ชวนคุยเรื่องตรวจไขมัน เพื่อ "สุข"ภาพ?


บันทึกสั้นๆ...ช่วงนี้ไม่มีเวลา..จริงๆ แล้วน่าจะเรียกว่าไม่มีแรงเหลือในแต่ละวัน
ในการเขียนบันทึกยาวๆ มากกว่าค่ะ  
ครั้งนี้อยากชวนคิด ชวนคุยว่าด้วยเรื่องที่หากท่านใดได้ตรวจสุขภาพ
เกือบทั้งหมดจะได้ทำ คือ  "ตรวจระดับไขมันในเลือด" 

ขอแชร์คำถามที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

1. ทำไมงดน้ำงดอาหาร ต้องงด "น้ำ(เปล่า)" ?

เรื่องนี้ "อภิชาติศิษย์" คนหนึ่งถามว่า ทำไมต้องงด น้ำเปล่าด้วย
เพราะเห็นคนไข้ที่รอเจาะเลือดตรวจสุขภาพ มักบ่นปากคอแห้ง 
จะว่าไป หากเป็น น้ำอัดลม ชามุก ยังพอเข้าใจ...
จะว่าทำให้เลือดเข้มข้นเปลี่ยนไป งั้นก็ต้องไม่ให้เสียเหงื่อเหมือนกันด้วยซี
ไปเปิดดูแนวทางเวชปฎิบัติอิงหลักฐาน ก็มีกล่าวไว้ใน
หัวข้อ "การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือด" หน้า 3 ค่ะ
แต่ทางปฎิบัติจริง อาจมีเหตุผลอะไรบางอย่าง
ทำให้เรามัก "งดน้ำงดอาหาร" แบบไม่มียกเว้น...

2. ระดับ LDL ปีก่อน 125  มาปีนี้ 130  อันตรายไหม?

มีคุณครูคณิตศาสตร์ท่านหนึ่ง ตรวจสุขภาพแล้ว
ด้วยความละเอียดรอบคอบ จึงขอเปรียบเทียบกับค่าไขมันในเลือดปีก่อน
คำถามที่ตามมาคือ
"กินอาหารเหมือนเดิม ออกกำลังกายมากกว่าเดิม แล้วทำไมยังขึ้น?"

หมายเหตุ:
LDL = ไขมันคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด จึงควร L=Low
ซึ่งตรงกันข้ามกับ HDL = ไขมันคลอเลสเตอรอลชนิดดี
ป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด จึงควร H = High
  

3. หลังจากเริ่มกินยาลดไขมัน แล้วปวดเมื่อย ขอหยุดยาได้ไหม?
   หรือถ้าเริ่มกินยาลดไขมันแล้ว ต้องกินไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ?

เมื่อวานนี้ มีคุณป้าท่านหนึ่ง นำยาไขมันที่เหลือสำหรับ 2 เดือนมาบริจาค
(ซึ่งมูลค่ายาตกราวๆ สองพันบาท แต่คุณป้ามีสิทธิเบิกได้
บอกว่า ไม่รู้เกี่ยวกันกับยาหรือเปล่า
แต่หลังจากกินแล้วปวดง่อน (ภาษาเหนือ=ปวดต้นคอ)
 
ข้อมูลที่น่าสนใจ
มีการศึกษาหนึ่งพบว่า ยาที่มีการใช้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยแบบประคับประคอง
กลับไม่ใช่ยามอร์ฟีน แต่เป็นยาลดไขมัน ! 

===

ท่านละคิดว่าอย่างไร
เดี๋ยวจะกลับมาสนทนาต่อค่ะ :)

หมายเลขบันทึก: 489660เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ในโรงพยาบาลพิมายก็มีการจ่ายยาลดไขมัน เหมือนกัน แต่ที่ชลัญปฏิบัติอยู่ มักได้จ่ายเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น เบาหวานความดันโลหิตสูงน่ะ หมอป. แต่ถ้า เป็นตรวจสุขภาพ เจ้าหน้าที่ นั้น พบสูงเล็กน้อยก็มัก advice ให้ออกกำลังควบคุมอาหาร ค่ะ

* หลายปีมาแล้วก่อนเกษียณ ค่าไขมันในเลือดสูงถึง 300.. คุณหมอไม่จ่ายยา

* เพียงซักถามสุขภาวะประจำวัน ได้ความนัยว่า ทำตัวเป็นถังขยะของหลาน ที่กำลังโตวันธตคืน ซึ่งชอบอาหารไขมันสูง..ประเภทอาหารจานด่วนตามศูนย์การค้า..และขาดการออกกำลังกาย

* หมอบอกว่ารู้ตัวแล้วใช่ไหมว่าควรแก้ไขอย่างไร ?

* อีก 3 เดือนต่อมา..ไปตรวจใหม่ ค่าไขมันลดลงเหลือ 160ตั้งแต่นั้นมา.. รักษาสมดุลในการกินอยู่แบบพอเพียง..

* ปัจจุบันงดอาหารเย็น และลงสวนทุกเช้า..ลดขนาเสื้อลงมาหนึ่งเบอร์..

  • เคยอดมาครั้งหนึ่งถึงสองครั้ง
  • ที่ต้องอดตอนผ่าตัด ตั้งแต่หลังเทียงคืน
  • ยาวเรื่อยจนถึงผ่าตัดเสร็จ บ่ายสามบ่ายสี่
  • ลืมไปเลยว่าหิวข้าว หิวน้ำ

 "สุขภาพดี" ===> ไม่มีขาย

ถ้าอยากได้ ==> ต้องเสริมสร้างสุขภาพ (ด้วยตนเอง) 

 

ปัญหาข้อที่ 1 ผมขออนุญาติร่วมแลกเปลี่ยน ความเห็นครับ ในฐานะคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องแล็บ

  คำว่างดน้ำ งดอาหาร ผมเข้าใจว่าเป็นการเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเสี่ยงต่อการที่คนไข้จะเข้าใจผิดได้ครับ สำหรับการตรวจไขมันในเลือดและน้ำตาลในเลือด แน่นอนครับ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องงดอาหาร เพื่อให้ผลการตรวจได้ค่าการทดสอบที่ถูกต้อง แต่การงดน้ำ บางคนบอกว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าบอกคนไข้ว่า งดอาหารนะครับ แต่ทานน้ำได้ ก็จะมีคนบางกลุ่มที่ตื่นเช้าขึ้นมาก็ดื่มน้ำ 1 ขัน หรือเอาแบบไม่ต้องมากหรอกครับ น้ำ 1 แก้ว ประมาณสัก 300 cc หากโดยเฉลี่ยบอกว่า คนเรามีเลือดในร่างกายประมาณสัก 3 ลิตร เราดื่มน้ำเข้าไป 1 แก้ว น้ำเหล่านี้ไปไหน ก็ถูกดูดซึมเข้าไปอยู่ในเลือด ซึ่งก็เป็นการเจือจางเลือดครับ 300 cc ใน 3 ลิตร ก็เป็นการเจือจางประมาณ 10% ดังนั้นค่าสารเคมีในเลือดก็จะถูกเจือจางไปประมาณ 10 % เช่นเดียวกัน ถ้าจะป้องกันปัญหานี้ ก็ต้องบอกคนไข้ว่า งดน้ำและอาหารนะครับ ซึ่งก็จะไปสร้างความลำบากให้คนไข้บางคนอีกครับ ที่กว่าจะมาเจาะเลือด ทั้งหิวและกระหาย อาการหิว คงต้องยอมให้ทนครับ แต่อาการกระหาย ในความเป็นจริงแล้ว น่าจะจิบน้ำได้ครับ เพียงแต่ไม่ให้มากนัก เพียงแก้อาการไม่ให้กระหาย ไม่ใช่ชดเข้าไปแทนข้าวเช้าครับ
 ส่วนปัญหาข้อ 2 และ 3 เกินกว่าความรู้ของผมแล้วครับ

ขอบคุณและเห็นด้วยกับแนวปฎิบัตินี้ค่ะ หมอชลัญของชาวพิมาย :)

จุดประสงค์ของการตรวจสุขภาพ น่าจะเป็นการเพิ่ม ความตระหนัก-ปรับพฤติกรรม 
 
มากกว่า เพิ่มความตระหนก- พึ่งยาและเทคโนโลยีการแพทย์อย่างเดียว

...

ว่าไหมค่ะ 

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ เล่าได้น่ารักและเห็นภาพเลยค่ะ
 "ทำตัวเป็นถังขยะของหลาน"

ได้อุทาหรณ์ ว่า ระดับไขมันเท่าไหร่นั้น ไม่สำคัญเท่ากับ "เพราะอะไร" นะค่ะ

ขออนุญาตแชร์ความเห็นนะครับ ข้อ 1. การดื่มน้ำเปล่าเล็กน้อยมักไม่ค่อยมีผลต่อการตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมัน เวลานัดผู้ป่วยมาตรวจผมจึงแนะนำว่าสามารถดื่มน้ำเปล่าเล็กน้อยได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังในกรณีเช่นที่คุณ Mitochondria กล่าวไว้ดังข้างบนครับ ข้อ 2. LDL ที่เพิ่มขึ้นก็เพิ่มความเสี่ยงของ cardiovascular event ครับ แต่ก็มีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ข้อ 3. ถ้าสามารถคุมระดับไขมันได้แล้ว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนคิดว่าสามารถจะควบคุมได้อยู๋ในเป้าหมายได้ ก็สามารถลดขนาดยาหรือลองหยุดยาดู แล้วติดตามดูครับ แต่แนวโน้มส่วนใหญ่มักมีระดับไขมันกลับขึ้นมาสูงคืนครับ

เย้ เย้ เย้ phimaimedicine มาตามคำเรียกร้องของชลัญ ขอบคุณนะค่ะมาช่วยแชร์ ไอเดียกับหมอ ป.

เรียน อาจารย์ครับ...

ผมว่า..อ่านบันทึกและความคิดเห็นเพิ่มเติมของทุกท่าน...มีประโยชน์มากครับ

ผมออกหมู่บ้าน...เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน...จะพบว่า

ส่วนใหญ่ยาอื่นจะกินครบ...แต่ยาลดไขมันเหลือเพียบ โดยเฉพาะ Lopid

ที่เป็นแคปซูลใหญ่...กินที่หลายเม็ด...จะบอกว่า...ขี้เกียจทาน...กินแล้วเหนื่อย

พอครบ 6 เดือน...อนาัมัยเจาะเลือดชุดใหญ่...จะพบว่าค่าไขมันสูง

ส่งพบแพทย์...แพทย์ปรับยา

พอรู้ต้นสายของปัญหา...ต้องตามแก้ไขเป็นรายกรณีไปครับ

ทำให้เรียนรู้ได้ว่า...

ยา...สามารถแก้ไข...ค่าไขมันได้ระดับ

แต่ยาใจ...(ความเข้าใจ ตระหนัก ปรับพฤติกรรม)....สามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุดครับ

(ยาวเลยครับอาจารย์...แต่อ่อนด้อยเชิงวิชาการครับ)

 

                                          *** ... Congratulations ! Na  Kah...*** 

                                        

สวัสดีค่ะ

  • ไม่ค่อยได้ใส่ใจกับสุขภาพมากนัก
  • แม้ว่าจะตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่เป็นไปแบบโดนบังคับ
  • ตอนนี้รู้สึกว่า สูงวัย ขึ้น อยากหันมาดูแลสุขภาพให้มากขึ้น
  • อ่านบันทึกนี้แล้วให้ความรู้ได้ดีมากค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะที่แบ่งปัน

ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ อาจารย์โสภณ
ทำให้ทราบความรู้สึกคนก่อนผ่าตัด ความตื่นเต้น อาจทำให้ลืมหิวไป
ตัวเองสารภาพตามตรง ไม่อยากตรวจสุขภาพ
ก็ตรงต้องอด นี่แหล่ะค่ะ 

พี่เปิ้ลกับเด็กๆ ในภาพทำให้อมยิ้มกับความสุขของคนทำงานเชิงรุกนะค่ะ
สุขภาพดีไม่มีขาย  ถ้าอยากได้ต้องทำเอง

ขอประยุกต์มาเป็น
ตรวจสุขภาพอย่างเดียวก็ไม่เป็นประโยชน์นัก ถ้าไม่เกิดความตระหนักลดพฤติกรรมเสี่ยง

 

วิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์และข้อมูลเป็นประโยชน์ดี สมเป็นอาจารย์ mitochondria :)
พอบอกน้ำ ก็ต้องบอกกันละเอียดอีกทีว่า
น้ำเปล่าเท่านั้น และปริมาณไม่เกิน...(สัก ออนซ์หนึ่ง 30 cc -> เจือจางแค่ 1% น่าจะพอไหวนะค่ะ)

 

ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอชาญศักดิ์ อายุรแพทย์ตัวจริงเสียงจริง 
(และขอบคุณ คุณชลัญธรด้วยค่ะ)

ได้เข้าไปอ่านและดาวน์โหลด CPG ในเวบไซต์ที่คุณหมอทำ Phimaimedicine.org
อยู่บ่อยครั้ง ชื่นชมในความตื่นตัวทางวิชาการของคุณหมอมากค่ะ

ประสบการณ์ที่คุณหมออดิเรามาเสริมให้
ช่วยให้เห็นภาพจริงมากเลยค่ะ
น่าเห็นใจคนไข้ที่มียาที่ต้้องกินทุกวัน กินนาน
ขนาดเราเอง กินยา amoxy ให้ครบ 5 วันสามมื้อ ยังยากเลยค่ะ  

ขอบคุณมากค่ะ คุณ K.Pauly :)

ขอบคุณครูอิงที่ให้เกียรติเข้ามาอ่าน (อย่างนี้ก็แสดงว่าใส่ใจสุขภาพแล้วค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท