระเอียะ คุณเปรี๊ยะ แค่ไหนกัน


ขออภัยสำหรับพี่น้องผองเพื่อนที่เคยอ่านบันทึกนี้แล้ว ครูอิงเพียงนำบันทึกเก่า ๆ มาจัดหมวดใหม่ เพื่อความสะดวกในการค้นหา และเพื่อนำบล็อกนี้ไปลิงค์กับเว็บไซต์ของโรงเรียน เพื่อรวบรวมผลงานครู และให้เด็ก ๆ เข้ามาศึกษาค่ะ

ปัญหาหนึ่งที่พบขณะสอนภาษาไทยให้กับเด็ก ๆ คือเรื่องของการผันวรรณยุกต์ เช่น นักเรียนจะเขียนคำว่า นะคะ  เป็น นะค๊ะ  ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ เด็ก ๆ มักใช้วรรณยุกต์กำกับไม่ถูกต้อง ในการใช้ คำที่เป็นอักษรต่ำซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

 อักษรต่ำ  พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ใช้วรรณยุกต์ได้ ๒ รูป คือ        

 ใช้วรรณยุกต์    จะได้เสียงโท    เช่น  น่า  ค่า  ที่  ซ่อน  ไม่

 ใช้วรรณยุกต์      จะได้เสียงตรี   เช่น  น้า  ค้า  ซ้อน  ไม้  ไว้

 วรรณยุกต์ตรี ใช้ได้กับอักษรกลางเท่านั้น เช่น  โต๊ะ  ป๊า  จ๊ะ

 อักษรต่ำถ้าพื้นเสียงเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว  จะไม่ใช้วรรณยุกต์ตรีกำกับ

 เช่น  นะ   คะ   เพียะ   เละ  มะเมียะ  หมี่เซียะ  ยัวะ เราจะไม่เขียน 

น๊ะ    ค๊ะ   เพี๊ยะ   เล๊ะ   มะเมี๊ยะ  หมี่เซี๊ยะ  ยั๊วะ  ซึ่งถือว่าผิด

  • ลองให้เด็ก ฝึกอ่านคำสระอัว สระเอียะ  จาก สื่อที่นำมาแบ่งปันซิคะ 
  • หรือจะดูแบบเต็มฉบับ ซึ่งมีส่วนนำ มีแบบฝึกก่อนเรียนหลังเรียน และมีแบบ
  • ฝึกท้ายเล่มด้วยค่ะ โหลดได้จากที่นี่ค่ะhttp://www.gotoknow.org/media/files/810131

หมายเลขบันทึก: 489866เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท