เมื่อมีดนตรีในหัวใจ..มันก็พาคุณไปเมืองนอกได้นะ (หาว่าไป)


การฟังเพลงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราผ่อนคลายและลืมปัญหานั้นๆ ไปชั่วขณะและต้องเป็นเพลงที่เราอยากฟังด้วยนะที่สำคัญ

                เวลาที่เราเหนื่อย หรือเครียดๆกับปัญหาต่างๆในชีวิต การฟังเพลงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราผ่อนคลายและลืมปัญหานั้นๆ ไปชั่วขณะและต้องเป็นเพลงที่เราอยากฟังด้วยนะที่สำคัญ - เพราะถ้าเป็นเพลงที่เราไม่ชอบก็คงไม่อยากฟัง และออกจะน่ารำคาญ เสียด้วยซ้ำไป จริงมะ..

                   ประเด็นนี้แหล่ะค่ะ.. เป็นหัวข้อที่เราสนใจและนำมาทำวิจัยในผู้ป่วยที่เราดูแล.. มันเป็นปัญหาหน้างานที่เราเจออยู่ค่ะ.. ลองนึกเล่นๆนะ..

                  ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยที่มาผ่าตัดกระดูกขาหักและต้องใส่เหล็กดามเอาไว้ ขณะผ่าตัดได้รับยาชาบล็อคหลัง ไม่มีความรู้สึกตั้งแต่ระดับเอวไปจนถึงปลายเท้า นอนฟังเสียงเครื่องมือใส่เหล็ก เสียงทีมผ่าตัดคุยกันและเสียงอื่นๆภายในห้องผ่าตัด คำถามมีอยู่ว่า.. ใครอยากฟังมั่งแล้วมีทางเลือกอื่นๆให้ผู้ป่วยบ้างมั๊ยคะ (นอกจากให้ยาคลายกังวล)

 คำตอบ.. มีค่ะเยอะเลย แต่จากที่ทบทวนแล้วพบว่า ดนตรีที่ผู้ป่วยชื่นชอบ เป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับช่วงขณะผ่าตัดค่ะ

                 ตอนนี้เป็นช่วงที่ดนตรีในใจ..พาเราไปเมืองนอกค่ะ เพื่อนำเสนอผลงานให้ชาวโลกรับรู้ค่ะ.. (ที่สำคัญ [ตีพิมพ์เฉพาะในประเทศและเป็นภาษาไทยเท่านั้นค่ะ] https://independent.academia.e...  ส่วนภาษาต่างด้าวก็ได้ตีพิมพ์แค่ Abstract ไป คริคริคริ)

                งานที่จัดขึ้นเป็นงานประชุมของนักวิจัยด้านงานวิสัญญีนานาชาติที่บอสตันค่ะ.. ได้นำเสนอเป็น Poster  จริงๆแล้ว..เราก็ผ่านมาหลายเวทีนะแต่เวทีนี้ตื่นเต้นสุดๆ เพราะต้องใช้ภาษาต่างด้าว เฮ้อ..  เอาบรรยากาศมาฝากค่ะ

 

                       

 

           

 เอ๊า..พร้อมสู้ๆค่ะ ชุดนี้นะ..อยากให้แสดงออกถึงความเป็นไทยให้โลกรับรู้ ว่า ช้านนน คือ คนไทย  เนี่ย..ถ้าไม่นำเสนอต่างประเทศนี่..ไม่กล้ายืม(พี่สาว)มาใส่เด็ดขาด

 

              

               

    Dr. Batai ท่านเป็นหมอดมยาชาวฮังกาเรียน เป็น Poster Moderator ใน section regional anesthesia ที่งานวิจัยเราอยู่ในกลุ่มนี้ ท่านมาคุยนอกรอบแบบสบายๆ ก่อนเริ่มจริง.. (คงรู้ว่าเราเครียดหน่ะ)

 

              

           section regional anesthesia ของเราอยู่ฝั่งทางขวามือสุดโน่น..

 

              

ช่วงระหว่างรอเวลานำเสนอจริง.. ก็มีอาจารย์หมอดมยาชาวอังกฤษ (เสื้อดำ) มาคุยด้วย..ท่านสนใจเรื่องดนตรีอย่างมากเพราะภรรยาท่านทำป.เอกเรื่องนี้อยู่ และขออนุญาตให้เราเป็นที่ปรึกษาด้านข้อมูลเรื่องดนตรีด้วย.. น่ารักจัง

 

              

ท่านนี้เป็นหมอดมยาจากซานฟานซิสโก (น่ารักอ่ะ) เดินมาเลยจับมาพูดคุยซักซ้อมก่อนเล่นจริงสักหน่อย

                ใครที่เข้ามาอ่านอย่าเพิ่งนึกว่า..รัชนีเก่งภาษาต่างด้าวนะคะ ก็ดำน้ำไปค่ะ หาผู้ช่วยในการอ่านออกเสียงหน่อยเป็น native speaker ได้ยิ่งดีเพราะเวลาเราออกเสียงคำต่างๆ เค้ามักจะไม่รู้เรื่องเพราะออกเสียงนี่แหล่ะค่ะ.. ปัญหาของเรา  แล้วก็มีหมอดมยาจากอียิปต์ จากญี่ปุ่น ที่เข้ามาทักทายแต่ขอโทษค่ะ รัชนี ฟังแทบไม่รู้เรื่องเลย.. เพราะพูดเร็วมาก และสำเนียงไรก็ไม่รุ เลยต้องยกธงขอตัวช่วยค่ะ.. อาจารย์หมอดมยาจากอังกฤษเลยต้องมาช่วยฟังและถามเราเป็นสำเนียงอังกฤษ เฮ้อ.. รอดตัวไป

 

               

นี่แหน่ะ.. ถึงเวลาเล่นจริงละ.. Dr. Batai ให้กำลังใจสุดๆ ท่านน่ารักมากๆ แถมใจดีอีกต่างหาก เกรงว่าเราจะเกร็งกับภาษาที่ไม่คุ้นเคยนะ.. แล้วท่านก็หันมาบอกรัชนีว่า พูดเลยท่านก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษหรอก เต็มที่เลยนะ (แต่ว่าท่านไปเรียนที่อังกฤษมา12 ปี แถมยังหันไปคุยกับฝรั่งคนอื่นๆ แบบไฟแลบอีกต่างหาก เฮ้อ..ไม่เครียดยังไงไหวเนี่ย )

              แหม..ลืมรายงานผลไปค่ะ.. การนำเสนอผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ ตื่นเต้นแทบแย่ แต่ก็พยายามคุมสติค่ะ..(ส่วนผู้ช่วยในการฝึกออกเสียงแอบลุ้นตัวโก่งเลยเหมือนกัน)  Dr. Batai และท่านอื่นๆ ให้ข้อเสนอแนะเล็กน้อยค่ะ โดยซักถามเรื่องแนวเพลงที่เราใช้ทำไมถึงเลือกเพลงไทยและแนะนำเรื่องการตีพิมพ์ผลงาน อยากให้ระวังเรื่องภาพที่จะนำไปตีพิมพ์ และแนะนำเรื่องการทำความสะอาดหูฟังเพื่อลดการติดเชื้อผ่านหูฟังของเรา

 

             

แต่ละเรื่องให้นำเสนอไม่เกิน 5 นาทีและเวลาซักถามอีก 10 นาที แล้วก็พากันย้ายไปเรื่องต่อๆไป แต่ละกลุ่มมีประมาณ  5-7 เรื่อง

     

            เป็นยังไงบ้างคะ..เมื่อดนตรีในใจพาเราไปต่างประเทศ.. รัชนีตอบได้คำเดียวว่า - เครียดค่ะ - แต่ก็นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ในชีวิตเลยนะคะ ที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ เราเลือกที่จะเริ่มต้นที่บอสตันค่ะ เพราะเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนาน ใครใครก็ใฝ่ฝันอยากไป - เราก็เป็นคนล่าฝันคนนึงเหมือนกันนะ จะบอกให้ – โอกาสเป็นของคนที่แสวงหาเสมอค่ะ

– อิอิอิ เลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะไปนำเสนอผลงานที่บอสตันได้ด้วยนะคะ–

 

หมายเลขบันทึก: 489679เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2020 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ปรบมือให้ดังๆ สำหรับคนเก่ง GTK in korat ของเรา

ขอบคุณค่ะ.. คุณชลัญธร สำหรับกำลังใจดีๆ เอ๊า..ถึงเวลาที่พยาบาลโคราช หลานย่าโมทุกคน จะต้องเดินออกมารายงานตัวค่ะ..เค้าจะได้รู้ว่าเราเป็น พยาบาลนะ .. งานที่ไปประชุมนี้มีแต่หมอดมยาทั้งนั้นเลยค่ะ.. ใครๆเดินมาคุยกับเราก็ต้องแปลกใจเพราะเราบอกว่าเราเป็นพยาบาลดมยา (เค้าคงแปลกใจว่ามางานนี้ได้ไงมั๊ง 555)

ขอบคุณค่ะ ท่านวอญ่า มันเป็นโอกาสและจังหวะชีวิตที่มาคลิ๊ก ตรงกันเท่านั้นเองค่ะ..

  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • มาเชียร์
  • เข้าใจว่าทำได้ดีนะครับ
  • รออ่านอีกครับ

จริงๆแล้วก่อนไปอเมริกาก็แอบไปอ่านงานของท่านอาจารย์ ขจิต มาเพื่อเตรียมตัวนำเสนองานที่ต่างประเทศเหมือนกันค่ะ.. ต้องขอบคุณไว้ตรงนี้ด้วยนะคะที่มีคำแนะนำดีๆ ฝากไว้ให้ค้นหาใน GTK ค่ะ..

ขอบคุณมากครับ ที่ทำให้มีความสุขกับการเขียนและพบว่า งานที่เขียนมีประโยชน์แก่คนอื่นๆครับ

ขอบคุณเช่นกันค่ะท่านอาจารย์ ขจิต การเขียนเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะมันอาจจะกลายเป็นบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ได้เลยนะคะ จะตามอ่านด้วยคนค่ะ

ยินดีด้วย.. กับคนเก่ง'หลานสาวย่าโม..

พยาบาลดมยาโคราช.. เก่งจริงๆนะคะ

นับถือ นับถือ ค่ะ

 

อิอิอิ ขอบคุณค่ะ คุณ kunrapee ต้องบอกก่อนนะคะว่า เป็นคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นค่ะ .. แต่ดำน้ำเก่งน่าดู อาศัยว่า ใจกล้า หน้าถนน เข้าไว้แล้วทุกอย่างมันน่าจะดีเองค่ะ -

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท